Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12274
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรงค์ศักดิ์, รอบคอบ-
dc.contributor.authorอานิญา, ด่อล๊ะ-
dc.date.accessioned2019-07-19T03:41:16Z-
dc.date.available2019-07-19T03:41:16Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12274-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวิจัยและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้ค่านิยมหลัก 12 ประการตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริง 3) ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างสำหรับประเมินตัวบ่งชี้ 2) กลุ่มตัวอย่างสำหรับตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมิน 3) กลุ่มตัวอย่างสำหรับทดลองใช้รูปแบบการประเมิน 4) กลุ่มตัวอย่างสำหรับประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมิน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย โดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ดัชนีความสอดคล้อง และวิเคราะห์ความเชื่อมั่นโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ตัวบ่งชี้ค่านิยมหลัก 12 ประการตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ย่อย 3 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ย่อย 3 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านความเข้มแข็งทั้งทางร่างกายและจิตใจ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ย่อย 4 ตัวบ่งชี้ 2) รูปแบบการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) กำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด รายวิชาภาษาไทย กำหนดจุดประสงค์การประเมินให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดในหลักสูตร ครอบคลุม องค์ประกอบค่านิยมที่มุ่งประเมิน 2) กำหนดภาระงานการเรียนรู้ตามสภาพจริง ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้านค่านิยมหลัก 12 ประการ 3) กำหนดลักษณะการจัดกิจกรรม โดยจัดกระบวนการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพจริง 4) กำหนดเทคนิคและเครื่องมือในการประเมิน โดยยึดการประเมินตามสภาพจริง ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การบันทึกจากผู้ที่เกี่ยวข้อง การบันทึกพฤติกรรม แฟ้มสะสมงาน และแบบบันทึกคะแนน 5) กำหนดเกณฑ์การประเมิน และผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมิน พบว่า ในด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความถูกต้อง ครอบคลุม อยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริง พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่า เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียน มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ มีความเหมาะสม และมีความถูกต้อง ครอบคลุม ในการพัฒนาค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย และทักษะพิสัย และเห็นว่าสามารถนำรูปแบบการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริง ไปปฏิบัติได้จริงในสถานศึกษาen_US
dc.description.sponsorshipThe purposes of this research were to 1) to develop indicators of the 12 nation core values of grade 4 students. 2) to develop and check the quality of a model for assessing of the 12 national core values of grade 4 students based on Authentic Assessment. 3) to try out and evaluate a model for assessing of the 12 national core values of grade 4 students based on Authentic Assessment. The samples were divided into 4 groups. Specialists are evaluation of indicator.To check the quality of the evaluation model. 8 teachers who teach Thai language course of grade 4 for try out model And quality assessment after using the model. Collection data based on Authentic assessment form. Statistical analyses were made based on descriptive statistic average, percentage, consistency index and analyze the reliability to find the value of consistency index between evaluators. Research indicated the following results: 1) Indicators of the 12 nation core values of grade 4 students which consist of 3 type 1.1) Be honest, dedicated, patient which consist of 3 indicators 1.2) Study hard, always which consist of 3 indicators 1.3) Set the body strong and the mind which consist of 4 indicators 2) A model for assessing the 12 national core values of grade 4 students based on authentic assessment which consist of 5 type 2.1) The goal of learning analyzing standards and indicators in Thai Course. Determine the purpose of assessment in accordance with the standards and indicators in the curriculum which include the elements of value to evaluate. 2.2) Task-based learning on authentic assessment to encourage learners learn about the 12 National Core Values. 2.3) Determine the activities for Learning management on authentic assessment 2.4) Determine Techniques and tools for assessment Learning management on authentic assessment were an observation form, an interview form, a data recorded form, portfolio and a score recorded form and a behavior recorded form. 2.5) Determine evaluation Criteria and check the quality results of a Model for Assessing found in terms of usefulness. Possibility of applying and the appropriate at the highest level and Comprehensive coverage at high level. 3) The result of a model for assessing of the 12 national core values of grade 4 students based on Authentic Assessment. The statistical analysis showed further that, The teachers who teach Thai language course had the same opinion. This research is a beneficial for learners. It is possible and appropriate to apply and develop indicators of the 12 nation core values of the students along with the development of Cognitive Domain, Psychomotor Domain And it can be seen that a model for assessing of the 12 national core values of grade 4 students based on Authentic to apply in schoolen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีen_US
dc.subjectค่านิยมหลักen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการประเมินค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามจุดเน้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการประยุกต์ใช้การประเมินตามสภาพจริงen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a Model for Assessing the 12 National Core Values of Grade 4 Students based on Authentic Assessmenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Measurement and Educational Research)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา-
Appears in Collections:276 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1490.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.