Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19513
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกวลิน ธรรมสิทธิ์บูรณ์-
dc.contributor.authorนิภาเพ็ญ แก่นพุฒ-
dc.date.accessioned2024-06-25T07:20:14Z-
dc.date.available2024-06-25T07:20:14Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19513-
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สุขภาพช่องปาก), 2562en_US
dc.description.abstractThe failure of root canal treatment caused by many factors for example, tooth with persistent infection, improper quality of root canal filling material, complication occurred between root canal treatment or improper coronal restoration. Moreover, another factor that affects the failure is microorganisms. Most common microorganisms in case of failed endodontic treatment are Enterococcus faecalis (E. faeculis) and Candida albicans (C. albicans). So during a root canal procedure, the tooth need medicament in order to inhibit growth and eliminate the amount of microbes during treatment. Calcium hydroxide Ca(OH), is the most common medicament has been used in endodontics because of wide range of antimicrobial activity but from previous study found that Ca(OH), less effective against E. fucculis and C. albicans. Thus, chlohexidine has started to be used as an intracanal medicament due to board spectrum antimicrobial effect, substantivity to dentin and low toxicity but chlohexidine has limitation in use because it can interact with sodium hypochlorite that is the most commonly used as irrigant in root canal treatment and will result in the formation of para chloroaniline (PCA) sediment. Nowadays silver has been used in both medicine and dentistry because of its broad spectrum of antimicrobial properties and low toxicity. From these properties of silver so we want to develop as a medicament in root canal to reduce the limitations of the use of chlohexidine. To use silver as an intracanal medicament is required the vehicle. Therefore this study consider using macrogol or polyethelene glycol mixed with propylene glycol (MP) and poloxamer 407 (P407) because the desired properties for vehicle of intracanal medicament. The objective of this study is to compare antimicrobial activity and substantivity of silver compounds in P407 and in macrogolmixed with propylene glycol as an intracanal medicament. This study examine antimicrobial activity of E. faecalis and C. albicans in planktonic condition among silver complex, silver oxide (Ag2O) and silver nitrate (AgNO3) in P407 and in macrogol mixed with propylene glycol compared with 2% chlohexidine gel (Consepsis" V) with agar well diffusion method and select silver compound that the most antimicrobial activity effect when mixed with vehicles for the further study in antimicrobial activity and substantivity in tooth model. Result from agar well diffusion method found that AgNO, is the most antimicrobial activity effect in both E. faecalis and C. albicans in planktonic condition follow by Ag2O and Ag-complex respectively. The result antimicrobial activity in tooth model found MP+AgNO, is the most antimicrobial activity effect same as Consepsis V in C. albicans but in E. faeculis the antimicrobial activity effect less than Consepsis" V. The result of antimicrobial substantivityfound that AgNO, in P407 and in macrogol mixed with propylene glycol dose not have substantivity effect in 2 days after study From antimicrobial activity result suggest that AgNO,in MP can be used as an intracanal medicament in root canal.en_US
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาภายในประเทศ โรงพยาบาลหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่นen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectการรักษาคลองรากฟันen_US
dc.titleการเปรียบเทียบความสามารถในการต้านเชื้อและการคงฤทธิ์ของสารประกอบซิลเวอร์ในโพลอกซาเมอร์ 407 เจล และในมาโครกอลผสมโพรพิลีนไกลคอลสำหรับใช้ในคลองรากฟันen_US
dc.title.alternativeComparison of antimicrobial activity and substantivity of silver compounds in poloxamer 407 gel and in macrogol mixed with propylene glycol as an intracanal medicamenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Dentistry-
