Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19565
Title: Development of Electrochemical Sensors and Their Application in Environmental and Clinical Analysis
Other Titles: การพัฒนาเซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าและประยุกต์ใช้สำหรับวิเคราะห์ทางสิ่งแวดล้อมและทางการคลินิก
Authors: Warakorn Limbut
Asamee Soleh
Faculty of Science (Chemistry)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเคมี
Keywords: Electrochemistry;Environmental chemistry;Master Degree
Issue Date: 2019
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: Electrochemical sensors were developed for the determination of hydroxylamine in environmental monitoring and the simultaneous determination of dopamine, uric acid, and glucose in clinical analysis. Two projects were undertaken. The first project reports the development of an electrochemical sensor for the detection of hydroxylamine by flow injection amperometry based on a glassy carbon electrode (GCE) modified with a nanocomposite of palladium nanoparticles and glassy carbon spheres (PdNPs-GCS). The surface morphology and electrochemical behavior of hydroxylamine on the PdNPs-GCS modified electrode were characterized by scanning electron microscope and cyclic voltammetry, respectively. The amount of PdNPs-GCS used to modify the electrode, the working potential, the sample volume and the flow rate were optimized. Under the optimal conditions, this sensor provided a wide linear concentration range of 25 to 25,000 μM. The limit of detection (LOD) and the limit of quantitation (LOQ) were 36 μM and 120 μM, respectively. Moreover, it provided good stability (%RSD <5.3 (n=73)). The second project involved the development of a novel electrochemical sensor using a system of dual working electrodes for the simultaneous determination of glucose, uric acid and dopamine. A graphene oxide-modified glassy carbon electrode (GO/GCE) was fabricated and used with adsorptive anodic stripping voltammetry to detect uric acid and dopamine while a chitosan/glucose oxidase/prussian blue-graphite modified glassy carbon electrode (Chi/GOx/PB-G/GCE) was fabricated and used for chronoamperometric glucose detection. The fabrication and operating conditions for both electrodes were optimized. Linearity was obtained in the ranges of 0.10 to 30 μM and 30 to 80 μM for dopamine, 0.20 to 10 μM and 10 to 30 μM for uric acid and 15 to 1,500 μM for glucose. The system provided detection limits (LOD 3G/S) of 0.080 μM, 0.11 μM, and 5.7 μM for dopamine, uric acid and glucose, respectively. This dual working electrode system showed good reproducibility and excellent recovery for the simultaneous determination of dopamine, uric acid, and glucose. When used to analyze dopamine, uric acid, and glucose in blood plasma samples, the results agreed well with those from conventional methods (P>0.05), confirming the potential of this system to simultaneously determine these three analytes in real samples.
Abstract(Thai): วิทยานิพนธ์ฉบับนี้พัฒนาเซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าสําหรับตรวจวัดไฮดรอกซีลามีนใน สิ่งแวดล้อมและตรวจวัดโดพามีน กรดยูริกและกลูโคสพร้อมกันในด้านคลินิก ประกอบด้วยสอง งานวิจัยย่อย งานวิจัยแรกพัฒนาเซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าสําหรับตรวจวัดไฮดรอกซีลามีนด้วย ขั้วไฟฟ้ากลาสซีคาร์บอนที่ปรับปรุงผิวหน้าด้วย อนุภาคนาโนพาลาเดียม-กลาสซีคาร์บอนทรงกลม โดยใช้เทคนิคแอมเพอโรเมทรี ร่วมกับระบบโฟลว์อินเจคชัน ศึกษาลักษณะสัณฐานของอนุภาคนา โนพาลาเดียม–กลาสซีคาร์บอนทรงกลมและพฤติกรรมทางเคมีไฟฟ้าของไฮดรอกซีลามีนบน ขั้วไฟฟ้าที่ปรับปรุงด้วยอนุภาคนาโนพาลาเดียม-คลาสซีคาร์บอนทรงกลมด้วยกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนแบบส่องกราดและเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมทรีตามลําดับ จากนั้นศึกษาสภาวะที่ เหมาะสม ได้แก่ ปริมาณอนุภาคนาโนพาลาเดียม-กลาสซีคาร์บอนทรงกลมที่ใช้สําหรับปรับปรุง ผิวหน้าขั้วไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ปริมาตรสารตัวอย่าง และอัตราการไหล ภายใต้สภาวะเหมาะสมพบว่า ขั้วไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นให้ความสัมพันธ์เชิงเส้นในช่วงความเข้มข้น 25 – 25,000 ไมโครโมลาร์ มี ขีดจํากัดการตรวจวัด 36 ไมโครโมลาร์ และขีดจํากัดการตรวจวัดเชิงปริมาณ 120 ไมโครโมลาร์ นอกจากนี้ขั้วไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นมีเสถียรภาพที่ดี (%RSD < 5.3 (n=73)) งานวิจัยที่สองพัฒนาเซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าโดยใช้ระบบขั้วไฟฟ้าทํางานคู่สําหรับตรวจวัด กลูโคส กรดยูริกและโดพามีนพร้อมกัน ปรับปรุงผิวหน้าขั้วไฟฟ้าทํางานที่ 1 ด้วยวัสดุกราฟีน ออกไซด์ สําหรับตรวจวัดกรดยูริกและโดพามีนด้วยเทคนิคแอดซอฟทีพสทริปปิงโวลแทมเมทรี และขั้วไฟฟ้าทํางานที่ 2 ด้วยปรัสเซียนบลูกราไฟท์/ไคโตซานเอนไซม์กลูโคสออกซิเดสสําหรับ ตรวจวัดกลูโคสด้วยเทคนิคโครโนแอมเพอโรเมทรี ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสําหรับเตรียมขั้วไฟฟ้า และการตรวจวัด ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม โดพามีนมีความสัมพันธ์เชิงเส้นในช่วง 0.10-30 ไมโคร โมลาร์ และ 30-80 ไมโครโมลาร์ ขีดจํากัดการตรวจวัด 0.080 ไมโครโมลาร์ กรดยูริกมีช่วงความ เป็นเส้นตรงในช่วง 0.20-10 ไมโครโมลาร์ และ 10-30 ไมโครโมลาร์ มีขีดจํากัดการตรวจวัด 0.11 ไมโครโมลาร์ และกลูโคสมีช่วงความเป็นเส้นตรงในช่วง 15-1,500 ไมโครโมลาร์ มีขีดจํากัดการ ตรวจวัด 5.7 ไมโครโมลาร์ นอกจากนี้เซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าระบบขั้วไฟฟ้าทํางานคู่ที่พัฒนาขึ้น ให้ผลการทําซ้ําและร้อยละการได้กลับคืนที่ดี เมื่อใช้เซนเซอร์ที่พัฒนาขึ้นตรวจวัดโดพามีน กรด ยูริกและกลูโคสในตัวอย่างพลาสมา โดยเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐานจากโรงพยาบาล พบว่าผลที่ได้ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ (P>0.05) ซึ่งสามารถยืนยันว่าวิธีที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถ ตรวจวัดโดพามีน กรดยูริกและกลูโคสในตัวอย่างจริงได้
Description: Master of Science (Chemistry), 2019
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19565
Appears in Collections:324 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435372.pdf12.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons