กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11924
ชื่อเรื่อง: | การบริหารเวลา กรณีศึกษาสูเราะฮฺอัลอัศรฺ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Time Management: A Case Study of Surat al-‘Asri |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ซาฝีอี, อาดา มูฮำหมัด, เหล็มกุล College of Islamic Studies (Islamic Studies) วิทยาลัยอิสลามศึกษา (อิสลามศึกษา) |
คำสำคัญ: | ศาสนาอิสลาม;อิสลามศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยเรื่อง การบริหารเวลา กรณีศึกษาสูเราะฮฺอัลอัศรฺ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความหมายและความสำคัญของเวลา 2) เพื่อศึกษาความเป็นมาและความสัมพันธ์ของ สูเราะฮฺอัลอัศรฺกับเวลา 3) เพื่ออธิบายวิธีการบริหารเวลาที่ปรากฏในสูเราะฮฺอัลอัศรฺ วิจัยนี้เป็นวิจัยเอกสารโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการอุศูลตัฟสีรฺ หลักการอุลูมอัลหะดีษ หลักการวิพากษ์วิจารณ์ หลักการตัรฺญีหฺ และทัศนะปวงปราชญ์อรรถาธิบายอัลกุรอานในยุคต้น ปลาย และร่วมสมัย สำหรับหนังสืออรรถาธิบายอัลกุรอานที่ใช้ในการวิจัยนี้คือตัฟสีรฺบิลมะอ์ษูรฺและบิรฺเราะอ์ยิเท่านั้น จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า 1) เวลามีความสำคัญต่อมิติชีวิตต่างๆ การบริหารเวลาคือการจัดการในแต่ละมิติของช่วงเวลาเพื่อเป้าหมายในการแสวงหาความดีงามแก่ชีวิตและขจัดความขาดทุนออกจากวิถีการดำเนินชีวิต พระองค์อัลลอฮฺ ทรงสาบานด้วยกาลเวลาเพื่อย้ำเตือนให้มนุษย์ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของเวลาในมิติต่างๆ และเหตุการณ์ในช่วงเวลาต่างๆ ที่เป็นอุทาหรณ์อันมหัศจรรย์และทรงคุณค่าแก่มนุษย์ 2) สูเราะฮฺอัลอัศรฺประทานที่ ณ นครมักกะฮฺก่อน ฮิจญเราะฮฺศักราช เป็นลำดับที่ 13 และมี 3 โองการ ซึ่งมีความโดดเด่นทางด้านสัมพันธภาพระหว่างศาสตร์และศิลป์ มีนัยเนื้อหาที่อธิบายถึงวิธีการบริหารเวลาเพื่อดำรงหลักการศรัทธา หลัก ศาสนบัญญัติ และหลักคุณธรรมจริยธรรมและ 3) การบริหารเวลาคือการใช้เวลาเสริมสร้างและบริหารความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าผู้ทรงสร้างเพื่อผดุงการศรัทธาในพระองค์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับการขับเคลื่อนมิติของชีวิตในช่วงเวลาต่างๆ จนนำไปสู่การปฏิบัติตนตามแนวทางที่รองรับแรงศรัทธา และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันในมิติทางสังคมภายใต้บทบัญญัติอิสลามที่พระองค์ทรงบังคับใช้เพื่อเป้าหมายที่แท้จริงของการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งระดับ ปัจเจกชนและสังคมทุกระดับ The research entitled “ Time Management : A Case Study of Surat al-‘Asri” aims; 1) to study the meaning and importance of time, 2) to study the origin and relationship of Surat al-‘Asri with time, 3) to explain how the time management should be as appears in Surat al-‘Asri. The research is documentary relying on data from primary, secondary and tertiary sources, and analyzes them using ’Uṣūl al-Tafsīr Principles, ‘Ulūm al- Ḥadīth Principles, Criticizing Principles, Tarjīḥ Principles, and views of Muslim commentators of early, middle and contemporary ages. The only Qu’ānic interpretation books used in this research are Tafsir bil-M’athūr and bil-R’ayi. The research found that 1) time is so important to various dimensions of human life. Time management is the management of each dimension of time for the purpose of seeking goodness for the life and eliminating its loss. Allah has sworn by time for reminding people of the importance of time in different dimensions and of the events which took place in various periods of time as miraculous and valuable lessons for human beings, 2) Surat al-‘Asri was the 13th chapter chronologically revealed in Makkah prior to Hijrah and has 3 verses. The Surat has distinctive relationship between science and art. Its implied content deals with how to manage time to live up to religious faith, practice and moral-ethical principles, and 3) time management is consuming time for creating and managing relationship between man and God, the Creator, to achieve belief in Him, relationship between man and the driving force of his life dimensions at various times which leads to the implementation of the faith, and relationship between human beings in social dimension under the Islamic law which God, Almighty, has enforced on them for the true purpose of maintaining their life that benefits human beings at both individual and all social levels. |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(อิสลามศึกษา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11924 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 761 Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
TC1505.pdf | 8.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น