กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12274
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a Model for Assessing the 12 National Core Values of Grade 4 Students based on Authentic Assessment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดิ์, รอบคอบ
อานิญา, ด่อล๊ะ
Faculty of Education (Measurement and Educational Research)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา
คำสำคัญ: ค่านิยมหลัก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ค่านิยมหลัก 12 ประการตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริง 3) ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างสำหรับประเมินตัวบ่งชี้ 2) กลุ่มตัวอย่างสำหรับตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมิน 3) กลุ่มตัวอย่างสำหรับทดลองใช้รูปแบบการประเมิน 4) กลุ่มตัวอย่างสำหรับประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมิน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย โดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ดัชนีความสอดคล้อง และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ตัวบ่งชี้ค่านิยมหลัก 12 ประการตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ย่อย 3 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ย่อย 3 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านความเข้มแข็งทั้งทางร่างกายและจิตใจ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ย่อย 4 ตัวบ่งชี้ 2) รูปแบบการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) กำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด รายวิชาภาษาไทย กำหนดจุดประสงค์การประเมินให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดในหลักสูตร ครอบคลุม องค์ประกอบค่านิยมที่มุ่งประเมิน 2) กำหนดภาระงานการเรียนรู้ตามสภาพจริง ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้านค่านิยมหลัก 12 ประการ 3) กำหนดลักษณะการจัดกิจกรรม โดยจัดกระบวนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพจริง 4) กำหนดเทคนิคและเครื่องมือในการประเมิน โดยยึดการประเมินตามสภาพจริง ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การบันทึกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง การบันทึกพฤติกรรม แฟ้มสะสมงาน และแบบบันทึกคะแนน 5) กำหนดเกณฑ์การประเมิน และผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมิน พบว่า ในด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความถูกต้อง ครอบคลุม อยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริง พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่า เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียน มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ มีความเหมาะสม และมีความถูกต้อง ครอบคลุม ในการพัฒนาค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัย และเห็นว่าสามารถนำรูปแบบการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริง ไปปฏิบัติได้จริงในสถานศึกษา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวิจัยและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12274
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:276 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1490.pdf3.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น