Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19291
Title: ปัญหาและข้อจำกัดของพืชตัดแต่งพันธุกรรมในประเทศไทย
Other Titles: รายงานการวิจัย ปัญหาและข้อจำกัดของพืชตัดแต่งพันธุกรรมในประเทศไทย
Problems and limitations of Gmos crop in Thailand
Authors: เทพชัย เทพช่วยสุข
Faculty of Economics (Economics)
คณะเศรษฐศาสตร์
Keywords: การตัดแต่งพันธุกรรม ไทย;การปรับปรุงพันธุ์ ไทย;ความปลอดภัยทางชีวภาพ
Issue Date: 2544
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The aims of this study were to investigate the problems and limitations of GMOs crop in Thailand. This study concealed that the major problem of GMOs crop in Thailand was the consumers' and agriculturists' protection mechanism. The other problems were the biological safety of GMOs and international trade agreements. While the legitimate GMOs-regulatory organizations and genetic modification techniques were the minor problems and limilations. These conclusions were induced from the public hearing "Attitude of Thailand to GMOs" offered by The Department of Agricultural cooperation with Suekaset Company Limited on 27 September 1999 at Miracle Grand Hotel, Bangkok. Hence, an urgent corrective tendency of GMOs problems and limitations in Thailand was the establishment of protection mechanisms for consumers and agriculturists. Moreover, according to an evaluation of GMOs exports and any GMOs crop circumstances which occured in Thailand or in any foreign countries attributed to the further investigation of GMOs crop. Even though the GMOs crop in Thailand plight had been still obscure, this research contributed to the national solutions of GMOs so as to reinforce the utmost benefits to our country and our population.
Abstract(Thai): การวิจัยเรื่องปัญหาและข้อจํากัดของพืชตัดแต่งพันธุกรรมในประเทศไทย เป็นการวิจัย ศึกษาปัญหาและข้อจํากัดพืชตัดแต่งสารพันธุกรรม หรือรู้จักกันในชื่อเรียกทั่วไปว่า GMOs (Genetically Modified Organisms) เพื่อต้องการทราบความเป็นมาและวิวัฒนาการของ พืชตัดแต่ง สารพันธุกรรมซึ่งเป็นข้อถกเถียงที่อยู่ในความรับรู้ และเป็นที่สนใจของสาธารณะชน ทั้งในและต่าง ประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ประเด็นข้อถกเถียงได้ขยายตัว จากการพยายามหาข้อยุติเกี่ยวกับ ความเสี่ยงหรือความปลอดภัยในมุมมองของ นักวิทยาศาสตร์ มาเป็นเรื่องความขัดแย้ง และการกีดกันทางการค้า ซึ่งรวมถึงประเด็นการผูกขาด ทางการตลาด ผูกขาดเทคโนโลยี สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิมนุษยชน ความเหมาะสมเชิงจริยธรรม ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องล่อแหลม และละเอียดอ่อนยิ่ง ผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและข้อจํากัดของพืชตัดแต่งพันธุกรรมในประเทศไทย ยังมี ปัญหาหลักคือเรื่องการคุ้มครอง ผู้บริโภคและเกษตรกร นอกจากนี้ยังมีปัญหารองที่ตามมาคือ เรื่อง ความปลอดภัยทางชีวภาพ เทคโนโลยีการตัดต่อพันธุกรรม การค้าและข้อตกลงระหว่างประเทศ ส่วนปัญหาเรื่ององค์กรและกฎหมายที่กํากับดูแล เป็นปัญหาที่มีระดับความสําคัญน้อยที่สุดใน 5 ประเด็นที่ได้สรุปมาจากการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเรื่อง “ท่าที่ประเทศไทยต่อ กรณี GMOs" ซึ่งจัดโดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับบริษัท สื่อเกษตร จํากัดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542 ณ โรงแรม มิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้สถานการณ์ต่างๆของพืชตัดแต่งสารพันธุกรรม ที่เกิดขึ้นทั้งในและ ต่างประเทศ จะช่วยเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจให้ความสําคัญของปัญหาแต่ละปัญหา และ เป็นแนวทางเพิ่มเติมแก่ผู้ที่ต้องการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสินค้าตัดแต่งสารพันธุกรรมต่อไปในอนาคต อย่างไรก็ตามงานวิจัยชิ้นนี้ แม้ว่ายังยากที่จะหาข้อยุติในการชี้ขาดเรื่องต่าง ๆ ข้างต้น แต่อย่างน้อยข้อมูลหลายอย่างจากงานวิจัยเล่มนี้ ก็น่าจะมีส่วนช่วยให้การถกเถียงเกี่ยวกับ GMOs ใน ปัจจุบัน หันไปสู่ทิศทางที่มีการใช้เหตุผลมากขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์จากสิ่งที่กําลังเปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าในทางใดของอนาคต โดยผลประโยชน์สูงสุดควรตกอยู่แก่ประเทศชาติ และคนหมู่มากในสังคมต่อไป
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19291
Appears in Collections:878 Minor Thesis

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.