Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19269
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุกรี เมฆทันต์-
dc.date.accessioned2024-01-05T04:44:17Z-
dc.date.available2024-01-05T04:44:17Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.urihttps://link.psu.th/zT2Xp-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19269-
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักศึกษาen_US
dc.subjectกิจกรรมของนักศึกษา หาดใหญ่ (สงขลา)en_US
dc.subjectอาสาพัฒนา ไทย (ภาคใต้)en_US
dc.titleการประเมินผลโครงการกิจกรรมนักศึกษาด้านอาสาพัฒนาปีงบประมาณ 2539 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่en_US
dc.title.alternativeรายงานผลการวิจัย การประเมินผลโครงการกิจกรรมนักศึกษาด้านอาสาพัฒนาปีงบประมาณ 2539 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.contributor.departmentOffice of President-
dc.contributor.departmentสำนักงานอธิการบดี-
dc.description.abstract-thการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาระดับปัญหาและการบรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดกิจกรรมนักศึกษาด้านอาสาพัฒนา ศึกษาขั้นตอนในการดําเนินงาน ตลอดจนประมวล ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมนักศึกษาด้านอาสาพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ อาจารย์ที่ปรึกษา โครงการ นักศึกษาผู้ปฏิบัติโครงการ เจ้าหน้าที่ ผู้นําชุมชน และประชาชนในท้องถิ่นที่ปฏิบัติโครงการ การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามประเมินผลการดําเนินโครงการจากผู้บริหารและ อาจารย์ที่ปรึกษา จํานวน 18 คน นักศึกษาซึ่งเป็นกรรมการโครงการและนักศึกษาผู้ร่วมโครงการ จํานวน 178 คน แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากประชาชน เจ้าหน้าที่และผู้นําท้องถิ่น จํานวน 90 คน และแบบสอบถามนักศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการเกี่ยวกับขั้นตอนการดําเนินงานทุกโครงการ จํานวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาผู้ปฏิบัติงาน มีความคิดเห็นต่อการบรรลุ วัตถุประสงค์โครงการโดยรวมทุกข้อและทุกโครงการ อยู่ในระดับสูง และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อใน แต่ละโครงการ ปรากฏว่าข้อ 5 และข้อ 6 ของโครงการค่ายน้องใหม่ ชมรมอาสาพัฒนา บรรลุวัตถุ ประสงค์อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนข้อที่เหลืออยู่ในระดับสูง 2. ผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาผู้ปฏิบัติงาน มีความคิดเห็นต่อปัญหา และอุปสรรคในการดําเนินงานด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านสถานที่และอุปกรณ์ และด้านการ จัดการ โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฏว่าด้านสถานที่ และอุปกรณ์ ผู้บริหารและอาจารย์ที่ปรึกษา มีปัญหาอยู่ในระดับต่ํา ส่วนด้านอื่น ๆ ทั้งผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาผู้ปฏิบัติงาน มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง 3. ผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาผู้ปฏิบัติงาน มีความคิดเห็นต่อปัญหา และอุปสรรคในการดําเนินงานโครงการค่ายภาคฤดูร้อน ชมรมอาสาพัฒนา อยู่ในระดับต่ํา ส่วน โครงการค่ายมุสลิม โครงการค่ายร่วมวิชาการและอาสาพัฒนาทรัพย์ พยาบาล โครงการค่ายน้องใหม่ ชมรมอาสาพัฒนาและโครงการค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อชนบน ครั้งที่ 16 มีปัญหาและอุปสรรคอยู่ ในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นต่อ 4. ประชาชนและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในเขตพื้นที่ปฏิบัติงาน นักศึกษาและผลการปฏิบัติงานโครงการกิจกรรมนักศึกษาด้านอาสาพัฒนาในทางบวกทุกข้อได้แก่ การจัดกิจกรรมสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่เห็นความ สําคัญของการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองนักศึกษามีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่และประชาชน นัก ศึกษาเข้าใจประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นเป็นอย่างดีและหากนักศึกษาจะเข้าไปจัดกิจกรรมอีกครั้ง ต้องการให้ช่วยเหลือด้านการศึกษามากที่สุด และรองลงมา ได้แก่ ด้านสาธารณูปโภค ด้านการเกษตร ด้านคมนาคม และด้านสาธารณสุข ตามลําดับ 5. ขั้นตอนการดําเนินโครงการด้านอาสาพัฒนาของนักศึกษามีดังนี้ (1) การได้มาซึ่ง ข้อมูลพื้นที่โครงการขั้นต้น (2) การกําหนดเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ (3) ดําเนินการสํารวจ พื้นที่ชั้นละเอียด (4) เขียนโครงการเสนอของบสนับสนุนทั้งจากมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน (5) ประชาสัมพันธ์โครงการ (6) รับสมัครกรรมการและสมาชิกค่าย (7) แบ่งฝ่ายในการบริหารโครงการ (8) การปฏิบัติงานโครงการ (9) การประเมินผล และ (10) ติดตามผลการปฏิบัติงานโครงการ 6. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (1) งบประมาณไม่เพียงพอซึ่งมหาวิทยาลัยควรจะ จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการให้มากกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน (2) ผู้บริหารทั้งระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะ และอาจารย์ผู้สอนทั่วไปควรจะให้ความสําคัญต่อการจัดกิจกรรมด้านอาสาพัฒนา (3) อาจารย์ที่ปรึกษาควรอยู่ประจําค่ายตลอดโครงการ (4) รูปแบบกิจกรรมควรให้ความสําคัญทั้ง โครงงาน วิชาการและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกควบคู่กันไป และ (5) มหาวิทยาลัยควรจะอํานวย ความสะดวกด้านต่าง ๆ เช่น ยานพาหนะ พัสดุอุปกรณ์ ไม่ยิ่งหย่อนไปจากกิจการด้านอื่น ๆ ของ มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:PA01 Research

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in PSU Knowledge Bank are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.