Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19450
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัจฉรา เพ็งหนู | - |
dc.contributor.author | นพมาศ มณีนิล | - |
dc.date.accessioned | 2024-06-06T07:14:06Z | - |
dc.date.available | 2024-06-06T07:14:06Z | - |
dc.date.issued | 2023 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19450 | - |
dc.description | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการทรัพยากรดิน), 2566 | en_US |
dc.description.abstract | This research aimed to investigate suitable food sources for the growth of Bacillus subtilis (SM1 and LPDD3-2 strain) to control Rigidoporus microporus (NK6 strain) fungus and promote plant growth. The result showed that rice bran (1 and 3 percent) and broken rice (3 and 5 percent) are the most favorable carbon sources for cultivating and increasing the quantity and quality of B. subtilis strains. The cell count of both strains increased, reaching 12.20 and 12.16 log CFU/ml respectively. The concentration 3 percent of rice bran and broken rice directly correlated with the quantity of B. subtilis strains, with rice bran showing a more favorable response. However, at all concentration of broken rice, R. microporus strain NK6 grew well, but all concentrations of rice bran were added to the medium, the growth of mycelium decreased by 4.3 and 3.6 cm, respectively. It was found that the supernatant and volatile compounds of B. subtilis strains were able to inhibit the growth of R. microporus strain NK6 by more than 80 percent, such as rough mycelium, uneven fiber sizes, distorted growth and distend end of mycelium. Then, some constituents of the extracts from the two strains of B. subtilis strains were examined by TLC and NMR. The extracts showed signs of olefinic proton, aliphatic proton and aromatic proton, suggesting that both strains of B. subtilis were examined able to produce biosurfactants and release them outside the cell. For the study of the properties of Para rubber growth promoters, it was found that B. subtilis was able to synthesize the highest IAA content of 276.857 and 263.659 µg/ml that were cultured with rice bran and broken rice at the concentration of 3 percent. As a result, the growth of Para rubber in height, root length, leaf number, fresh weight and dry weight were not statistically different. However, both strains of Bacillus subtilis antagonistic bacteria were more likely to promote the growth of Para rubber. It may be possible that these antagonistic bacteria strains could enhance plant health, leaf and root development. Therefore, the bio-agent development of B. subtilis antagonistic bacteria for controlling R. microporus by using rice bran in culture medium of B. subtilis and as an ingredient in bio-agent is an approach that should be further studied. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand | * |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ | * |
dc.subject | Bacillus subtilis | en_US |
dc.subject | Rigidoporus microporus | en_US |
dc.subject | รำข้าว | en_US |
dc.subject | ปลายข้าว | en_US |
dc.title | สภาวะที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis เพื่อการควบคุม Rigidoporus microporus เชื้อสาเหตุโรครากขาวของยางพารา | en_US |
dc.title.alternative | Growth Conditions of Antagonistic Bacteria Bacillus subtilis for Controlling White Root Rot (Rigidoporus microporus) in Para Rubber | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Natural Resources (Earth Science) | - |
dc.contributor.department | คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาธรณีศาสตร์ | - |
dc.description.abstract-th | วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาแหล่งอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis เพื่อควบคุมเชื้อรา Rigidoporus microporus สายพันธุ์ NK6 และการส่งเสริมการเจริญเติบโตของยางพารา จากผลการศึกษาแหล่งอาหารที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis สายพันธุ์ SM1 และสายพันธุ์ LPDD3-2 เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพ พบว่าการใช้รำข้าวที่ความเข้มข้น 1 และ 3 เปอร์เซ็นต์ และปลายข้าวที่ความเข้มข้น 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นแหล่งคาร์บอนที่ดีที่สุด ส่งผลให้ปริมาณเซลล์แบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้งสองสายพันธุ์เพิ่มขึ้นเท่ากับ 12.20 และ 12.16 log CFU/ml ตามลำดับ โดยที่ระดับความเข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์ ของรำข้าวและปลายข้าวมีแนวโน้มทำให้ปริมาณแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis ทั้งสองสายพันธุ์สูงกว่าที่ความเข้มข้นต่ำ และการตอบสนองต่อรำข้าวมีแนวโน้มดีกว่าปลายข้าว สำหรับการเพิ่มความเข้มข้นของปลายข้าวทุกระดับความเข้มข้น ทำให้เชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 สามารถเจริญได้ดีไม่แตกต่างทางสถิติ (P<0.05) แต่ขณะที่การเพิ่มรำข้าวทุกระดับความเข้มข้นในอาหาร ทำให้เส้นใยเชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 สามารถเจริญได้ลดลงเท่ากับ 4.3 และ 3.6 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารปฏิปักษ์และสารระเหยจากแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ทั้งสองสายพันธุ์ต่อการยับยั้งเชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 พบว่าสารปฏิปักษ์และสารระเหยของแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ทั้งสองสายพันธุ์ที่เลี้ยงในอาหารเสริมรำข้าวและปลายข้าวทุกระดับความเข้มข้น มีประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 ได้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้เส้นใยเชื้อรา R. microporus สายพันธุ์ NK6 เจริญผิดปกติ บิดเบี้ยว และปลายเส้นใยโป่งพอง และเมื่อตรวจสอบองค์ประกอบบางส่วนของสารสกัดจากแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis ทั้งสองสายพันธุ์ด้วยวิธี TLC และ NMR พบการปรากฏสัญญาณของโปรตอนชนิด olefinic proton, aliphatic proton และ aromatic proton ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis ทั้งสองสายพันธุ์ สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพและปลดปล่อยออกมานอกเซลล์ได้ สำหรับการศึกษาคุณสมบัติการเป็นเชื้อส่งเสริมการเจริญเติบโตของยางพารา พบว่าแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis ทั้งสองสายพันธุ์ สามารถสังเคราะห์ปริมาณ IAA (Indole -3-Acetic Acid) ได้สูงสุดเท่ากับ 276.857 และ 263.659 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อเลี้ยงด้วยรำข้าวและปลายข้าวที่ความเข้มข้น 3 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้การเจริญเติบโตของยางพาราในด้านความสูง ความยาวราก จำนวนใบ น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis ทั้งสองสายพันธุ์มีแนวโน้มส่งเสริมการเจริญเติบโตของยางพาราได้ดีกว่า อาจจะเป็นไปได้ที่แบคทีเรียปฏิปักษ์สายพันธุ์ดังกล่าวสามารถช่วยเสริมสร้างความสมบูรณ์ของต้น ใบ และการพัฒนาของรากได้มากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis เป็นชีวภัณฑ์เพื่อควบคุมเชื้อรา R. microporus โดยใช้รำข้าวเป็นแหล่งอาหารสำหรับเพิ่มปริมาณ B. subtilis และเป็นส่วนผสมในชีวภัณฑ์ จึงเป็นแนวทางที่ควรศึกษาต่อไปเพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมโรครากขาวของยางพาราและยังเป็นการเพิ่มมูลค่าแก่ผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตร | en_US |
Appears in Collections: | 542 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6010620023.pdf | 2.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License