กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12336
ชื่อเรื่อง: | การใช้มาตรการเชิงโครงสร้างในการลดความเสี่ยงอุทกภัยในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Use of Structural Measures in Reducing Flood Risk of Hatyai District, Songkhla Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมพร คุณวิชิต อารักษ์ พูลศักดิ์ Faculty of Management Sciences (Public Administration) คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มาตรการเชิงโครงสร้าง;การลดความเสี่ยงอุทกภัย;ระบบระบายน้ำ;อุทกภัย หาดใหญ่ (สงขลา);อุทกภัย การป้องกัน;องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หาดใหญ่ (สงขลา) |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้มาตรการเชิงโครงสร้างในการลดความเสี่ยงอุทกภัย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปัญหา/อุปสรรคในการ ดำเนินการ และผลของการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งที่มีต่อการลดความเสี่ยง อุทกภัยของอำเภอหาดใหญ่โดยรวม การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้น 25 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการสร้างข้อสรุป แบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า ที่ผ่านมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 แห่งมีลักษณะการดำเนินการเพื่อ ลดความเสี่ยงอุทกภัยที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ เทศบาลตำบลพะตงมีการขุดลอกลำน้ำและใช้ระบบ ระบายน้ำในการเร่งผลักดันน้ำในพื้นที่ให้ลงสู่คลองอู่ตะเภา เช่นเดียวกับเทศบาลเมืองบ้านพรุที่นอกจาก จะมีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการสร้างแก้มลิงขึ้นมาเป็นพื้นที่รับน้ำด้วย ในขณะที่เทศบาลนครหาดใหญ่มีการวางแผนการปรับปรุงสภาพลำน้ำอย่างสม่ำเสมอ การขุดลอกลำน้ำ การดาดผิวลำคลอง การใช้พนังกั้นน้ำในพื้นที่เสี่ยง การกำหนดพื้นที่ชะลอน้ำ การสร้างเส้นทางน้ำอ้อม เมือง รวมทั้งมีการพัฒนาระบบระบายน้ำที่ประกอบด้วยประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำในทุกชุมชน สำ หรับเทศบาลเมืองคลองแห เน้นการสร้างพนังกั้นน้ำ ในการลดความเสี่ยงอุทกภัยเป็นหลัก การวิเคราะห์ข้อมูลยังพบอีกว่า การใช้มาตรการเชิงโครงสร้างของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังกล่าว แม้ว่าจะมีส่วนช่วยระบายน้ำ ในพื้นที่ของตนและช่วยป้องกันน้ำ ท่วมในพื้นที่เทศบาล นครหาดใหญ่ได้ดีพอสมควร แต่ด้วยที่ผ่านมานั้นเป็นการดำเนินการในลักษณะต่างคนต่างทำ อีกทั้งยังมี ปัญหาในเรื่องของลำคลองที่ตื้นเขินอันเกิดจากการกัดเซาะจนทำให้ดินพังทลายลงมาในลำคลอง ปัญหา ขยะอุดตันทางระบายน้ำ ขนาดของทางระบายน้ำที่เล็กเกินไป รวมไปถึงปัญหาการถมที่ ทำให้ในบางครั้ง กระทบต่อการระบายน้ำและการลดความเสี่ยงอุทกภัยของอำเภอหาดใหญ่ในภาพรวมที่อาจทำให้ไม่เกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดอย่างที่ควรจะเป็น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ต่างก็เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาอุปสรรคดังกล่าว และหวังที่จะร่วมดำเนินการในลักษณะการ บูรณาการมากยิ่งขึ้นในอนาคต คำสำคัญ: มาตรการเชิงโครงสร้าง, การลดความเสี่ยงอุทกภัย, ระบบระบายน้ำ |
รายละเอียด: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ,2562 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12336 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 465 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
อารักษ์ พูลศักดิ์.pdf | manuscript | 283.96 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
อารักษ์ พูลศักดิ์.pdf | 8.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น