Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19279
Title: ปัญหาการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตการศึกษา 2,3 และ 4
Other Titles: รายงานการวิจัยเรื่อง ปัญหาการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตการศึกษา 2,3 และ 4
Problems in organizing experimental science activities at high school level in educational region II III and IV of Thailand
Authors: ผดุงยศ ดวงมาลา
Faculty of Sciecnce and Technology (Science)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาวิทยาศาสตร์
Keywords: วิทยาศาสตร์ การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ไทย;กิจกรรมการเรียนการสอน ไทย;วิทยาศาสตร์ กิจกรรมการเรียนการสอน ไทย
Issue Date: 2532
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The main purpose of this research was to study problems in organizing experimental science activities in Educational Regions II, III and IV. The Study took place under categories namely; preparation before experimentation, the suitability of experimental rooms, material and equipment; availability of water and power supplies, student motivation, and teacher competence. The subject of this research were 422 science teachers at goverment schools in the Educational Region II, III and IV. The research instruments used were questionaires and interviews constructed by the researcher and validated by OC-coefficience. The data were analyzed by using frequency talling, arithmetic means, standard deviation, t-test and analysis of variance. The results of the research were the following: 1. In general, the degree of problems range from low to moderate. 2. There were more problems related to physics experiments than biology and more related to biology than chemistry. 3. Schools in Educational Region II have more problems than those in Educational Region III which have more problems than those in Educational Region IV
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายสําคัญเพื่อศึกษาปัญหาในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้านการเตรียมการทดลอง ความพร้อมของห้องทดลองหรือสถานที่ ทดลอง วัสดุอุปกรณ์การทดลอง สิ่งสาธารณูปโภคเพื่อการทดลอง ความพร้อมของนักเรียนและ ความพร้อมของครู-อาจารย์ ทั้งด้านความรู้และเทคนิคการทดลอง ตัวอย่างของประชากรที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ เป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากเขตการ ศึกษา 23 และ 4 จํานวน 422 คน จําแนกเป็นอาจารย์ผู้สอนฟิสิกส์ 137 คน ผู้สอนเคมี 143 คน และผู้สอนชีววิทยา 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและได้หา ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (C-coefficient) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบนัยสําคัญของความแตกต่าง (ระดับปัญหา) ระหว่างวิชาและ ระหว่างเขตการศึกษา โดยการทดสอบค่า t (t-test) และทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มาก กว่า 2 กลุ่ม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 23 และ 4 ประสบปัญหา ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายด้านต่าง ๆ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ มีปัญหาน้อย ถึงระดับมีปัญหาปานกลาง โดยการทดลองทางฟิสิกส์จะมีปัญหามากกว่าการ ทดลองทางชีววิทยา และการทดลองทางชีววิทยาจะมีปัญหามากกว่าการทดลองทางเคมี นอกจากนี้ยังพบว่าโรงเรียนในเขตการศึกษา 2 มีปัญหาในการทดลองทางวิทยาศาสตร์มาก กว่าโรงเรียนในเขตการศึกษา 3 และโรงเรียนในเขตการศึกษา 3 มีปัญหาในการทดลองทาง วิทยาศาสตร์มากกว่าโรงเรียนในเขตการศึกษา 4 จากการแยกวิเคราะห์เป็นกลุ่มวิชา พบความแตกต่างของระดับปัญหาดังนี้ 1. กลุ่มวิชาฟิสิกส์ วิชา ว 026 (ฟิสิกส์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคการศึกษาที่ 2) มี ปัญหาในการทดลองมากที่สุด และวิชา ว 021 (ฟิสิกส์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการศึกษา ที่ 1) มีปัญหาในการทดลองน้อยที่สุด และการทดลองทางฟิสิกส์ที่มีปัญหามากที่สุด คือ 1.1 การทดลองที่ 16.1 สเปกตรัมของก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซนีออน โดยใช้ เกรตติง ซึ่งมีปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์การทดลอง ความพร้อมของนักเรียน และปัญหาใน การเตรียมการทดลอง มากที่สุดตามลําดับ 1.2 การทดลองที่ 16.2 การชนกันระหว่างอิเล็กตรอนกับอะตอมของก๊าซ ซึ่งมี ปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์การทดลอง การเตรียมการทดลอง และปัญหาด้านความพร้อมของ นักเรียนมากที่สุดตามลําดับ 1.3 การทดลองที่ 16.3 ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริกตอน 1, ตอน 2 ซึ่งมี ปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์การทดลอง การเตรียมการทดลอง และปัญหาความพร้อมของ นักเรียน มากที่สุดตามลําดับ 2. กลุ่มวิชาเคมี วิชา 2 032 (เคมีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2) และ วิชา 2 034 (เคมีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคการศึกษาที่ 2) มีปัญหาในการทดลองมากที่สุด และวิชา 2 036 (เคมีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคการศึกษาที่ 2) มีปัญหาในการทดลองน้อยที่ สุด และการทดลองทางเคมีที่มีปัญหามากที่สุด คือ 2.1 การทดลองที่ 5.4 การเตรียมและศึกษาสมบัติของสารประกอบคลอไรด์ ซึ่งมีปัญหาด้านความพร้อมของนักเรียน ความพร้อมของห้องทดลองหรือสถานที่ทดลอง และ ปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์การทดลองมากที่สุดตามลําดับ 2.2 การทดลองที่ 10.3 การทดสอบไอร์ออน (II) อิออน (Fe) ไอร์ออน (II) อิ ออน (Fe) และไอโอดีน (1) ซึ่งมีปัญหาด้านความพร้อมของนักเรียน ปัญหาในการเตรียม การทดลอง และปัญหาด้านสิ่งสาธารณูปโภคมากที่สุด ตามลําดับ 2.3 การทดลองที่ 12.3 การหาจุดยุติของปฏิกิริยาสะเทิน โดยใช้อินดิเคเตอร์ สําหรับกรด-เบส ซึ่งมีปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์การทดลอง ปัญหาด้านความพร้อมของนักเรียน ปัญหาในการเตรียมการทดลอง และปัญหาด้านสิ่งสาธารณูปโภคมากที่สุดตามลําดับ) 3. กลุ่มวิชาชีววิทยา วิชา 041 (ชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1 กับ วิชา 2 045 (ชีววิทยาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคการศึกษาที่ 1) มีปัญหาในการทดลอง น้อยที่สุด และการทดลองทางชีววิทยาที่มีปัญหามากที่สุด คือ 3.1 การทดลองที่ 12.4 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มของแสงกับ อัตราการสังเคราะห์แสง ซึ่งมีปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์การทดลอง การเตรียมการทดลอง และ ปัญหาเรื่องห้องทดลองหรือสถานที่ทําการทดลอง มากที่สุดตามลําดับ 3.2 การทดลองที่ 17.2 การวัดอัตราการหายใจของสัตว์บางชนิด ซึ่งมีปัญหา ด้านการเตรียมการทดลอง ความพร้อมของห้องทดลองหรือสถานที่ทดลอง และปัญหาด้าน วัสดุอุปกรณ์การทดลอง มากที่สุดตามลําดับ 3.3 การทดลองที่ 19.2 การศึกษารีเจเนอเรชั่นในพลานาเรีย ซึ่งมีปัญหาด้าน การเตรียมการทดลองวัสดุและอุปกรณ์การทดลอง และปัญหาด้านความพร้อมของห้อง ทดลองหรือสถานที่ทดลอง มากที่สุดตามลําดับ
URI: https://link.psu.th/QXK3q
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19279
Appears in Collections:722 Research

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.