Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19547
Title: การประยุกต์ใช้ยางธรรมชาติกราฟต์พอลิ 2-ไฮดรอกซีเอทิลอะคริเลทต่อการกระจายตัวของซิลิกาในยางธรรมชาติคอมพอสิท
Other Titles: Applcation of Natural Rubber Grafted Poly (2-hydroxyethyl acrylate) on Silica Distribution in Natural Rubber Composites
Authors: วรรณรัตน์ เชื่องชยะพันธุ์
วริศรา บรภาค
Faculty of Science and Industrial Technology
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
Keywords: ยาง
Issue Date: 2019
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The grafting of poly (2-hydroxyethyl acrylate) on to natural rubber (NR-g- PHEA) was done by emulsion copolymerization method. The influences of reaction temperature, reaction time, initiator concentration and monomer concentration on percent grafting, monomer conversion and grafting efficiency were investigated. The structures of copolymers were characterized by nuclear magnetic resonance ('H-NMR and C-NMR) Fourier transforms infrared spectrometry (FTIR) and Transmission electron microscope (TEM). Thermal properties were examined by thermalgravimetric analysis (TGA). The NR/silica compounds were prepared with various grafting percentages of NR-g-PHEA (0, 6.5, 10.5 and 14.5%) and fixed amounts of 3 phr NR-g- PHEA and 20 phr silica. The cure characteristics were examined using a moving die rheometer (MDR). The physico-mechanical properties of NR/silica composites were determined in terms of tensile strength, bound rubber content, and dynamic mechanical analysis (DMA). The results showed that scorch time and cure time tend to decrease with the level of grafting in NR-g-PHEA. The NR-g-PHEA decreased tan, whereas bound rubber content in NR/silica compounds increased, which indicates improved silica dispersion in the NR matrix. The mechanical properties improved with level of grafting in NR-g-PHEA. In addition, the effect of NR-g-PHEA content on properties to NR composites was investigated with various NR-g-PHEA contents from 0 to 12 phr, while the 14.5% grafting level in NR-g-PHEA and 20 phr silica content were held fixed. The results showed that scorch time and cure time decreased, while cure rate index (CRI) increased with NR-g-PHEA content. The highest 100% modulus, 300% modulus, reinforcing index and tensile strength were obtained with 3 phr NR-g- PHEA. When NR-g-PHEA was compared with epoxidized natural rubber with 50 mol% expoxidation (ENR50) was used as compatibilizer at 0 to 12 phr. The ENR50 compatibilizer increased bound rubber content and decreased the Payne effect in the NR/silica composites, due to interactions of silanol groups on silica surfaces with epoxide groups in ENR50. This increased hardness, tensile strength, and 100% and 300% modulus, but slightly decreased elongation at break. NR-g-PHEA enhanced the cure characteristics and mechanical properties than ENR50 was used as compatibilizer and sialne coupling agent.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้ทําการเตรียมกราฟต์พอล 2 ไฮดรอกซีเอทิลอะคริเลทกับยางธรรมชาติ (NR-g-PHEA) ผ่านกระบวนการสังเคราะห์แบบอิมัลชัน โดยทําการศึกษาผลของการทําปฏิกิริยา กราฟต์โคพอลิเมอร์ต่อเปอร์เซ็นต์การกราฟต์ เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของมอนอเมอร์และเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพการกราฟต์ของยางธรรมชาติกราฟต์โคพอลิเมอร์และยืนยันกราฟต์โคพอลิเมอร์ที่ได้ด้วยเทคนิค FTIR H-NMR C-NMR TEM และศึกษาสมบัติทางความร้อนด้วยเทคนิค TGA นํายางธรรมชาติกราฟต์พอลิ 2-ไฮดรอกซีเอทิลอะคริเลทมาใช้เป็นสารเพิ่มความเข้ากันได้ระหว่างยาง กับซิลิกา โดยศึกษาเปอร์เซ็นต์การกราฟต์ คือ 0, 6.5, 10.5 และ 14.5% ใช้ปริมาณ 3 phr และคงที่ ที่ปริมาณซิลิกา 20 phr ศึกษาลักษณะการคงรูป สมบัติเชิงกล ปริมาณบาวนด์รับเบอร์และสมบัติ เชิงกลพลวัต พบว่ายางวัลคาไนซ์ที่ใช้ยางธรรมชาติกราฟต์โคพอลิเมอร์ที่มีเปอร์เซ็นต์การกราฟต์ 14.5% จะให้ระยะเวลาสกอร์ช (t) และระยะเวลาคงรูป (C90) ลดลง ให้สมบัติเชิงกลดีขึ้น ปริมาณ บาวนด์รับเบอร์สูงขึ้น ค่าแทนเดลต้า (tan) ลดลง เมื่อระดับเปอร์เซ็นต์การกราฟต์ของยางธรรมชาติ กราฟต์โคพอลิเมอร์เพิ่มขึ้น บ่งบอกถึงการกระจายตัวของซิลิกาในเมทริกซ์ยางดีขึ้น นอกจากนี้ การศึกษาอิทธิพลของปริมาณยางธรรมชาติกราฟต์โคพอลิเมอร์ที่ปริมาณ 0 ถึง 12 phr ที่มีเปอร์เซ็นต์ การกราฟต์และปริมาณซิลิกาคงที่ที่ 14.5% และ 20 phr ตามลําดับ พบว่าระยะเวลาสกอร์ชและ ระยะเวลาคงรูปลดลง แต่ค่าดัชนีการคงรูป (CRI) ลดลง เมื่อปริมาณยางกราฟต์โคพอลิเมอร์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปริมาณยางกราฟต์โคพอลิเมอร์ที่ 3 phr ให้ค่ามอดุลัสที่ 100% มอดูลัสที่ 300% ค่าดัชนี การเสริมแรงและค่าความต้านทานต่อแรงดึงสูงที่สุด เปรียบเทียบการนํายางธรรมชาติอิพอกไซด์ (ENR) เป็นสารเพิ่มความเข้ากันได้ระหว่างยางกับซิลิกา ที่ปริมาณ 0 ถึง 12 phr พบว่าการใช้ยาง ธรรมชาติอิพอกไซด์ที่มีปริมาณหมู่อีพอกซี่ 50% จะให้ระยะเวลาสกอร์ชและระยะเวลาคงรูปลดลง แต่ค่าดัชนีการคงรูปเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณยางธรรมชาติอิพอกไซด์เพิ่มขึ้น โดยค่าความต้านทานต่อแรง ดึง มอดูลัสที่ 100% และมอดุลัสที่ 300% เพิ่มขึ้น แต่ค่าระยะยืด ณ จุดขาดลดลงเล็กน้อย ในทาง กลับกันปริมาณบาวนด์รับเบอร์เพิ่มขึ้นและค่าเพย์นเอฟเฟค (Payne effect) ลดลง เนื่องจากอันตร กริยาของหมู่ไซลานอลบนพื้นผิวซิลิกากับหมู่อีพอกซี่ของยางธรรมชาติอิพอกไซด์ และการเปรียบเทียบผลการใช้ NR-g-PHEA และ ENR50 เป็นสารเพิ่มความเข้ากันได้กับการใช้ไซเลนเป็นสาร คู่ควบต่อสมบัติของยางวัลคาไนซ์ จะเห็นว่ายางวัลคาไนซ์ที่ใช้ NR-3-PHEA จะให้ลักษณะการคงรูป และสมบัติเชิงกลดีกว่ายางวัลคาไนซ์ที่ใช้ยาง ENR50 เป็นสารเพิ่มความเข้ากันได้และใช้ไซเลนเป็นสาร คู่ควบ
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เทคโนโลยียาง), 2562
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19547
Appears in Collections:932 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
436056.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons