Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19560
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอ้อยทิพย์ ชาญการค้า-
dc.contributor.authorศศิ จันทรมณี-
dc.date.accessioned2024-07-19T08:31:11Z-
dc.date.available2024-07-19T08:31:11Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19560-
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก), 2562en_US
dc.description.abstractObjectives: The objectives of this study were to 1) assess the distributions of risk levels, the sensitivity, specificity, and predictive values of caries risk assessment tools including CAT, CAMBRA, THAI, PSU-CRA, and PSU-adjusted, 2) to compare the distributions of caries risk levels using the assessment tools, and 3) assess the association between risk indicators assessing the same factors collected differently and caries increment during the 6-month follow-up. Method: This study was a prospective observational study. Children aged 3 years old or younger and their primary caregivers were recruited for the study. Children oral examination: for dental caries and plaque status were performed. Primary caregivers were interviewed for demographic data and caries related factors. Oral examinations and interviews were conducted at baseline and about 6 month: thereafter. Children were classified into high and low risk groups according to each risk assessment tool criteria. The decision matrix of risk levels from each assessment and caries increment status were constructed. The sensitivity, specificity and predictive values were calculated. The associations of risk indicators and caries increment status were analyzed using the chi-square test. The McNemar test was performed for the difference among predictive outcomes of the tools. This study was approved by the Ethics Committee of the Faculty of Dentistry, Prince of Songkla University (EC6007-20-P-LR) and registered in the Thai Clinical Trials Registry (TCTR20180905001). Results: The assessment with highest predictive power was CAT with one factor criterion (using white spot lesions or enamel defects as the determinant factor). There were statistically significant associations between the assessed risk level of THAI, PSU-CRA and PSU- adjusted at baseline and caries increment at 6-months follow-up (p<0.05). The assessed risk level of CAT-preponderance factors was a statistically significant difference from the assessed risk levels of the other tools at baseline (p<0.05). The predictive power of CAT (preponderance), CAT (one factor: white spot lesions or enamel defects), CAMBRA, THAI, PSU-CRA, and PSU-adjusted were 92.8, 138.1, 106.1, 129.2, 127.2, and 116.9, respectively. For caries experience as a risk indicator, children having initial caries (OR=5.37) were more likely to have one or more caries increment at follow-up than those having dental caries on anterior teeth (OR=4.27) and those having obvious dental carie: (OR=1.34). For plaque status as a risk indicator, having plaque on teeth (OR=3.11) and having plaque on anterior teeth (OR=2.72) were significantly associated with having caries increment at follow-up. However, having plaque on posterior teeth was not significantly associated with having caries increment at follow-up. Conclusion: Caries risk assessment tools including CAT with one factor criterion (using white spot lesions or enamel defects as the determinant factor), THAI, PSU-CRA, and PSU- adjusted had acceptable predictive power for assessing caries risk in Thai Children younger than 3 years old. High caries risk children at baseline using the assessments were significantly associated with having caries increment at 6-months follow-up.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectฟันผุในเด็กen_US
dc.titleความสามารถในการทำนายผลของแบบประเมินความเสี่ยงการเกิดฟันผุในเด็กไทยอายุไม่เกิน 3 ปีen_US
dc.title.alternativePredictive Power of Caries Risk Assessment Tools in Thai Children Aged 3 Year old or Youngeren_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Dentistry (Oral Biology and Occlusion)-
dc.contributor.departmentคณะทันตแพทยศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยาช่องปากและระบบการบดเคี้ยว-
dc.description.abstract-thวัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการกระจายของระดับ ความเสี่ยง ค่าความไว ความจําเพาะ ค่าพยากรณ์ของแบบประเมินความเสี่ยงการเกิดฟันผุ ได้แก่ แบบประเมินความเสี่ยง Carier Risk Assessment Tools (CAT) แบบประเมิน Management by Risk Assessment Philosophy (CAMBRA) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุโดยทันตแพทย สมาคมแห่งประเทศไทย (THAI) แบบประเมินความเสี่ยง PSU-CRA และแบบประเมินความเสี่ยง PSU-adjusted และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการกระจายของระดับความเสี่ยงการเกิดฟันผุของแบบ ประเมิน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของตัวบ่งชี้ความเสี่ยง (risk indicators) ที่ประเมินเรื่องเดียวกัน แต่มีการวัดที่แตกต่างกัน กับการเกิดฟันผุเพิ่มที่ระยะเวลา 6 เดือน วิธีการวิจัย การศึกษานี้ออกแบบการศึกษาเป็นการสังเกตแบบไปข้างหน้า ผู้เข้าร่วม การศึกษา คือ เด็กอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3 ปีและผู้ดูแลหลัก ประเมินความเสี่ยงการเกิดฟันผุจาก การเก็บข้อมูลโดยการตรวจฟันและคราบจุลินทรีย์ในเด็ก และสัมภาษณ์ผู้ดูแลหลักเกี่ยวกับข้อมูล พื้นฐานและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดฟันผุ โดยเก็บข้อมูลที่ระยะเวลาเริ่มต้นและติดตามที่ ระยะเวลา 6 เดือน จําแนกเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ระดับความเสี่ยงสูงและระดับความเสี่ยงต่ําตาม เกณฑ์การพิจารณาของแบบประเมินความเสี่ยงการเกิดฟันผุแต่ละแบบ สร้างตารางแสดงการ กระจายระดับความเสี่ยงของแบบประเมินแต่ละแบบและสภาวะฟันผุเพิ่ม คํานวณค่าความไว ความจําเพาะ ค่าพยากรณ์ ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้ความเสี่ยงและการเกิดฟันผุเพิ่มโดย ใช้สถิติทดสอบไคสแควร์ และทดสอบความแตกต่างของผลการทํานายระดับความเสี่ยงการเกิดฟัน ผุในแต่ละแบบประเมินโดยใช้การทดสอบแมคนีมาร์ งานวิจัยนี้ผ่านการพิจารณาโดยคณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (EC6007-20-P- LR) และลงทะเบียนงานวิจัยแบบทดลองทางคลินิก (TCTR20180905001)ผลการวิจัย คือ แบบประเมินความเสี่ยงการเกิดฟันผุที่มีค่าอํานาจการทํานายสูงสุด คือ แบบประเมิน CAT ที่เลือกปัจจัยเดี่ยวเป็นเกณฑ์การประเมิน (ปัจจัยการมีรอยโรคขาวขุ่นหรือมี ความผิดปกติของผิวเคลือบฟัน) ผลการทํานายระดับความเสี่ยงที่ระยะเวลาเริ่มต้นของแบบประเมิน THAI แบบประเมิน PSU-CRA และแบบประเมิน PSU-adjusted มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ กับการเกิดฟันผุเพิ่มที่ระยะเวลา 6 เดือน (p<0.05) จากการเปรียบเทียบผลการทํานายระดับ ความเสี่ยงการเกิดฟันผุในแต่ละคู่ของแบบประเมิน พบว่า คู่ของแบบประเมิน CAT ที่ใช้การ ประเมินจากความสมดุลระหว่างปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงในการเกิดฟันผุและปัจจัยป้องกันฟันผุ (CAT- preponderance factor) มีผลการทํานายระดับความเสี่ยงการเกิดฟันผุที่เวลาเริ่มต้นแตกต่างกับแบบ ประเมินความเสี่ยงอื่นๆ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) อํานาจการทํานายของแบบประเมิน CAT-preponderance factor: แบบประเมิน CAT ที่เลือกปัจจัยเดี่ยวเป็นเกณฑ์การประเมิน (มีรอย โรคขาวขุ่นหรือมีความผิดปกติของผิวเคลือบฟัน) แบบประเมิน CAMBRA แบบประเมิน THAI แบบประเมิน PSU-CRA และแบบประเมิน PSU-adjusted มีค่าเท่ากับ 92.8 138.1 106.1129.2.127.2 และ 116.9 ตามลําดับ เมื่อใช้ประสบการณ์ฟันผุเป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยง พบว่า เด็กที่ มีรอยโรคขาวขุ่น (OR=5.37) มีแนวโน้มที่จะมีฟันผุเพิ่มที่ระยะเวลาติดตามสูงกว่าเด็กที่มีฟันหน้าผุ (OR=4.27) หรือ เด็กที่มีฟันผุเป็นรูชัดเจน (OR=1.34) สําหรับการใช้สภาวะคราบจุลินทรีย์เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยง พบว่า การมีคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน (OR=3.11) และการมีคราบจุลินทรีย์ที่ฟันหน้า (OR=2.72) มี ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับการเกิดฟันผุเพิ่มที่ระยะเวลา 6 เดือน แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับคราบจุลินทรีย์บนฟันหลัง บทสรุป แบบประเมิน CAT เมื่อใช้ปัจจัยเดี่ยวเป็นเกณฑ์การประเมิน (ปัจจัยการมี รอยโรคขาวขุ่นหรือมีความผิดปกติของผิวเคลือบฟัน) แบบประเมิน THAI แบบประเมิน PSU-CRA แบบประเมิน PSU-adjusted มีอํานาจการทํานายอยู่ในระดับยอมรับได้ในการใช้ประเมินระดับความ เสี่ยงการเกิดฟันผุในเด็กไทยอายุไม่เกิน 3 ปี เด็กที่มีระดับความเสี่ยงสูงที่ระยะเวลาเริ่มต้นมี ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับการมีฟันผุเพิ่มเมื่อติดตามระยะเวลา 6 เดือนen_US
Appears in Collections:660 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435440.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons