Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19303
Title: Effect of exposure to goats and raw goat products on adverse pregnancy outcomes and perceptions of healthcare providers in Songkhla province, southern Thailand
Other Titles: ผลของการมีประวัติสัมผัสแพะและบริโภคผลิตภัณฑ์ดิบจากแพะในหญิงตั้งครรภ์กับผลลัพธ์อันไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์และความตระหนักของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดสงขลา
Authors: Tippawan Liabsuetrakul
Kan Kledmanee
Faculty of Medicine (Epidemiology)
คณะแพทยศาสตร์ สาขาวิชาระบาดวิทยา
Keywords: Pregnant women Thailand Songkhla;Pregnancy Complications Thailand Songkhla
Issue Date: 2019
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: Background: Miscarriage, stillbirth, preterm birth and low birth weight newborn are the most common adverse pregnancy outcomes reflecting the health of women and fetus in utero. Previous studies suggested that these adverse outcomes multifactorial health problems with associated risk factors commonly derived from both maternal and fetal conditions including infections. In many studies, the risk of animal exposures related to adverse pregnancy outcomes were commonly hypothesized especially in endemic areas of some zoonosis such as brucellosis, coxiellosis, and toxoplasmosis which can be carried by small ruminants including goats. However, those studies did not show clear explanation how animal exposure affects pregnancy outcomes. Moreover, perception of healthcare providers, who play a key role in health promotion and disease prevention, is valuable for quality of care by preventing maternal health problems during pregnancy. Health problems in pregnancy due to zoonosis are generally neglected, particularly, by healthcare providers, as healthcare providers' perspective is important for identifying the exposure risk and prevention of zoonosis. Objectives: This study aimed to i) determine the association of history of exposure to goats and their raw products on adverse pregnancy outcomes, ii) assess the seroprevalence of brucellosis, coxiellosis, and toxoplasmosis among pregnant women, and iii) assess the perceptions of healthcare providers on the risk of exposure to goats and their raw products on adverse pregnancy outcomes and their intention to perform risk screening among pregnant women. Methods: To achieve the objectives of the study, the methodology was divided into two parts, which were a prospective cohort study among pregnant women (Part I) and a cross-sectional study among healthcare providers (Part II). Part I was conducted from July 2015 to July 2016 in four districts of Songkhla province. Women who came for their first antenatal care visit, at health centers or hospitals in Thepha, Chana, Saba Yoi, and Na Thawee districts, were invited to participate in the study. Information including a history of exposure to goat or raw goat products (meat or milk) and blood samples were revealed from included women. Adverse pregnancy outcomes were then followed-up. Blood samples of included women were randomly tested for anti- Brucella abortus IgG, but only samples of pregnant women with adverse pregnancy outcome were tested for anti-Coxiella burnetii IgG and anti-Toxoplasma gondii IgG. The association between exposure status (exposed vs non-exposed) and occurrence of adverse pregnancy outcome was analyzed using multiple logistic regression. Part II was also carried out in the same districts which were anonymized as districts A, B, C and D, during October to November 2016. The perception of healthcare providers toward risk of exposure to goat or raw goat products and intention to do risk screening regarding the Health Belief Model components were evaluated. Results: Of 666 pregnant women included in study Part I, the majority of them (74.4%) were aged 20-34 years and Muslim (89.2%). Two hundred and four women (30.6%) had been exposed to goat or raw goat products and 115 (17.3%) had adverse pregnancy outcomes. Of 465 women with blood test, 17 women (3.7%) had seropositive results for anti-Brucella abortus IgG. The association with any adverse pregnancy outcomes was not shown in the exposed group. Higher odds ratios of adverse pregnancy outcomes were found in women having their first antenatal care visit in their first trimester, with a history of preterm birth and low birth weight newborn (adj.OR (95% CI) 2.0 (1.1-3.7), 2.4 (1.0-5.7), and 2.6 (1.3-4.9), respectively). Of 105 serum samples of pregnant women with adverse pregnancy outcomes, 33 samples (31.4%) were seropositive for anti-Toxoplasma gondii IgG, and 2 samples (1.9%) were seropositive for anti-Coxiella burnetii IgG. None of the women were found to be co-seropositive for antibodies against coxiellosis and toxoplasmosis. For Part II of the study, a total of 46 healthcare providers were included. Intention to perform screening, perceived barriers, self-efficacy and cues to action of healthcare providers among the four districts were not significantly different. While perceived susceptibility, perceived seriousness and perceived benefits were significantly different across the four districts with healthcare providers in two districts (districts B and D) rating these items at high levels compared to the other two districts (districts A and C). Perceptions in all components of Health Belief Model of healthcare providers, except perceived barrier, were highly correlated with intention to perform risk screening. Cues to action was the most significant component (p =0.018) correlated with intention to perform risk screening for pregnant women in the linear regression, while the other factors were not related. Conclusion: Although no association between past exposure to goats and their raw products and adverse pregnancy outcomes was found, women with past exposure showed positive anti-Brucella abortus IgG. One-third of pregnant women with adverse pregnancy outcomes were seropositive for toxoplasmosis and a very low prevalence of women with seropositive for coxiellosis was found. Healthcare providers in the study settings had positive perceptions and intention to perform risk screening for exposure to goat or raw goat products in pregnant women. However, specific education and warning of the dangers of endemic zoonosis were strengthening cues to action needed for them. Effective counseling about appropriate animal handling particularly goats is beneficial to prevent relevant health problems of pregnant women.
Abstract(Thai): ที่มาและความสําคัญของปัญหา การแท้ง ทารกตายคลอด การคลอดก่อนกําหนด และทารกน้ําหนักต่ํากว่าเกณฑ์ เป็นผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อยที่สะท้อนถึงสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์ ผลการศึกษาก่อนหน้านี้แนะนําว่า ผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์เป็นปัญหาสุขภาพที่มีปัจจัย ที่เกี่ยวข้องหลายประการที่มาจากภาวะของมารดาและทารกในครรภ์เอง รวมถึงภาวะติดเชื้อต่าง ๆ การศึกาวิจัยหลายการศึกษาพบว่า การสัมผัสสัตว์และผลิตภัณฑ์ดิบจากสัตว์เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติด โรคสัตว์สู่คน ได้แก่ โรคบรูเซลโลซิส โรคช็อกโซพลาสโมซิส และโรคค็อกซิลลิโอซิส ซึ่งมักการระบาด ในสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก เช่น แพะ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการศึกษาเหล่านี้ยังไม่อธิบายอย่างชัดเจน ว่าผลกระทบจากการสัมผัสสัตว์ที่มีต่อผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์มากน้อยอย่างไร ยิ่งไป กว่านั้นการรับรู้ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีบทบาทสําคัญในด้านการควบคุมและป้องกันโรคที่อาจ เกิดขึ้นกับมารดาขณะตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดจากโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนโดยเฉพาะในหญิง ตั้งครรภ์ยังไม่ทราบกันอย่างแพร่หลาย ดังนั้นการตระหนักและรับรู้ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นสิ่ง สําคัญในการค้นหาประวัติเสี่ยงและป้องกันโรคที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน วัตถุประสงค์ งานวิจัยนี้จัดทําขึ้นเพื่อ (1) หาความสัมพันธ์ระหว่างการมีประวัติสัมผัสแพะและ/ หรือผลิตภัณฑ์ดิบจากแพะกับผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์ (2) หาความชุกทางซีรัมวิทยา ของโรคบรูเซลโลซิส โรคช็อกโซพลาสโมซิส และโรคค็อกซิลลิโอซิส ในหญิงตั้งครรภ์ และ (3) สํารวจ ความตระหนักรับรู้ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีต่อความเสี่ยงต่อการเกิดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของ การตั้งครรภ์จากการมีประวัติสัมผัสแพะ การบริโภคหรือสัมผัสผลิตภัณฑ์ดิบจากแพะ ระเบียบวิธีวิจัย พื้นที่ศึกษาอยู่ในจังหวัดสงขลา ได้แก่ อําเภอเทพา อําเภอจะนะ อําเภอสะบ้าย้อย และอําเภอนาทวี รูปแบบการศึกษาที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ การศึกษาจากเหตุไป หาผลแบบไปข้างหน้า และส่วนที่ 2 คือ การศึกษาแบบตัดขวาง - สําหรับการศึกษาส่วนที่ 1 ศึกษาในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2558 เดือนกรกฎาคม 2559 โดยรวบรวมหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าฝากครรภ์ครั้งแรกที่ สถานพยาบาลในพื้นที่ศึกษา แล้วเก็บข้อมูลการมีประวัติสัมผัสแพะและ/หรือผลิตภัณฑ์ดิบจากแพะ (เนื้อหรือนม) และตัวอย่างซีรัมของหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมงานวิจัย จากนั้นติดตามผลลัพธ์การตั้งครรภ์ ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ตัวอย่างซีรัมของหญิงตั้งครรภ์ถูกสุ่มตรวจหาระดับอิมมูโนโกลบูลินชนิดดี ต่อเชื้อ Brucella abortus และตัวอย่างซีรัมของหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์ขึ้น เท่านั้นที่ถูกตรวจหาระดับอิมมูโนโกลบูลินชนิดดี ต่อเชื้อ Coxiella burnetii และ Toxoplasma gondii การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการมี/ไม่มีประวัติสัมผัสและการเกิดผลลัพธ์ไม่พึง ประสงค์ของการตั้งครรภ์ใช้วิธีวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่ม สําหรับการศึกษาส่วนที่ 2 ศึกษาในกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตั้งแต่เดือนตุลาคม เดือนพฤศจิกายน 2559 ผู้วิจัยสํารวจความตระหนักรับรู้ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีต่อความเสี่ยงต่อ การเกิดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์จากการสัมผัสแพะหรือผลิตภัณฑ์ดิบจากแพะ และการ ตัดสินใจคัดกรองประวัติเสี่ยงดังกล่าว การนําเสนอผลใช้วิธีการไม่ระบุชื่ออําเภอ โดยแทนชื่ออําเภอ เป็น A, B, C และ D ผลวิจัย ตลอดโครงการมีหญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมทั้งหมด 666 คน ส่วนใหญ่อายุ 20-34 ปี (ร้อย ละ 74.4) และนับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 89.2) หญิงตั้งครรภ์จํานวน 204 คน (ร้อยละ 30.6) รายงานว่าเคยมีประวัติสัมผัสแพะและ/หรือผลิตภัณฑ์ดิบจากแพะมาก่อน และเมื่อสิ้นสุดการตั้งครรภ์ พบว่าเกิดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์จํานวน 115 ราย (ร้อยละ 17.3) ผลการวิเคราะห์ ถดถอยโลจิสติกพหุกลุ่มไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของการมีประวัติสัมผัสแพะและ/หรือ ผลิตภัณฑ์ดิบจากแพะมาและการเกิดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ดี การเกิด ผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์สัมพันธ์กับการฝากครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก (adjusted odds ratio 2.0 มีช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เท่ากับ 1.1-3.7) การมีประวัติทารกคลอดก่อนกําหนด (adjusted odds ratio 2.4 มีช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เท่ากับ 1.0-5.7) และการมีประวัติทารก น้ําหนักต่ํากว่าเกณฑ์ในครรภ์ก่อนหน้า (adjusted odds ratio 2.6 มีช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เท่ากับ 1.3-4.9) จากการสุ่มตรวจตัวอย่างซีรัมของหญิงตั้งครรภ์จํานวน 465 ตัวอย่าง พบว่า ความชุก ของผลบวกทางซีรัมวิทยาของโรคบรูเซลโลซิสคิดเป็นร้อยละ 3.7 ในขณะที่ผลการตรวจตัวอย่างซีรัม ของหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์จํานวน 105 ตัวอย่างพบว่า มีความชุก ของผลบวกทางซีรัมวิทยาของโรคช็อกโซพลาสโมซิสร้อยละ 31.4 และโรคค็อกซิลลิโอซิสร้อยละ 1.9 ทั้งนี้ไม่พบผลบวกร่วมกันระหว่างสามโรคนี้ สําหรับการศึกษาส่วนที่ 2 นั้น มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าร่วมโครงการจํานวน 46 คน ผลการสํารวจความตระหนักรับรู้ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบว่าระดับคะแนนของด้านการ ตัดสินใจคัดกรองประวัติเสี่ยง การรับรู้อุปสรรคของของการคัดกรอง การรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการให้คําแนะนําแก่หญิงตั้งครรภ์ และสิ่งชักนําสู่การปฏิบัติให้คําแนะนําแก่หญิงตั้งครรภ์ นั้นไม่ แตกต่างกันระหว่างสี่อําเภอ แต่ระดับคะแนนด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงและการรับรู้ความรุนแรงของปัญหาผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์อันเกิดจากการสัมผัสแพะและผลิตภัณฑ์ดิบจากแพะ และการรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับจากการคัดกรองประวัติเสี่ยง นั้นแตกต่างกันระหว่างอําเภอ โดย ระดับคะแนนในด้านเหล่านี้ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในอําเภอ B และ D สูงกว่าอําเภอ A และ C นอกจากนี้พบว่า ระดับคะแนนความตระหนักรับรู้ทุกด้านยกเว้นการรับรู้อุปสรรคของของการคัดกรองสัมพันธ์กับระดับคะแนนการตัดสินใจคัดกรองประวัติเสี่ยงเป็นอย่างมาก โดยสิ่งชักนําสู่การ ปฏิบัติเป็นปัจจัยเดียวที่มีผลต่อการตัดสินใจคัดกรองประวัติเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์อย่างมีนัยสําคัญ สรุปผลการวิจัย ถึงแม้ว่าการศึกษานี้ไม่สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดผลลัพธ์ไม่พึง ประสงค์ของการตั้งครรภ์กับประวัติสัมผัสแพะหรือผลิตภัณฑ์ดิบจากแพะ แต่พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่เคย มีประวัติสัมผัสดังกล่าวมาก่อนมีผลบวกทางซีรัมวิทยาต่อโรคบรูเซลโลซิสสูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีประวัติ สัมผัสอย่างมีนัยสําคัญ หนึ่งในสามของหญิงตั้งครรภ์มีความชุกของผลบวกทางซีรัมวิทยาต่อโรคช็อก โซพลาสโมซิส ในขณะที่หญิงตั้งครรภ์มีความชุกของผลบวกทางซีรัมวิทยาต่อโรคค็อกซิลลิโอซิสใน ระดับต่ํามาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ศึกษามีความตระหนักรับรู้และความตั้งใจที่จะคัดกรอง ประวัติเสี่ยง คือ การสัมผัสแพะและ/หรือผลิตภัณฑ์ดิบจากแพะ ในหญิงตั้งครรภ์ การเสริมสร้างความ ตระหนักรับรู้ในกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้วยการอบรมเพิ่มเติมและการแจ้งข่าวเตือนภัยเกี่ยวกับโรค สัตว์สู่คนที่ระบาดในพื้นที่ มีส่วนในการตัดสินใจคัดกรองประวัติเสี่ยงต่อโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
Description: Doctor of Philosophy (Epidemiology (International Program)), 2019
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19303
Appears in Collections:350 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435526.pdf
  Restricted Access
10.45 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons