Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11955
Title: ภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสานักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี
Other Titles: Transformational Leadership of Woman Administrator in Islamic Private Schools under the Office of the Private Education in Pattani Province
Authors: อะห์มัด, ยี่สุ่นทรง
ซูไอดา, สะมะแอ
College of Islamic Studies (Islamic Studies)
วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)
Keywords: ศาสนาอิสลาม;ภาวะผู้นำ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี จำแนกตามตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการสอน 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ จำนวน 333 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสตรีในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี อำเภอละ 3 โรงเรียน ซึ่งแบ่งตามขนาดโรงเรียน จำนวน 31 คน ครูสายปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่มีผู้บริหารเป็นสตรี จำนวน 302 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ เปรียบเทียบรายคู่ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีตำแหน่งต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกัน 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีขนาดโรงเรียนต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกัน 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความแตกต่างกัน ยกเว้นด้านการสร้างแรงบันดาลใจและด้านการเป็นแบบอย่างที่เหมาะสม ไม่มีความแตกต่างกัน 5) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน ไม่มีความแตกต่างกัน 6) ประมวลข้อเสนอแนะและแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี พบว่า ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ได้แก่ ผู้บริหารสตรีควรจะต้องสร้างสถานที่ทำงานให้เป็นบรรยากาศแบบครอบครัว พูดคุยกระตุ้นกำลังใจ ทำให้เกิดความกระชุ่มกระชวยในการทำงาน ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสตรีควรเป็นผู้มีอุดมการณ์อิสลามที่บริสุทธิ์ใจ เพื่อพระองค์อัลลอฮฺองค์เดียว โดยไม่หวังผลประโยชน์แอบแฝง แสดงการมีจุดยืนที่ชัดเจน ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ได้แก่ ผู้บริหารสตรีควรมอบหมายงานอย่างทั่วถึง โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ได้แก่ ผู้บริหารสตรีควรสนับสนุนและส่งเสริม ให้ผู้ร่วมงานมีการคิดการแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นแล้วด้วยวิธีการใหม่ๆ และพยายามใช้ความสามารถของผู้ร่วมงานให้ได้ประโยชน์มากที่สุด โดยการพูดคุยหาแนวทางหรือวิธีการทำงานที่ท้าทายสติปัญญาของผู้ร่วมงาน ด้านการมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ได้แก่ ผู้บริหารสตรีควรมีการคาดคะเนความเป็นไปได้ใหม่ๆที่น่าตื่นเต้น และสามารถถ่ายทอดวิสัยทัศน์ไปยังผู้ร่วมงาน โดยอาศัยความใฝ่รู้ ติดตามเรียนรู้สังคมให้ทันการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ด้านการเป็นแบบอย่างที่เหมาะสม ได้แก่ ผู้บริหารสตรีต้องมีความกล้าหาญ มีความเด็ดขาด ทำในสิ่งที่ถูกต้องกล้าคัดค้านในสิ่งผิด มีนิสัยมีนิสัยสัจจะ พูดจริงทำจริงและรักษาสัญญาและประประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามหลักคุณธรรมจริยธรรมอิสลามและด้านกระตุ้นให้เกิดการยอมรับเป้าหมายรวมของกลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสตรีควรร่วมมือกับคณะครูประชุมปรึกษาหารือ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายโรงเรียน โดยกระตุ้นผู้มีส่วนร่วมทุกคนให้ปฏิบัติงาน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน This research aimed at 1. Studying the level of transformational leadership of women administrators of Islamic private schools, office of the Private Education Commission, Pattani province, 2. Comparing the level of transformational leadership of women administrators of Islamic private schools, office of the Private Education Commission, Pattani province, classified by the position, education levels and experiences of the administrators, and the size of the schools, and 3. Collecting suggestions about transformational leadership of women administrators of Islamic private schools, office of the Private Education Commission, Pattani province. The samples used in this research were 333 women administrators by selecting from 3 schools -in each district- among Islamic private schools under the office of the Private Education Commission of Pattani province dividing into 31 persons classified by the size of the schools and 302 teachers whose administrators were women, using the Krejcie and Morgan table in setting the. The tools used in this research were questionnaires and structured interview. The statistics in analyzing data were Frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and F-value. The results of the research indicated that 1. The leadership of women administrators of Islamic private schools, office of the Private Education Commission, Pattani province in general and in each category was in high level. 2. By comparison, the opinions of the administrators of different positions in general and each category were different. 3. By comparison, the opinions of the samples from different schools in size were not different. 4. By comparison, the opinions of administrators who have different educational levels were different except in the category of being inspired and good example, it was not different. 5. By comparison, the opinions of administrators who have different experiences in work were not different. 6. The suggestions in supporting the level of transformational leadership of women administrators of Islamic private schools, office of the Private Education Commission, Pattani province are as below. In the category of being inspired and good example, the women administrators should build family-atmosphere workplace to encourage the employers and make them active in their working. In the category of being ideological influencer, they should behave with Islamic ideology sincerely to Allah, not to hidden benefits, and they and have a clear stand. In the category of personal character consideration, they should assign the works to all the workers equally, regarding to their personally knowledge and ability. In the category of intellectual urging, they should support their co-workers to find and solve the past problems by new approaches, do use their ability to dig up all potential advantages, and consult them to find intellectual challenging working ways. In the category of the wide vision, they should forecast new exciting potentials, and transfer them to their co-workers. That by yearning to know to learn the changing society. In the category of being inspired and good example, they should be brave and dare to do the right things and stop the wrong ones, be honest and practical, and behave themselves as good examples according to Islamic ethics and teachings. And in the category of urging the group’s goal acceptance, they should work together with their co-workers by meeting, consulting, rearranging the priority of school goals, and urging all workers to work hard in order to reach the mutual goals.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11955
Appears in Collections:761 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TC1502.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.