กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11925
ชื่อเรื่อง: ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการอ้างอิงฮะดีษเมาฎูอฺในกรณีความเชื่อและการปฏิบัติอิบาดะฮ์ของสังคมมุสลิมใน 5 จังหวัดฝั่งอันดามัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An Analytical Study of the Impact of al-HadIth al-Mawdu‘ on the Faith and ‘Ibadah Performance of Muslim Society in the 5 Provinces of the Andaman Sea
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อับดุลเลาะ, การีนา
นัศรุลลอฮ์, หมัดตะพงศ์
College of Islamic Studies (Islamic Studies)
วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา)
คำสำคัญ: ศาสนาอิสลาม;อิสลามศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักความเชื่อและการปฏิบัติอิบาดะฮ์ตามหลักการอิสลาม ศึกษาวิเคราะห์ทัศนะบรรดาอุละมาอ์เกี่ยวกับฮะดีษเมาฎูอฺ และศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบการอ้างอิงฮะดีษเมาฎูอฺต่อกรณีความเชื่อและการปฏิบัติอิบาดะฮ์ของสังคมมุสลิมใน 5 จังหวัดฝั่งอันดามันและแนวทางแก้ไข เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการอุลูมุลฮะดีษ หลักการอุศูลุลฟิกฮ์ และหลักการตัรญีฮ์ ผลการศึกษาพบว่า 1. หลักความเชื่อ และการปฏิบัติอิบาดะฮ์ตามหลักการอิสลามเป็นประเด็นสำคัญที่สุดทางศาสนาซึ่งจำเป็นต้องอ้างอิงหลักฐานมาจาก 2 แหล่งสำคัญ คือ อัลกุรอานและอัสสุนนะฮ์ที่สอดคล้องกับความเข้าใจและการปฏิบัติของบรรดาเศาะฮาบะฮ์ รวมถึงมติเอกฉันท์ของอุละมาอ์ อะฮ์ลุสสุนนะฮ์ มิฉะนั้นแล้วย่อมสุ่มเสี่ยงต่อการเบี่ยงเบนสู่การเป็นชิริก หรือบิดอะฮ์ หรือกุฟร์ หรือ คุรอฟาตได้ 2. ฮะดีษเมาฎูอฺ หมายถึง ฮะดีษประเภทหนึ่งที่ถูกแอบอ้างหรือเข้าใจกันว่าเป็นคำพูด หรือเรื่องราวที่พาดพิงถึงท่านนบีมุฮัมมัด แต่ได้รับการพิสูจน์ตามหลักวิชาการฮะดีษด้วยกระบวนการตัครีจญ์และตะฮ์กีกอย่างชัดเจนว่าจริงแล้วเป็นเพียงคำพูดจากบุคคลอื่นซึ่งถูกอุปโลกน์ขึ้นโดยจงใจเพื่อเป้าหมายบางประการหรือถูกถ่ายทอดต่อกันมาโดยความเข้าใจผิด ทั้งนี้ลักษณะความเป็นฮะดีษเมาฎูอ์อาจเกิดขึ้นเฉพาะในส่วนตัวบท (มะตัน) หรือสายรายงาน (สะนัด) ของฮะดีษนั้นๆ ก็ได้ ด้วยเหตุผลทั้งปวงฮะดีษประเภทนี้จึงไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นหลักฐานทางศาสนาในกรณีใดๆได้ อีกทั้งไม่นับเป็นฮะดีษที่ถูกต้องในความหมายที่แท้จริง และถือเป็นฮะดีษเฎาะอีฟในระดับที่เลวที่สุด 3. จากการศึกษากรณีความเชื่อ และการปฏิบัติอิบาดะฮ์ต่างๆ ของสังคมมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายฝั่งอันดามันพบว่ามีการอ้างอิงหลักฐานที่ไม่ถูกต้องซึ่งเป็นฮะดีษในระดับฮะดีษเมาฎูอฺ และระดับอื่นที่ใกล้เคียง เช่น ฮะดีษเฏาะอีฟญิดดัน จำนวนทั้งหมด 42 ฮะดีษ โดยมีผลกระทบที่ก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนต่างๆในทางศาสนาเป็นความผิดในหลายระดับมีทั้งเป็นชิริก กุฟร์ บิดอะฮ์ และคุรอฟาต สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการอ้างอิงฮะดีษเมาฎูอฺนั้น พบ 8 แนวทาง คือ 1) รณรงค์ให้สังคมมุสลิมตระหนักถึงความสำคัญของสุนนะฮ์ของท่านนบีมุฮัมมัด 2) อธิบายให้สังคมมุสลิมตระหนักถึงการทุ่มเทของบรรดาอุละมาอ์ในอดีตต่อการปกป้องฮะดีษหรือสุนนะฮ์ของท่านนบีมุฮัมมัด 3) สนับสนุนให้สังคมมุสลิมเรียนรู้วิชาการเกี่ยวกับฮะดีษในระดับที่สูงและลึกซึ้งยิ่งขึ้น 4) จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อเป็นเวทีให้มีการเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับอันตรายของฮะดีษเมาฎูอฺ หรือฮะดีษปลอมระหว่างผู้รู้หรือนักวิชาการมุสลิมฝ่ายต่างๆ 5) แนะนำให้สังคมมุสลิมรู้จักและเข้าถึงบรรดาตำราหลักด้านวิชาการฮะดีษ 6) ให้ความรู้ความเข้าใจแก่สังคมมุสลิมเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบประเภทของฮะดีษผ่านสื่อต่างๆ 7) จัดทำหนังสือ ตำรา สารานุกรม หรือเว็ปไซต์เกี่ยวกับอันตรายของฮะดีษเมาฎูอ์ หรือหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง และ 8) เสนอให้องค์กรด้านศาสนาในระดับต่างๆของสังคมมุสลิมมีนโยบายที่เข้มงวดต่อการเฝ้าสังเกตและป้องกันการแพร่หลายของความเชื่อและรูปแบบการปฏิบัติอิบาดะฮ์ต่างๆ ที่ขัดต่อหลักการศาสนา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ปร.ด.(อิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11925
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:761 Thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TC1506.pdf9.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น