กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12084
ชื่อเรื่อง: | ตัรฺบียะฮฺ อิสลามียะฮฺและการนำมาปรับใช้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Tarbiyah Islamiyah and its Application in Islamic Private School in Muang District, Nakhorn Si Thammarat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อีสมาแอ, กาเต๊ะ อาหมีน, ดาราพงศ์ College of Islamic Studies (Islamic Studies) วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา) |
คำสำคัญ: | ศาสนาอิสลาม;อิสลามศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
บทคัดย่อ: | วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชต่อหลักการตัรฺบียะฮฺ อิสลามียะฮฺ ตลอดจนระดับการนำมาใช้ และแนวทางการนำกระบวนการตัรฺบียะฮฺ อิสลามียะฮฺมาปรับใช้ในโรงเรียนดังกล่าว ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 127 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยใช้ตารางกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan ผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม รวม 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าทางสถิติและนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชมีระดับความรู้ เกี่ยวกับหลักการตัรฺบียะฮฺ อิสลามียะฮฺส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 48.04 (2) ระดับการนำกระบวนการตัรฺบียะฮฺ อิสลามียะฮฺ มาปรับใช้ในโรงเรียน โดยภาพรวมมีระดับการนำมาปรับใช้อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.975 (3) แนวทางการนำกระบวนการตัรบียะฮฺ อิสลามียะฮฺมาปรับใช้ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช มี 6 ด้าน ดังนี้ 1)ด้านวิชาการ คือ การอบรมให้ความรู้แก่ครู และบุคลากรทางการศึกษา 2)ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี คือครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนแสดงตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนในทุกๆด้านทุกที่ ทุกเวลา และโอกาส 3)ด้านการสร้างแรงจูงใจ คือ ให้มีการยกย่องชมเชย ให้รางวัลและกำลังใจกับผู้ที่ปฏิบัติตนในการเป็นแบบอย่างและมีจรรยามารยาทที่ดี 4)ด้านประวัติศาสตร์ คือ ด้วยการนำอัตชีวประวัติของบุคคลในอดีตมาศึกษา วิเคราะห์และถอดบทเรียน เพื่อนำมาเป็นแนวทางและแบบอย่างในการปฏิบัติ 5)ด้านการสำทับเตือนและการลงโทษ คือ การสำทับเตือนและการลงโทษเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการตัรฺบียะฮฺ และมีการจัดการอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน และมีความชัดเจนเพื่อให้นักเรียนมีความตระหนักและเกิดสำนึกพร้อมที่ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตนให้อยู่บนหลักธรรมแห่งสัจธรรมและห่างไกลจากสิ่งที่ไม่ดี และ6)ด้านการนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน คือการมุ่งเน้นให้ครูและนักเรียนปฏิบัติตนตามหลักธรรมคำสอนแห่งอิสลามและพยายามปรับใช้วิถีชีวิตตามครรลองอิสลามให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(อิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/12084 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 761 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1520.pdf | 6.98 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น