Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19633
Title: | การพัฒนาฟิล์มต้านจุลินทรีย์จากโปรตีนไอโซเลตจากปลาข้างเหลือง |
Other Titles: | Development of antimicrobial film based on fish protein isolate from yellow stripe travelly |
Authors: | ธรรมนูญ โปรดปราน สุทธวัฒน์ เบญจกุล, พรอุษา จิตพุทธิ พรอุษา จิตพุทธิ Faculty of Agro-Industry (Material Product Technology) คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ Faculty of Agro-Industry (Material Product Technology) คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ |
Keywords: | โปรตีน;ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract(Thai): | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการใช้ประโยชน์จากปลาข้างเหลือง (yellow strip trevally) โดยน าเนื้อ ปลามาเป็นวัตถุดิบส าหรับการผลิตแผ่น จากการศึกษาการเตรียมและลักษณะเฉพาะของฟิล์มผสมระหว่าง โปรตีนไอโซเลตจากกล้ามเนื้อปลาข้างเหลือง (FPI) และเจลาตินจากหนังปลา (FSG) ที่อัตราส่วนผสมต่างๆ เตรียมที่พีเอช 3 และ 11 และเติมกลีเซอรอลในปริมาณร้อยละ 30 และ 50 ของโปรตีน พบว่า ที่ระดับพีเอช เดียวกัน ฟิล์มที่ได้มีค่าการต้านทานแรงดึง (TS) ลดลง แต่มีค่าการยืด ณ จุดขาด (EAB) ค่าการซึมผ่านไอน้ า (WVP) และค่าการละลาย เพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณกลีเซอรอลที่ใช้เพิ่มขึ้น (p<0.05) โดยทั่วไปฟิล์ม FPI มีค่า TS, EAB ต่ ากว่า แต่มีค่า WVP สูงกว่าฟิล์ม FSG (p<0.05) ฟิล์มผสมระหว่าง FPI/FSG มีค่า TS และ EAB สูงขึ้น แต่ค่า WVP ลดลง เมื่อปริมาณของ FSG ในฟิล์มเพิ่มขึ้น (p<0.05) โดยเฉพาะตัวอย่างฟิล์มที่เตรียมที่พีเอช 11 ฟิล์มผสมระหว่าง FPI/FSG ที่มีปริมาณ FSG เพิ่มขึ้น มีค่าการละลายสูงกว่า แต่ค่า b* (ค่าสีเหลือง) ต่ ากว่า ฟิล์ม FPI (p<0.05) ฟิล์มที่เตรียมที่พีเอช 11 มีความใสน้อยกว่าฟิล์มที่เตรียมที่พีเอช 3 (p<0.05) จากการ วิเคราะห์ด้วยเทคนิคอินฟาเรดสเปกโตรสโคปี (FTIR) พบว่า อันตรกิริยาระหว่างโมเลกุลด้วยพันธะไฮโดรเจนมี ส่วนส าคัญในการเกิดฟิล์มผสมระหว่าง FPI/FSG นอกจากนี้ จากการตรวจสอบด้วยกล้องอิเล็กตรอนแบบ ส่องกราด (SEM) ไม่พบการแยกเฟสในโครงสร้างฟิล์มผสมระหว่าง FPI/FSG ดังนั้นการเติม FSG ในฟิล์ม FPI ในปริมาณร้อยละ 50 ร่วมกับการลดการเติมกลีเซอรอลเป็นร้อยละ 30 สามารถช่วยปรับปรุงสมบัติเชิงกลและ สมบัติการขวางกั้นไอน้ าของฟิล์มผสม FPI/FSG ได้ จากการศึกษาการเตรียมฟิล์มนาโนคอมพอสิตระหว่าง FPI/FSG (ที่พีเอช 3 และ 11) โดย การเติมอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ (ZnO nanoparticles: ZnONP) ที่ระดับต่างๆ (ร้อยละ 0 – 4 โดยน้ าหนัก ของโปรตีน) พบว่า ฟิล์มที่ได้มีค่า TS สูงขึ้น แต่มีค่า EAB และ WVP ลดลง ตามปริมาณ ZnONP ที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ขึ้นกับค่าพีเอช (p<0.05) การเติม ZnONP ท าให้ได้ฟิล์มที่มีสีเหลืองน้อยลง และสามารถปรับปรุงสมบัติ การขวางกั้นแสงยูวีได้ จากผลการวิเคราะห์ทางความร้อนด้วยเทคนิค Thermogravimetric analysis: TGA) พบว่า การเติม ZnONP สามารถปรับปรุงความคงตัวทางความร้อนของฟิล์มนาโนคอมพอสิตที่ได้นอกจากนี้ พบว่าฟิล์มนาโนคอมพอสิต FPI/FSG-ZnO ที่เตรียมได้ โดยเฉพาะที่พีเอช 3 ยังมีกิจกรรมการต้านแบคทีเรียที่ ก่อให้เกิดโรคและแบคทีเรียที่ท าให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหารอีกด้วย จากการศึกษาการเตรียมแอคทีฟฟิล์มที่มีสมบัติในการยับยั้งจุลินทรีย์จากฟิล์มโปรตีนผสม ระหว่าง FPI/FSG ที่เติมน้ ามันหอมระเหยใบโหระพา (BEO) ในปริมาณร้อยละ 50 และ 100 โดยน้ าหนักของ ปริมาณโปรตีน ที่ไม่เติมและที่เติม ZnONP ในปริมาณร้อยละ 3 โดยน้ าหนักของโปรตีนในฟิล์ม พบว่า การเติม BEO ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น มีผลให้ฟิล์มที่ได้มีค่า TS ลดลง แต่ค่า EAB สูงขึ้น (p<0.05) อย่างไรก็ตาม การเติม ZnONP มีผลให้ฟิล์มมีค่า TS สูงขึ้น แต่ค่า EAB ลดลง (p<0.05) ฟิล์มที่มีค่า WVP ต่ าที่สุดคือฟิล์มที่มีการเติม BEO ร้อยละ 100 ร่วมกับการเติม ZnONP ร้อยละ 3 (p<0.05) การเติม BEO และ ZnONP มีผลให้ความใส ของฟิล์ม FPI/FSG ลดลง (p<0.05) นอกจากนี้ BEO และ ZnONP ที่เติมยังมีผลอย่างมากต่อความคงตัวทาง ความร้อนของฟิล์ม และพบว่า ฟิล์ม FPI/FSG ที่เติม BEO ร้อยละ 100 โดยเฉพาะที่มีการเติม ZnONP ร่วม ด้วย มีกิจกรรมการต้านแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคและแบคทีเรียที่ท าให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหารได้อย่างเห็น ได้ชัด จากการศึกษาการน าฟิล์มมาใช้ห่อหุ้มชิ้นเนื้อปลากะพง และเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศา เซลเซียส เป็นเวลา 12 วัน พบว่า ฟิล์ม FPI/FSG ที่เติม ZnONP และ BEO ในปริมาณร้อยละ 3 และ 100 โดย น้ าหนักโปรตีน ตามล าดับ (ฟิล์ม FPI/FSG-ZnONP-BEO) สามารถชะลอการเจริญของเชื้อ psychrophilic bacteria, lactic acid bacteria (LAB) และจุลินทรีย์ที่ท าให้เกิดการเน่าเสียต่างๆ ได้แก่ Pseudomonads, H2S producing bacteria และ Enterobacteriaceae ในชิ้นเนื้อปลากะพงได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการ ห่อหุ้มด้วยฟิล์ม FPI/FSG-BEO, FPI/FSG-ZnONP, FPI/FSG, Polypropylene (PP) และชุดควบคุมที่ไม่มีการ ห่อหุ้มด้วยฟิล์ม ตามล าดับ (p<0.05) นอกจากนี้พบว่า การใช้ฟิล์ม FPI/FSG-ZnONP-BEO สามารถลดอัตรา การเพิ่มขึ้นของค่าพีเอช ด่างที่ระเหยได้ทั้งหมด (TVB) ค่าเพอร์ออกไซด์ (PV) และค่า TBARS ลงได้มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ฟิล์มชนิดอื่น (p<0.05) และจากการวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัส แสดงให้เห็นว่าชิ้น เนื้อปลากะพงมีอายุการเก็บรักษานานที่สุดเมื่อท าการห่อหุ้มด้วยฟิล์ม FPI/FSG-ZnONP-BEO (เวลา 12 วัน) ในขณะที่เนื้อปลากะพงชุดควบคุมมีอายุการเก็บรักษาเพียง 6 วัน ดังนั้นการน าฟิล์ม FPI/FSG-ZnONP-BEO มาใช้ห่อหุ้มชิ้นเนื้อปลากะพบ สามารถช่วยชะลอการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์และการเกิดออกซิเดชันของไขมัน ในชิ้นเนื้อปลากะพงได้ เป็นผลให้สามารถยืดอายุการเก็บรักษาชิ้นเนื้อปลากะพงได้ |
URI: | https://tnrr.nriis.go.th/#/research/1018101 http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19633 |
Appears in Collections: | 850 Research 855 Research |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.