dc.contributor.departmentคณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.description.abstract-thความล้มเหลวในการรักษาคลองรากฟันเกิดจากหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่พบว่าทํา ให้ความสําเร็จของการรักษาลดลงได้แก่ ฟันที่มีการติดเชื้อยืดเยื้อคุณภาพของวัสดุอุดคลองรากฟัน ไม่เหมาะสม การมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการรักษา และสภาพของการอุดที่ส่วนตัวฟันไม่ดี นอกจากนั้นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้มเหลวคือเชื้อ โดยเชื้อที่พบมากในกรณีของฟันที่ผ่าน การรักษาคลองรากฟันมาแล้วล้มเหลวคือ เอ็นเทอโรคอคคัสฟีคาลิส (Enterococcus facculis, E. faecalis) และเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans, C. albicans) ดังนั้นในขั้นตอนของ การรักษาคลองรากฟันจึงต้องมีการใส่สารในคลองรากฟันเพื่อช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตและลดการ เพิ่มจํานวนของเชื้อระหว่างการรักษาโดยสารที่นิยมใช้ใส่ในคลองรากฟันคือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (calciumhydroxide) เนื่องจากมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลชีพได้หลายชนิด แต่จากการศึกษาพบว่า แคลเซียมไฮดรอกไซด์ไม่สามารถกําจัดเชื้อ E. faecalis และ C. albicans ได้ดังนั้นจึงได้มีการนําสาร คลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine, CHIX) มาใช้เป็นสารใส่ในคลองรากฟันเนื่องจากมีฤทธิ์ต้านเชื้อจุล ชีพแบบกว้าง สามารถคงฤทธิ์ต้านเชื้ออยู่ได้นานภายหลังล้างสารออกไป อีกทั้งมีความเป็นพิษน้อย แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อจํากัดในการใช้งานเนื่องจากไม่สามารถใช้ร่วมกับโซเดียมไฮโปคลอไรด์ (NaOCI) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการล้างคลองรากฟันได้ ปัจจุบันซิลเวอร์ (Silver, Ag) ถูกพัฒนามาใช้ในงานวิทยาศาสตร์หลายๆด้าน ทั้ง ทางด้านการแพทย์และด้านทันตกรรม เนื่องจากซิลเวอร์มีความเป็นพิษน้อย มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้ แบบกว้าง โดยสามารถฆ่าได้ทั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ดังนั้นจึงต้องการพัฒนาซิลเวอร์ที่มี คุณสมบัติดังกล่าวมาเป็นสารใส่ในคลองรากฟันเพื่อลดข้อจํากัดของการใช้คลอ เฮ็กซิดีน แต่การที่ จะนําซิลเวอร์มาใช้งานในคลองรากฟันดังกล่าวจําเป็นต้องอาศัยตัวนําส่งสารซึ่งพบว่าตัวนําส่งสาร MP (polyethylene glycol or macrogol + propylene glycol) และ P407 (poloxamer 407) มีคุณสมบัติ ตามที่ต้องการสําหรับนําสารใส่ในคลองรากฟัน ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ความสามารถในการต้านเชื้อของสารประกอบซิลเวอร์ชนิดต่างๆ ได้แก่ซิลเวอร์คอมเพล็กซ์ (silver complex), ซิลเวอร์ออกไซด์ (silver oxide, Ag,O) และซิลเวอร์ไนเตรต (silver nitrate, AgNo) ซึ่ง ผสมกับตัวนําส่งสารสองชนิดคือ โพลอกซาเมอร์ 407 และมาโครกอลผสมโพรพิลีนไกลคอลต่อ เชื้อ E. faecalis และเชื้อ C. albicans ในสภาวะเจริญอยู่แบบเดี่ยว (planktonic) เปรียบเทียบกับ 2% คลอร์เฮกซิดีนเจล (ยี่ห้อConsepsis ) ด้วยวิธี Agar well diffusion method จากนั้นจึงเลือกสารประกอบซิลเวอร์ที่ผสมกับตัวนําส่งสารแล้วให้ผลในการต้าน เชื้อจุลชีพได้ดีที่สุดมาทําการศึกษาต่อ โดยทําการศึกษาประสิทธิภาพในการต้านเชื้อและ ประสิทธิภาพในการคงฤทธิ์ของสารต่อเชื้อ E. faecalis และเชื้อ C. albicans เมื่อใช้เป็นสารใส่ใน คลองรากฟันในแบบจําลองฟันมนุษย์ ผลการศึกษา agar well diffusion method พบว่าสารประกอบ AgNo, เมื่อผสมตัวนําส่งสารมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อทั้ง E. faecalis และ C. albicans ใน สภาวะเจริญอยู่แบบเดี่ยวได้ดีที่สุด รองลงมาคือ Ago และsilver complex ตามลําดับ โดยสังเกตได้ จากโซนยับยั้งของสารที่มากกว่ากลุ่มอื่น ผลการทดสอบประสิทธิภาพการด้านเชื้อในแบบจําลอง ฟันที่เชื้ออยู่ในสภาวะแผ่นชีวภาพ (biofilm) พบว่ากลุ่มทดสอบ MP-AgNO, มีประสิทธิภาพในการ ต้านเชื้อ E. faecalis ได้ดีกว่ากลุ่มทดสอบ P407+AgNO, MP, P407 และ control ตามลําดับ แต่ยัง ด้อยกว่า Consepsis V ส่วนประสิทธิภาพในการต้านเชื้อ C. albicans พบว่ากลุ่มทดสอบ MP+AgNO, มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อได้ดีเทียบเท่า Consepsis และสามารถต้านเชื้อได้ ดีกว่า P407+AgNO,, MP, P407 และ control ตามลําดับ ส่วนการศึกษาการคงฤทธิ์ของสาร พบว่า สารประกอบ AgNO, ผสมกับตัวนําส่งสารที่ใช้ในการศึกษานี้ไม่พบการคงฤทธิ์ของสารตั้งแต่วันที่ สองของการศึกษา ดังนั้นผลจากการศึกษาคุณสมบัติในการต้านเชื้อจุลชีพในแบบจําลองฟันมนุษย์ แสดงให้เห็นว่าสารประกอบ AgNO, ผสมกับตัวนําส่งสาร MP สามารถนํามาพิจารณาใช้เป็น ทางเลือกในการกําจัดเชื้อในคลองรากฟันมนุษย์ได้แต่ต้องทําการศึกษาในสภาวะเลียนแบบในช่อง ปากก่อนการนํามาใช้จริงในทางคลินิกen_US
Appears in Collections:650 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435560.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons