Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19461
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorSawitri Assanangkornchai-
dc.contributor.authorAthip Tanaree-
dc.date.accessioned2024-06-07T06:37:25Z-
dc.date.available2024-06-07T06:37:25Z-
dc.date.issued2019-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19461-
dc.descriptionDoctor of Philosophy ( Epidemiology (International Program)), 2019en_US
dc.description.abstractObjective: To estimate the impacts and social value relative to the cost of the Integrated Management of Alcohol Intervention Program in the Health Care System (i-MAP), which provides screening and interventions based on drinking risk level, using a Social Return on Investment (SROI) analysis. Methods: A mixed-method study was conducted at four i-MAP piloted districts (Singhanakhon, Satingphra, Bangklam and Rattaphum) in Songkhla province of Thailand. Data was collected between January and April 2019. The qualitative portion (part 1) of the study involved identification and in-depth interviews with stakeholders who were direct beneficiaries of the i-MAP to identify relevant outcomes from the programme to construct a follow-up questionnaire. The quantitative portion (part 2) of the study was conducted among a sample of current drinkers aged 15 years or older and their families at community hospitals in the piloted district. An activity-based costing analysis was conducted at baseline and a follow-up survey was performed 6 months after completion of the programme. The selected outcomes, both tangible and intangible, were monetized using appropriate financial proxies, projected to 5 years and deducted by counterfactuals and discount rate. Social benefit to cost (SROI) ratiosamong treatment subgroups were calculated under basic and alternative scenarios (one year timeframe, different discount rates, proportions of achieved outcomes and counterfactual values) using one-way and probabilistic sensitivity analyses. Results: In qualitative portion of the study, identified direct beneficiaries of the i-MAP included drinkers, families, healthcare providers, local communities and third parties in the wider society such as legal authorities and labour markets. In-depth interviews with representative groups of each stakeholder could identify the tangible and intangible outcomes of the i-MAP, including outcomes to the drinkers ("improved self-esteem", "better decision-making ability", "better emotional control" "receive more support from family" and "increased interaction with community"), outcomes to the families ("less argument within family", "reduced stress" and "reduced burden”), an outcome to the local community ("empathic attitude towards the drinkers”), outcomes to the healthcare providers (avoided service utilization from alcohol-related diseases and injuries), and outcomes to the wider society (avoided alcohol-related crimes and accidents, and productivity gain). The quantitative portion of the study was conducted among 113 screened drinkers (29 low-risk, 43 high-risk, and 41 dependent drinkers) who consecutively received i-MAP at the hospitals. The average i-MAP cost (in 2017 Thai baht, where US$1.00 = 33.1 baht) per individual with low-risk drinking, high-risk drinking, dependent drinking without detoxification, and dependent drinking with detoxification were 547 baht 2,961 baht, 3,804 baht and 9,681 baht, respectively. The annual cost of implementation calculated from the expected number of drinkers was estimated to be 25.5 million baht per hospital, of which 41% and 26% pertained to staff labor cost and patient opportunity cost, respectively. Patient factors associated with higher individual i-MAP cost were more episodes of lifetime history alcohol treatment, and alcohol-related functional disturbance more than 20 days out of the previous 365 days. After six months, 42% and 46% of high-risk and dependent drinkers, respectively, reduced their drinking to low risk or abstinence levels. Approximately 20-30% of high-risk drinkers experienced improvement in selected psychosocial outcomes, with "increased interaction with community" as the least common achieved outcome by this group (17%). On the other hand, approximately 20-30% of high-risk drinkers experienced improvement in selected psychosocial outcomes, except for "increased interaction with community” and “improved self-esteem" which were achieved by only 3% and 8% of dependent drinkers, respectively. Among families of both drinking groups, "reduced stress" was the most common outcome experienced, while "reduced burden" was the least common one. The social value created by the programme at 5 years, after deduction by counterfactuals and discount rate, was estimated at 51 million baht, most of which was attributed to broader gains to society, such as productivity gains and averted crime costs, and drinkers. Under basic assumptions, the SROI ratio was estimated at 2:1, which indicates that the i-MAP was expected to generate social value at 2 baht for every baht invested. The SROI ratios under various alternatives ranged between 1.3 and 2.4 baht per every baht invested. Subgroup analyses suggested that the SROI ratio for high-risk drinkers was twice that for dependent drinkers (2.8 vs. 1.5). The probabilistic sensitivity analysis showed that more than 99% of the simulated treatments for both high-risk and dependent groups yielded benefits beyond the corresponding costs. Conclusion: By considering a societal perspective, the i-MAP demonstrated a social value of twice its investment cost. There is therefore potential for the programme to be implemented nationwide investment. Keywords: alcohol use disorder, primary care service, social return onen_US
dc.description.sponsorshipFull scholarship from Centre for Alcohol Studies, Thai Health Promotion Foundation (from 2016 to 2019), Full scholarship (Graduate scholarship) from Faculty of Medicine, Prince of Songkla University to attend short course training at the Sheffield Alcohol Research Group (SARG), School of Health and Related Research (ScHARR), The University of Sheffield, Sheffield, United Kingdom, (from October 1 to December 31 2018).en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherPrince of Songkla Universityen_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectAlcoholism Patients Thailand Songkhlaen_US
dc.subjectAlcoholics Care Thailand Songkhlaen_US
dc.titleIntegrated Treatment Programme for Alcohol Related Problems in Community Hospitals, Songkhla Province of Thailand : A Social Return on Investmenten_US
dc.title.alternativeการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมของโปรแกรมดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสงขลาen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Medicine (Epidemiology)-
dc.contributor.departmentคณะแพทยศาสตร์ สาขาวิชาระบาดวิทยา-
dc.description.abstract-thวัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการดําเนินโปรแกรมดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราแบบ บูรณาการตามระดับความเสี่ยงของการดื่มสุรา (i-MAP) ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสงขลา ด้วย วิธีการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้กรอบการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมในอําเภอนําร่องในจังหวัดสงขลาที่ได้มีการดําเนินโครงการ i-MAP ได้แก่ อําเภอสิงหนคร อําเภอสทิง พระ อําเภอรัตภูมิ และอําเภอบางกล่ํา เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน พ.ศ. 2560 แบ่งเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (ส่วนที่หนึ่ง) ได้แก่ การกําหนดขอบเขตและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วน เสียของโครงการ i-MAP ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อร่วมกันกําหนดผลลัพธ์และการสร้างแผนที่ผลลัพธ์ที่ได้รับจากการดําเนินโครงการเพื่อใช้ในสร้างแบบสอบถามในการติดตามกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาเชิงปริมาณ (ส่วนที่สอง) เป็นการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มารับบริการที่ โรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่นําร่อง ประกอบด้วยการเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายรายกิจกรรมในการดําเนินโครงการ และการติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างและญาติที่ระยะเวลา 6 เดือนหลังเข้า ร่วมโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการประเมินมูลค่าของผลลัพธ์ด้วยการเลือกตัวแทนทางการเงินโดยหักลบด้วยสัดส่วนของผลลัพธ์ที่ไม่ได้เกิดจากโครงการโดยตรงและอัตราลดของผลลัพธ์นั้นในปีถัดไป พยากรณ์ไปข้างหน้าในกรอบระยะเวลา 5 ปี และคํานวณสัดส่วนผลตอบแทนทางสังคมทั้งหมดจาก โครงการ i-MAP ต่อต้นทุนที่ใช้ และวิเคราะห์ความอ่อนไหวโดยการเปลี่ยนแปลงค่าของปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อผลการวิเคราะห์ เช่น กรอบเวลาการวิเคราะห์ อัตราคิดลดของค่าเงิน อัตราการเกิดผลลัพธ์ ด้านต่างๆ และสัดส่วนการเป็นเจ้าของผลงานของโครงการเพื่อหาช่วงความเชื่อมั่นของสัดส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน ผลการศึกษา: จากการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่ากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงจากโครงการ i-MAP ประกอบด้วย กลุ่มนักดื่มที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ญาติของนักดื่ม ผู้ ให้บริการสาธารณสุข ชุมชนท้องถิ่น และภาคีที่สาม ได้แก่ องค์กรทางกฎหมาย และตลาดแรงงาน จากการประชุมตัวแทนของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเขตอําเภอนําร่องในจังหวัดสงขลา ผลลัพธ์ที่ได้จากการมีส่วนร่วมในโครงการ i-MAP ของกลุ่มนักดื่ม ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองการพัฒนาทักษะจัดการกับความเครียดและการตัดสินใจที่เหมาะสมพบว่าการได้รับความเอาใจใส่จากครอบครัว และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน ผลลัพธ์ของญาติ ได้แก่ การลดความเครียด การ ลดภาระในการดูแลนักดื่ม แลปฏิสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในครอบครัว ผลลัพธ์ที่เกิดกับชุมชน ได้แก่ การเกิด เจตคติในด้านความเห็นอกเห็นใจต่อนักดื่ม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการสาธารณะสุข ได้แก่ การลด ภาระและการสูญเสียจากโรคและการบาดเจ็บที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับภาคีอื่นๆ ได้แก่ การลดภาระและความสูญเสียจากการก่อคดีทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการเพิ่มผลผลิตจากการเพิ่มแรงงานจากการเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักดื่มที่มารับบริการที่โรงพยาบาลชุมชนนํา ร่องจํานวน 113 คน พบว่าต้นทุนต่อรายที่ใช้ในการบําบัดรักษานักดื่มกลุ่มเสี่ยงต่ํา นักดื่มกลุ่มเสี่ยงสูง นักดื่มแบบติดที่ไม่มีภาวะถอนพิษสุรา และนักดื่มแบบติดที่มีภาวะถอนพิษสุรา ได้แก่ 547 บาท 2,961 บาท 3,804 บาท และ 9,681 บาท ตามลําดับ เมื่อคํานวณต้นทุนรายปีจากการประมาณการ จํานวนนักดื่มที่มารับบริการทั้งปี พบว่าต้นทุนรวมรายปีต่อโรงพยาบาลเท่ากับ 25.5 ล้านบาท แบ่งเป็นต้นทุนแรงงานของผู้ให้บริการสาธารณสุข ร้อยละ 41 และต้นทุนจากการสูญเสียโอกาสใน การทํางานของนักดื่มและญาติ ร้อยละ 26 พบว่าปัจจัยก่อนเข้ารับบริการที่มีผลต่อต้นทุนรายคนของ นักดื่มได้แก่ จํานวนครั้งที่เคยได้รับการรักษาปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการเกิด ความบกพร่องต่อหน้าที่การงานและการใช้ชีวิตทางสังคมที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 20 วันในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เมื่อวัดอัตราการได้รับผลลัพธ์หลังจากที่กลุ่มตัวอย่างได้รับการบําบัดแล้วเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า นักดื่มระดับความเสี่ยงสูงร้อยละ 42 และนักดื่มระดับติดร้อยละ 46 หยุดดื่มสุราหรือดื่ม สุราในระดับความเสี่ยงต่ํา นักดื่มระดับความเสี่ยงสูงประมาณร้อยละ 20-30 มีผลลัพธ์ทางจิตสังคมที่ ดีขึ้นในแต่ละด้าน โดยผลลัพธ์ด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนเกิดน้อยที่สุด (ร้อยละ 17) ในขณะ ที่นักดื่มแบบติดร้อยละ 22-24 เกิดผลลัพธ์ทางจิตสังคมที่ดีขึ้นในแต่ละด้าน ยกเว้นการมีส่วนร่วมใน กิจกรรมชุมชนและความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองที่เกิดขึ้นกับนักดื่มแบบติดเพียงร้อยละ 3 และร้อยละ 8 ตามลําดับ สําหรับผลลัพธ์ของญาติ พบว่าการลดความเครียดเกิดมากที่สุด ในขณะที่การลดภาระใน การดูแลนักดื่มเกิดน้อยที่สุด มูลค่าคาดการณ์ของผลลัพธ์จากดําเนินโครงการ i-MAP ที่ระยะเวลา 5 ปี หลังจาก หักสัดส่วนของผลลัพธ์ที่ไม่ได้เกิดจากโครงการโดยตรงแล้วเท่ากับประมาณ 51 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ เกิดจากการลดภาระจากการก่อคดีความและอุบัติเหตุ และการเพิ่มผลผลิตทางแรงงาน ดังนั้นสัดส่วน ผลตอบแทนทางสังคมต่อต้นทุนของโครงการ i-MAP จึงเท่ากับ 2 บาทต่อการลงทุน 1 บาท ผลการ วิเคราะห์ความอ่อนไหวโดยการเปลี่ยนแปลงค่าของปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อผลการวิเคราะห์ พบว่าอัตราผลตอบแทนทางสังคมอยู่ในช่วง 1.3 บาทถึง 2.4 เมื่อวิเคราะห์จําแนกตามความเสี่ยงของนักดื่ม พบว่าการบําบัดรักษานักดื่มกลุ่มเสี่ยงสูงให้สัดส่วนผลตอบแทนทางสังคมต่อต้นทุนที่มากกว่าการ บําบัดรักษานักดื่มกลุ่มติด (2.8 บาท และ 1.5 บาทต่อการลงทุน 1 บาทตามลําดับ) สรุปผลการศึกษา: การดําเนินโครงการบําบัดสุราในโรงพยาบาลชุมชนให้ผลตอบแทนทางสังคมที่มีมูลค่าสูงกว่าการลงทุนประมาณสองเท่า แสดงถึงความคุ้มค่าในการลงทุน โดยการบําบัดรักษานักดื่ม แบบเสี่ยงให้สัดส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนสูงกว่าการบําบัดรักษานักดื่มที่ติดสุราแล้ว ผลการศึกษาสามารถเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนนโยบายในการจัดสรรทรัพยากรทางสาธารณสุขเพื่อลดปัญหาภาระโรคและการสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุรา คําสําคัญ: ปัญหาการดื่มสุรา, บริการปฐมภูมิ, การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมen_US
Appears in Collections:350 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435334.pdf
  Restricted Access
3.01 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons