Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19252
Title: การปรับปรุงประสิทธิภาพการระเบิดหินแข็ง สำหรับหมู่เหมืองเฟลด์สปาร์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Improvement of Hard Rock Blasting Efficiency for Feldspar Mine in Nakhon Si Thammarat Province
Authors: พงศ์พัฒน์ สนทะมิโน
ทวีศักดิ์ ถิ่นปากพนัง
Faculty of Engineering Mining and Materials Engineering
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และโลหะวิทยา
Keywords: Blasting;Powder Factor;Stemming Plug;Blasting Cost;Rock Fragmentation
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This study involved how to increase hard rock blasting efficiency. It was divided into 2 phases: First phase was study on the appropriate powder factor (PF) and second phase was continue from the first phase to increase the explosion efficiency by stemming method with a natural rubber stem plug and a fresh latex plug. Then the blasted rock size distribution was analyzed by Rock Image program. The study was at feldspar mine, Sinluang Co., Ltd., Nopphitam District, Nakhon Si Thammarat Province. Phase 1: The effect of powder factor on rock fragmentation ranged from 0.6 to 1.0 kg/m3. The total blasting cost was calculated, including drilling and blasting cost, oversize breaking cost, and secondary blasting cost. The result shows that the powder factor of 0.7 kg/m3 is the lowest blasting cost at 39.51 baht/ton, which is a savings of 10.71 baht/ton over the current pattern (cost 50.22 baht/ton). The sizes d20, d50, and d80, all decreased by about 10.81%, 19.63%, and 31.31% respectively. Additionally, the oversize decreased by about 51.60%. Phase 2: The rock fragmentation improvement by using stemming plug; natural rubber stem plug and flesh latex plug. For the experiment, a powder factor of 0.7 kg/m3 was selected. With natural rubber stem plug, the blasted rock has d20, d50, and d80, of 2.20, 5.74, and 12.43 inches respectively. The oversize is 4.98%. The total blasting cost is 40.27 baht/ton. When compared to the current pattern, the d20, d50, and d80 decreased about 25.68%, 29.14%, and 35.36% respectively and the oversize decreased about 61.98% and the blasting cost decreased by about 9.95 baht/ton. While with fresh latex plug blasting, the blasted rocks had d20, d50, and d80 of 2.25, 5.91, and 12.76 inches respectively with oversize of 5.38%. The total blasting cost was 38.93 baht/ton. In comparison to the current pattern, the d20, d50, and d80 were reduced by about 23.99%, 27.04%, and 33.65% respectively with oversize reduction about 58.93%. The total blasting cost was reduced about 11.44 baht/ton. However this research was taken in account only the total blasting cost, the overall cost might be investigated further for actual cost of each pattern.
Abstract(Thai): วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระเบิดหินแข็ง โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับค่า Powder Factor (PF) ที่เหมาะสมที่ให้สัดส่วนหินก้อนโตลดลงและต้นทุนการระเบิดต่ำที่สุด และกรณีที่ 2 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระเบิดโดยการอุดรูระเบิดด้วย ปลั๊กยางธรรมชาติและปลั๊กน้ำยางพาราสด โดยทุกรูปแบบจะวิเคราะห์การกระจายขนาดของหินด้วยภาพถ่ายทางอากาศโดยใช้ซอฟต์แวร์ Rock Image และคำนวณหาต้นทุนรวมการระเบิด โดยใช้พื้นที่ศึกษาที่เหมืองแร่เฟลด์สปาร์ บริษัท สินหลวง จำกัด อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีที่ 1 การศึกษาผลการระเบิดโดยปรับค่า Powder Factor ระหว่าง 0.6 – 1.0 kg/m3 แล้วทำการวิเคราะห์ขนาดหินจากการะเบิด การตัดสินใจจะพิจารณาจากค่าใช้จ่ายประกอบด้วย ค่าเจาะและระเบิดหิน ค่าย่อยหินก้อนโต ค่าเจาะและระเบิดลำดับที่ 2 จากการศึกษาพบว่า การระเบิดที่ค่า Powder Factor เท่ากับ 0.7 kg/m3 เป็นรูปแบบที่มีต้นทุนรวมการเจาะและระเบิดต่อตันต่ำที่สุด ที่ 39.51 บาท/ตัน ซึ่งลดลง 10.71 บาท/ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการระเบิดปัจจุบัน (ต้นทุน 50.22 บาท/ตัน) มีขนาด d20, d50และ d80 ลดลงประมาณ 10.81%, 19.63% และ 31.31% ตามลำดับ และปริมาณหินขนาดใหญ่ลดลงประมาณ 51.60% กรณีที่ 2 เป็นการศึกษาการใช้ปลั๊กอุดรูระเบิดเพิ่มประสิทธิภาพการระเบิด 2 ชนิด คือ ปลั๊กยางธรรมชาติ และ ปลั๊กน้ำยางพาราสด โดยเลือกใช้ค่า Powder Factor เท่ากับ 0.7 kg/m3 ในการทดลอง จากการศึกษาสรุปได้ว่า ปลั๊กยางธรรมชาติ ให้ขนาด d20, d50 และ d80 เฉลี่ย คือ 2.20, 5.74 และ 12.43 นิ้ว มีขนาดหินก้อนโตเฉลี่ยเท่ากับ 4.98% โดยมีต้นทุนเฉลี่ยการระเบิด เท่ากับ 40.27 บาท/ตัน และเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการระเบิดปัจจุบัน จะมีขนาด d20, d50 และ d80 ลดลงประมาณ 25.68%, 29.14% และ 35.36% หินก้อนโตลดลง ประมาณ 61.98% ต้นทุนรวมการระเบิดลดลงประมาณ 9.95 บาท/ตัน และเมื่อใช้ปลั๊กน้ำยางพาราสด พบว่าหินที่ได้จากการระเบิดมีขนาด d20, d50 และ d80 เฉลี่ย คือ 2.25, 5.91 และ 12.76 นิ้ว มีขนาดหินก้อนโต เฉลี่ยเท่ากับ 5.38 % ต้นทุนเฉลี่ยการระเบิดเท่ากับ 38.93 บาท/ตัน เมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการระเบิดปัจจุบันจะมีขนาด d20, d50 และ d80 ลดลงประมาณ 23.99%, 27.04% และ 33.65% หินก้อนโตลดลงประมาณ 58.93 % ต้นทุนการระเบิดลดลงประมาณ 11.44 บาท/ตัน อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้คำนวณเฉพาะต้นทุนรวมจากการเจาะและระเบิดเท่านั้น การศึกษาค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดที่รวมค่าบดย่อยหินในโรงโม่หินจึงควรมีการศึกษาต่อไปในแต่ละรูปแบบการระเบิด
Description: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19252
Appears in Collections:235 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6410120006.pdf21.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons