กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8069
ชื่อเรื่อง: | ผลของการปรับปรุงระบบกรีดต่อเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรชาวสวนยางขนาดเล็ก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ผลของการปรับปรุงระบบกรีดต่อเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรชาวสวนยางขนาดเล็ก Effect of the tapping system impressments in rubber on socioeconomic of farmers |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บัญชา สมบูรณ์สุข สมยศ ทุ่งหว้า Benedicte, Chambon กนกพร ภาชีรัตน์ ไชยยะ คงมณี Faculty of Natural Resources (Agricultural Development) คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพัฒนาการเกษตร Faculty of Economics (Economics) คณะเศรษฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การกรีดต้นไม้;ยาง;การกรีดยาง;ชาวสวนยาง |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract(Thai): | การเพิ่มผลผลิตและรายได้ของเกษตรชาวสวนยางพารา จำเป็นจะต้องค้นหานวัตกรรมและเทศนิคใหม่ ๆ มาใช้ในการเพิ่มผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งนวัตกรรมเกี่ยวกับการใช้ระบบกรีดยางพารา ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ระหว่างการใช้ระบบกรีดแบบรอยเดียวกับระบบกรีดแบบสองรอยกรีด : DCA และเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร ชาวสวนยางพาราที่เลือกใช้ระบบกรีดคแบบรอยเดียวและระบบกรีดแบบสองรอยกรีด เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ โดยการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพารา จำนวน 118 ครัวเรือน ในพื้นที่ 5 อำเภอ จังหวัดสงขลา และข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครัวเรือนเกษตรกรที่เข้าร่วมทดลองใช้ระบบกรีดแบบสองรอยกรีด : DCA จำนวน 3 ราย และครัวเรือนเกษตรกรชาวสวนยางพารา จำนวน 15 ราย สำหรับการวิเคราะห์แบบจำลองโดยใช้โปรแกรม Olympe ผลการศึกษา พบว่าในปัจจุบันเกษตรกรเลือกใช้ระบบกรีดแบบรอยเดียวที่สำคัญ 5 ระบบกรีด ได้แก่ระบบกรีด 1/3s3d/4, 1/3s2d/3, 1/2s2d/3, 1/2s3d/4 และ 1/2sd/2 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบกรีด 1/3ห3ก/4 เป็นระบบกรีดที่เกษตรกรนิยมใช้มากที่สุด ให้ผลตอบแทนมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบระบบกรีดอื่น ๆ และเมื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ระบบกรีดแบบรอยเดียวที่สำคัญทั้ง 5 ระบบดังกล่าวกับระบบกรีดแบบสองรอยกรีด : DCA พบว่า ระบบกรีดแบบสองรอยกรีด : DCA ให้ปริมาณผลการผลิตต่อปีสูงที่สุด รองลงมาระบบกรีด 1/3s3d/4 เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนพบว่า ระบบกรีดแบบสองรอยกรีด : DCA ให้รายได้สุทธิสูงที่สุดเมื่อเทียบกับระบบกรีดแบบรอยเดียว นอกจากนี้ยังพบว่า ระบบกรีดแบบสองรอยกรีด : DCA มีปริมาณผลผลิตเนื้อยางแห้งเพิ่มขึ้น 20% สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางการเพิ่มผลผลิตและรายได้ สำหรับเกษตรกรที่เลือกใช้ระบบกรีดแบบสองรอยกรีด : DCA ได้แก่ ควรมีการเพิ่มพูนความรู้และทักษะของแรงงานกรีดควรใช้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี และเกษตรกรควรใช้ระบบกรีดที่มีความถี่ต่ำเพื่อรักษาหน้ากรีด |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/8069 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/247601 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | 520 Research 878 Research |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
350130.pdf | 53.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License