Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19605
Title: สถานะและโพแทสเซียมบัฟเฟอร์ในดินปลูกยางพาราในภาคใต้ของประเทศไทย
Other Titles: Status and Buffering Potassium in Rubber Growing Soils in Southern Thailand
Authors: จักรกฤษณ์ พูนภักดี
อารีรัตน์ ชูเมฆา
Faculty of Natural Resources (Earth Science)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาธรณีศาสตร์
Keywords: การตรึงและปลดปล่อยโพแทสเซียม;การต้านทานโพแทสเซียม;การสกัดแบบลำดับขั้น;ยางพาราภาคใต้
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The soils in southern Thailand have low content of available K. The availability of soil K depends on the K speciation, K fixation, K release, and soil properties. The objectives of this study were 1) to compare soil K speciation based on its bioavailability (single leaching extraction; SLE) and sequential extraction process (SEP), 2) to assess the K buffer capacity in rubber growing soils, and 3) to investigate the K transformation in soil and soil K translocation in soil to plant. Soil profiles were selected different textural groups as follows; coarse, medium and fine texture. Soil K speciation was investigated by SLE and SEP and correlation with soil properties. K fixation, K release, and soil K transformation after rubber budding grown were evaluated. The results showed that the concentration of soil K speciation was high in fine > medium > coarse soil textural groups. Soil K speciation obtained by SLE and SEP not only exhibited a strong positive correlation with organic matter, cation exchange capacity, and clay particles, but also exhibited a high degree of correlation among themselves. The summation of Exch-K and Car-K was highly correlated with NH4OAc-K (r2=0.94). Moreover, the summation of Oxide-K and OM-K was highly correlated with Fixed-K (r2=0.84), and Res-K was highly correlated with Min-K (r2=0.83). K fixation was highest in fine textural soil. In all textural groups, the buffering coefficient for K (BCK ) was 0.7-0.8. Therefore, 70-80% of K applied were in Sol-K and Exch-K, while 20-30% was fixed in the soil. Rubber plantation soils were low K release potential. Fine soil texture had higher K fixation and release capacity than medium and coarse, respectively. K fertilizer application in soils promoted plant growth, and increased K and N uptake. While, high dosages of K fertilizer application inhibited Ca and Mg uptake in plant. Soil K speciation after rubber budding grown was high in Res-K > Exch-K > Car-K > Oxide-K > OM-K. The concentration of Exch-K and Car-K increased. Therefore, SEP can be used to evaluate availability K as SLE. Rubber plantation in southern Thailand, the combination of K fertilizer and organic fertilizer should be applied for soil K sufficiency level for rubber trees requirement.
Abstract(Thai): ดินปลูกยางในภาคใต้มีโพแทสเซียม (K) ที่เป็นประโยชน์ต่ำ โดยความเป็นประโยชน์ของ K ขึ้นอยู่กับรูปของ K ในดิน ความสามารถในการตรึงและปลดปล่อย K ในดิน รวมทั้งสมบัติต่าง ๆ ของ ดิน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบรูปของ K ในดินที่ถูกแบ่งตามความเป็นประโยชน์ ต่อพืช (single leaching extraction (SLE) และการสกัดแบบตามลำดับขั้น (sequential extraction process; SEP) 2) เพื่อประเมินความจุบัฟเฟอร์ในดินปลูกยางพารา และ 3) เพื่อศึกษาการ เปลี่ยนแปลงรูปของ K ในดินและการเคลื่อนย้าย K จากดินสู่พืชโดยเก็บดินปลูกยางพาราในภาคใต้ ตามกลุ่มเนื้อดิน คือ หยาบ ปานกลาง และละเอียด นำมาศึกษารูป K และความเข้มข้นของ K ตามวิธี SLE และ SEP รวมทั้งหาความสัมพันธ์กับสมบัติดิน จากนั้นนำไปศึกษาการตรึงและการปลดปล่อย K ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงรูป K ในดินเมื่อปลูกกล้ายางพารา ผลการศึกษา พบว่า ความเข้มข้นของ K รูปต่าง ๆ ในดินมีค่าสูงในดินเนื้อละเอียด > ดินเนื้อปานกลาง > ดินเนื้อหยาบ รูปของ K ที่สกัดด้วย วิธี SLE และ SEP ไม่เพียงแต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกสูงกับอินทรียวัตถุความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน และอนุภาคดินเหนียว แต่ K รูปต่าง ๆ ที่สกัดได้ทั้ง 2 วิธี ยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกันสูง โดยพบว่า ผลรวมของ Exch-K กับ Car-K มีความสัมพันธ์กับ NH4OAc-K (r2=0.94) นอกจากนั้น ผลรวมของ Oxide-K กับ OM-K มีความสัมพันธ์กับ Fixed-K (r2=0.84) และ Res-K พบความสัมพันธ์สูงกับ MinK (r2=0.83) การตรึง K ในดินเกิดได้ดีในกลุ่มดินเนื้อละเอียด ดินทั้ง 3 กลุ่มเนื้อดินมีค่าสัมประสิทธิ์ การต้านทานโพแทสเซียม (BCK ) ในช่วง 0.7-0.8 ดังนั้น ร้อยละ 70-80 ของ ปุ๋ย K ที่ใส่จะอยู่ใน สารละลายดินและรูปที่แลกเปลี่ยนได้ ในขณะที่ร้อยละ 20-30 ของ K ที่ใส่ปุ๋ยจะถูกตรึงไว้ในดิน ดิน ปลูกยางพารามีศักยภาพในการปลดปล่อย K ได้ต่ำ โดยดินเนื้อละเอียดมีการตรึงและปลดปล่อยสูง กว่าดินเนื้อปานกลาง และหยาบ ตามลำดับ การใส่ปุ๋ย K ในดินทำให้การเจริญเติบโตของพืชดีและ เพิ่มการดูดใช้ K และ N แต่เมื่อใส่ปุ๋ย K ในปริมาณสูง พบว่า ยางพาราดูดใช้ Ca และ Mg ลดลง เมื่อ ประเมินรูปของ K ในดินหลังปลูกกล้ายาง พบว่า K ส่วนใหญ่อยู่ในรูป Res-K > Exch-K > Car-K > Oxide-K > OM-K และพบว่า ความเข้มข้นของ Exch-K และ Car-K เพิ่มขึ้น ดังนั้น SEP สามารถ นำไปประเมิน K ในรูปที่เป็นประโยชน์ได้สอดคล้องกับการประเมินแบบ SLE ทั้งนี้ดินปลูกยางพาราใน ภาคใต้ควรใส่ปุ๋ย K ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ดินมีระดับ K เพียงพอต่อความต้องการของยางพารา
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรดิน), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19605
Appears in Collections:542 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6410620009.pdfสถานะและโพแทสเซียมบัฟเฟอร์ในดินปลูกยางพาราในภาคใต้ของประเทศไทย1.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons