Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19305
Title: Energy harvesting for remote monitoring of environmental applications / Panu Thainiramit
Other Titles: การเก็บเกี่ยวพลังงานสำหรับระบบเฝ้าระวังระยะไกลเพื่อการประยุกต์ในงานด้านสิ่งแวดล้อม
Authors: Nantakan Muensit
Panu Thainiramit
Faculty of Environmental Management (Environmental Management)
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม
Keywords: Energy storage Equipment and supplies;Electric power consumption
Issue Date: 2019
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: The number of residential buildings in many countries around the world has been growing rapidly. Comfortable furniture and smart peripheral devices have become commonly used in daily life. This dissertation demonstrated a simple wireless standalone system for the case of the receiver attached to the compressor unit of the conventional air conditioner. The research proposed an air-compressor as a source of discrete excitation and employed a conventional buzzer as a transducer. The vibration is harvested as its mechanical energy to electricity by using a beam structure (cantilever beam) glued with the piezoelectric ceramic. The output energy stored in capacitors is consequent as a miniature generator. The transmitted data are then received a wireless receiver from the remote transmitter. Moreover, the potential result for charging the rechargeable battery appears to illustrate that the harvesting structure requires more electricity to consume the enhancement circuit by providing a high magnitude of vibrations following the threshold FoM parameter after saturated power ranges. As a result, the piezoelectric material generates a trickle current for charging the rechargeable battery, capacity 150 mAh, thus being fully charged within 40 hours. These results confirmed that the simple beam could act as a charger for the connected capacitors which were later an energy source to feed the wireless devices even though there is only a standard circuit by controlling the on/off state of a simple switch between the receiver module. In this research, a running air-conditioner generated a charging cycle to capacitors of 3,150 μF within 1 hour. It is truly enough to send and receive the data of ambient temperature around the building. This application is useful as a warning sign for inhabitants.
Abstract(Thai): ที่พักอาศัยมีจํานวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลาย ๆ ประเทศ มาพร้อมกับความ ต้องการความสะดวกสบายด้วยข้าวของเครื่องใช้และเทคโนโลยีที่ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินชีวิตประจําวันอย่างขาดมิได้ งานวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่สามารถทํางานแบบอิสระโดยอาศัยอุปกรณ์รับสัญญาณซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าจากแหล่งกําเนิดไฟฟ้าด้วย หลักการทางไพอิโซอิเล็กทริกชนิดเซรามิกเป็นอุปกรณ์เพื่อเปลี่ยนพลังงานกลเป็นไฟฟ้า ที่ติดตั้งอยู่ บนโครงสร้างอย่างง่ายแบบบีมเพื่อดักจับพลังงานสั่นที่ได้จากคอมเพรสเซอร์ของเครื่องปรับอากาศ ที่ใช้งานกันอยู่ทั่วไปที่ความถี่ทํางานซึ่งออกแบบบีมให้ทํางานได้ใกล้เคียงกับความถี่จาก แหล่งกําเนิด พลังงานไฟฟ้าที่ได้สามารถเก็บสะสมในตัวเก็บประจุโดยปราศจากวงจรควบคุม แรงดันเพื่อเพิ่มความสามารถในการประจุกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ตัวเก็บประจุแต่อย่างใด อีกทั้งพลังงาน ไฟฟ้าที่ได้ยังสามารถนําไปใช้งานกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่ทําหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากตัวส่ง สัญญาณที่ได้รับกระแสไฟฟ้าจากที่สะสมไว้โดยถูกควบคุมการคายกระแสไฟฟ้าด้วยสวิตช์ อิเล็กทรอนิกส์ ผลศึกษาแสดงให้เห็นว่าหากมีขนาดการสั่นเพียงพอที่เป็นค่าเริ่มต้นของค่าคุณภาพหลังจากกําลังไฟฟ้าเข้าสู่ช่วงอิ่มตัว กล่าวคือประจุเริ่มต้นที่สามามาถจ่ายให้วงจรเพียงพอและมีประจุขั้นต่ําเริ่มต้นจากขาออกของวงจรควบคุมแรงดันทําให้สามารถประจุกระแสไฟฟ้าไปยัง แบตเตอรี่ชนิดประจุซ้ําได้ขนาด 150 mAh ให้เต็มความจุได้ภายในเวลา 40 ชั่วโมง ในขณะที่การสั่น ที่ได้จากเครื่องปรับอากาศไม่เพียงพอสําหรับการประจุแบตเตอรี่ เนื่องจากเป็นการสั่นที่มีค่า ความเร่งการสั่นน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับความต้องการของวงจร แม้กระนั้นก็ตามการสั่นน้อย ๆ นี้ สามารถประจุให้ตัวเก็บประจุที่มีขนาด 3,150 uF จนได้รับประจุเต็มภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งความจุ เพียงพอสําหรับอุปกรณ์รับสัญญาณแบบไร้สายที่รับค่าข้อมูล ได้แก่ อุณหภูมิ เป็นต้น ซึ่งเพียงพอ สําหรับข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารเพื่อการประมวลผลและใช้ประโยชน์ต่อไป
Description: Doctor of Philosophy (Environmental Management)
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19305
Appears in Collections:820 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435524.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons