Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19251
Title: ทัศนคติต่ออาชีพเกษตรกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง
Other Titles: Attitude Towards Agricultural Occupation of Students in Matthayomsuksa 6 under the Office of Educational Area Service in Trang
Authors: อภิญญา รัตนไชย
พีระพัฒน์ เพ่งพิศ
Faculty of Natural Resources (Agricultural Development)
คณะทรัพยากรธรรมชาติ ภาควิชาพัฒนาการเกษตร
Keywords: ทัศนคติ;อาชีพเกษตรกรรม;นักเรียน
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The goal of this study was to examine the Matthayomsuksa 6 students’ personal information, economic and social aspects, communication, attitude level for agriculture, and factors influencing that degree of attitude toward the agricultural occupation. The sample consisted of 355 Matthayomsuksa 6 students under the Office of Trang Education Service Area. Data was collected using a questionnaire, by accidental sampling. The descriptive statistics were used to evaluate the data, and stepwise multiple regression was used to test the hypothesis. The results of the study showed that the most of the students are female and GPA between 2.51 – 3.00 both parents are self-employed. They have less than 10 years of experience in farming. Most families do not have agricultural land and avtivities. Most of the students did not receive agricultural information and were not members of the agricultural groups. They had a moderate level need (mean 2.64) for the school to support for farming in the school, farming areas, materials, and being inspired by successful farmer. The overall of the students had a good attitude towards the agricultural occupation at a high level, in terms of self-reliance (mean 3.98), pride (mean 3.96), confidence in agricultural (mean 3.93), social (3.90), and economic (mean 3.75). The result of htpothesis test, it found that factors positively affecting students’attitude toward agricultural carreers were occupational requirements, grade pont average, facebook, agricultural officers, family farming experience and mother’s occupation. The factors that had a negative effect on the attitude towards the agricultural occupation were agricultural teachers, television, newpapers, expert farmers, and father’s occupation. The suggestion from the researcher is to select appropriate channale for disseminating agricultural news with the needs of students.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม การติดต่อสื่อสาร ระดับทัศนคติต่ออาชีพเกษตรกรรมและ ปัจจัยที่มีผลต่อระดับทัศนคติต่ออาชีพเกษตรกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรัง จำนวน 355 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เกรดเฉลี่ย ระหว่าง 2.51 – 3.00 บิดาและมารดามีอาชีพรับจ้าง มีประสบการณ์ทำการเกษตรน้อยกว่า 10 ปี ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ทำการเกษตรจึงไม่มีกิจกรรมทางการเกษตร นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรและไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร มีต้องการระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.64) ให้โรงเรียนสนับสนุนเกี่ยวกับการทำอาชีพเกษตรกรรมในโรงเรียนด้านพื้นที่ทำการเกษตร วัสดุอุปกรณ์ และการได้รับแรงบันดาลใจจากผู้ประสบความสำเร็จทางการเกษตร ภาพรวมของนักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรมในระดับมาก ในด้านการพึ่งพาตนเอง (ค่าเฉลี่ย 3.98) ด้านความภาคภูมิใจ (ค่าเฉลี่ย 3.96) ด้านความเชื่อมั่นในอาชีพเกษตรกรรม (ค่าเฉลี่ย 3.93) ด้านสังคม (ค่าเฉลี่ย 3.90) และด้านเศรษฐกิจ (ค่าเฉลี่ย 3.75) ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติต่ออาชีพเกษตรกรรมของนักเรียนพบว่า ปัจจัยที่มีผลทางบวก ได้แก่ ความต้องการประกอบอาชีพ เกรดเฉลี่ย เฟซบุ๊ก นักวิชาการเกษตร ประสบการณ์ทำการเกษตรของครอบครัว และอาชีพของมารดา ปัจจัยที่มีผลทางลบ คือ ครูเกษตร โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ปราชญ์ชาวบ้าน และอาชีพของบิดา ข้อเสนอแนะจากผู้วิจัย คือ เลือกช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารทางการเกษตรให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของนักเรียน ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของสื่อบุคคลรวมทั้งเพิ่มข่าวสารผ่านสื่อมวลชนให้มากยิ่งขึ้นและมีความต่อเนื่อง
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาการเกษตร), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19251
Appears in Collections:520 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110620045.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons