กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11032
ชื่อเรื่อง: | การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการเลี้ยงกุ้ง กรณีศึกษาฟาร์มในจังหวัดสงขลา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัญชนา สินธวาลัย คลอปิติ วัฒนา Faculty of Engineering (Industrial Engineering) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
คำสำคัญ: | การเพิ่มประสิทธิภาพ;การเลี้ยงกุ้ง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
บทคัดย่อ: | สารนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการ เลี้ยงกุ้ง กรณีศึกษาฟาร์มในจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลการเลี้ยงกุ้งในฟาร์มกรณีศึกษา โดยลดเวลาในการปฏิบัติงานให้มีความรวดเร็ว และลดการใช้ทรัพยากร รวมถึงสามารถช่วยในการตัดสินใจขายผลผลิตให้ได้กำไรสูงที่สุด การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใช้รูปแบบเว็บเบราว์เซอร์ โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นได้ถูกประเมินผลด้านความพึงพอใจโดยผู้ใช้งานและด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยผู้ประเมินแบบสอบถามรวมทั้งสิ้น 9 คน ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร 2 คน , ฝ่ายบัญชี 2 คน , ฝ่ายขาย 2 คน และฝ่ายฟาร์มเลี้ยง 3 คน ผลการประเมินพบว่า คะแนนความพึงพอใจในประสิทธิภาพของโปรแกรมด้านต่างๆ ดังนี้ ด้าน Functional Requirement Test ความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ( 4.56, 0.4939), ด้าน Functional Test ความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ( 4.74, 0.2588), ด้าน Usability Test ความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ( 4.80, 0.2299) และ ด้าน Security Test ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก ( 5.00, 0.00) สรุปการประเมินผลความพึงพอใจในประสิทธิภาพของโปรแกรมทั้ง 4 ด้าน ความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ( 4.74, 0.1905) การใช้งานโปรแกรมพบว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใหม่ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้ดังนี้ เวลาที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลการปล่อยลูกพันธ์สัตว์น้ำ สามารถลดเวลาการบันทึกข้อมูลได้ถึง 70 นาที หรือคิดเป็นร้อยละ 87.5, เวลาที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลระหว่างการ เลี้ยงกุ้ง สามารถลดเวลาการบันทึกข้อมูลได้ถึง 280 นาที หรือคิดเป็นร้อยละ 93.3, เวลาที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลประมาณการการเลี้ยงกุ้ง และการบันทึกข้อมูลสรุปผลการเลี้ยงไม่ต้องทำการบันทึกข้อมูลใหม่ เนื่องจากสามารถดึงข้อมูลต่างๆ ที่ได้ทำการบันทึกไว้ สามารถนำมาใช้ได้ทันที สามารถลดเวลาในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการเลี้ยงกุ้ง และสรุปรายงาน โดยจากเดิมใช้เวลาปฏิบัติงานเฉลี่ย 545 นาที เหลือเพียง 30 นาที คิดเป็นเวลาที่ลดลงร้อยละ 93.32 จากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้พัฒนาขึ้น สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการเลี้ยงกุ้ง กรณีศึกษาฟาร์มในจังหวัดสงขลา ได้เป็นอย่างดี |
รายละเอียด: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรม), 2560 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11032 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 228 Minor Thesis |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
บทคัดย่อ.pdf | 124.11 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น