Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19316
Title: ยาหกสิ่ง: สารสำคัญ ความเป็นพิษ และรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาหกสิ่ง
Other Titles: Ya-Hok-Sing: Active ingredients, Toxicity and Case Series of Patients Taking Ya-Hok-Sing
Authors: อรทัย เนียมสุวรรณ
คอรีเยาะ อะแซ
Faculty of Thai Traditional Medicine
คณะการแพทย์แผนไทย
Keywords: ยา 6 สิ่ง;รายงานผู้ป่วย;ความเป็นพิษ;พฤกษเคมี
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The aims of this thesis were to investigate a chemical fingerprinting of Ya-Hok-Sing using LC–QTOF–MS method, to assess the toxicity of Ya-Hok-Sing in monkey kidney cells (vero cells) and mouse fibroblast cells (L929) using MTT assay and to follow up on the treatment results as well as assess the quality of life before and after treatment of Ya-Hok-Sing in five patients using the WHOQOL BREF- THAI assessment tool. The MS‑TIC of Ya-Hok-Sing showed the presence of 36 compounds, including 21 phenolics and 15 organic acids. In vitro toxicity test demonstrated that Ya-Hok-Sing had non-toxic effect on both types of the normal cells at the highest concentration tested of 80 µg/ml. The case series result showed that all 5 patients had similar symptoms: high fever, sore throat, cough, muscle pain, headache, fatigue, and body temperature at 38.42± 0.36 °C. Three out of five patients tested positive for COVID-19. Two out of five patients were diagnosed for influenza by a folk healer. During the first 2 days, each patient takes 90 ml of Ya-Hok-Sing every 3 hours. Day 3 onwards, each patient takes Ya-Hok-Sing 3 times (90 ml each) daily before meals for 1 week. If the patients still have symptoms, the drug can be last on day 14. The results showed that all patients had better clinical outcomes within 3-5 days and recovered from fever and co-morbidities within 7-10 days. Quality of life assessment showed that the patients had better quality of life scores after treatment (106.40 ± 7.90), compared to before treatment (62.00 ± 5.34).
Abstract(Thai): วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤกษเคมีของสารสกัดยา 6 สิ่งด้วยวิธีการ LC–QTOF–MS ศึกษาความเป็นพิษของยา 6 สิ่ง ในเซลล์ไตของลิง (vero cell) และ เซลล์ ไฟโบรบลาสต์ของหนู (L929) ด้วยวิธี MTT assay และศึกษาผู้ป่วยโรคไข้ที่มารับการรักษาด้วยยา 6 สิ่งจำนวน 5 ราย โดยติดตามผลการรักษาพร้อมประเมินคุณภาพชีวิตก่อนและหลังการรักษา โดยใช้เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิต WHOQOL – BREF –THAI การทดสอบสารพฤกษเคมีในสารสกัดยา 6 สิ่ง พบสารประกอบที่น่าสนใจ จำนวน 36 ชนิดเป็นสารในกลุ่มฟีนอลิก จำนวน 21 ชนิดและ กรดอินทรีย์ จำนวน 15 ชนิด จากการศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดด้วยน้ำของยา 6 สิ่ง ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ทั้ง 2 ชนิด ที่ความเข้มข้นสูงสุดในการทดสอบ 80 µg/ml ในขณะที่การศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา 6 สิ่ง พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 5 รายมีอาการแรกรับที่คล้ายกันคือ ไข้สูง เจ็บคอ ไอ ปวดเมื่อย ปวดศีรษะและ อ่อนเพลีย มีอุณหภูมิของร่างกายสูง เฉลี่ยที่ 38.42 ± 0.36 องศาเซลเซียส และเมื่อตรวจเชื้อ Covid - 19 พบผู้ป่วยมีเชื้อ 3 ราย และไม่พบเชื้อ 2 ราย โดยผู้ป่วยที่ไม่พบเชื้อ หมอพื้นบ้านวินิจฉัยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยทั้ง 5 รายได้รับการรักษาด้วยยา 6 สิ่ง โดยใน 2 วันแรกรับประทานครั้งละ 90 มล. ทุก 3 ชั่วโมง วันที่ 3 เป็นต้นไปรับประทาน วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร เช้า เที่ยง เย็น ต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ หากยังมีอาการให้รับประทานต่อเนื่องได้ถึง 2 สัปดาห์ การติดตามผลการรักษา พบว่า ผู้ป่วยทุกรายมีอาการดีขึ้นใน 3-5 วันและหายจากอาการไข้และอาการร่วมต่าง ๆ ใน 7-10 วัน และการประเมินคุณภาพชีวิต พบว่า ผู้ป่วยมีคะแนนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังได้รับการักษาเท่ากับ 62.00 ± 5.34 และ 106.40 ± 7.90 ตามลำดับ
Description: การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต (การแพทย์แผนไทย), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19316
Appears in Collections:190 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6311420001.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons