Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19250
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุติวรรณ ปุรินทราภิบาล-
dc.contributor.authorฮานานี เจ๊ะอุบง-
dc.date.accessioned2023-12-20T08:25:35Z-
dc.date.available2023-12-20T08:25:35Z-
dc.date.issued2023-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19250-
dc.descriptionพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล), 2566en_US
dc.description.abstractThis study aimed to identify the competency of registered nurses who work for the Thai Hajj Medical Office in Saudi Arabia during the Hajj period using Ethnographic Delphi Future Research (EDFR). Participants were 18 experts in three panels. 1) nine nursing professionals, 2) six healthcare multidisciplinary experts, and 3) three health-related scholars. The research method consisted of three rounds. First, Interview of the experts using 10 open-ended questions, Which had been validated by three experts. The data were analyzed by using content analysis. Second, the same group of experts provided feedback and ranked each item’s significance on 25 closed-ended questions developed from the first-round findings. Data were analyzed using the median and interquartile range statistics. Third, the same group of experts confirmed or adjusted their final decisions opinions on the same set of questions from the second round using median and interquartile range. The consensus was reached by comparing the values of the median and interquartile range from the second and third rounds. The study findings revealed that the competency of registered nurses working at the Thai Medical Office in Saudi Arabia during the Hajj period comprised six components: 1) six items of nursing competencies, 2) three items of competencies related to epidemiology, prevention and infection control, 3) three items of providing information and health counseling competences, 4) four items of leadership, teamwork, morality, and ethics, competencies, 5) three items of communication, co-ordination, and information technology competences, and 6) three items of religious and cultural competences. Nursing administrators and stakeholders of the Thai Medical Office can apply this study’s findings a guideline to develop inclusion criteria to recruit nurses and to develop program of competency preparation for the nursing workforce at the Thai Medical Office, Saudi Arabia. during the Hajj period.en_US
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพen_US
dc.subjectสำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทยen_US
dc.titleThe Competency of Registered Nurses Woking at Thai Hajj Medical Office, Saudi Arabiaen_US
dc.title.alternativeสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย ณ ประเทศซาอุดิอาระเบียen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Nursing (Nursing Administration)-
dc.contributor.departmentคณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล-
dc.description.abstract-thการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยใช้เทคนิค Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 18 คน ประกอบด้วย 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล 9 คน 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสหวิชาชีพทางสุขภาพ 6 คน และ 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญวิชาการด้านสุขภาพ 3 คน การดำเนินการวิจัยนี้ประกอบด้วย 3 รอบ รอบที่ 1 สัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญตามแนวคำถามปลายเปิดจำนวน 10 ข้อ ที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา รอบที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมแสดงความคิดเห็นและประเมินค่าระดับความสำคัญผ่านการตอบแบบสอบถามปลายปิดจำนวน 25 ข้อ ที่พัฒนามาจากข้อมูลรอบที่ 1 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และรอบที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมยืนยันหรือเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นผ่านการตอบแบบสอบถามชุดเดิมที่เพิ่มเติมตำแหน่งค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์จากการวิเคราะห์รอบที่ 2 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วเปรียบเทียบค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ของรอบที่ 2 กับรอบที่ 3 เพื่อสรุปฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยผู้เชี่ยวชาญมีฉันทามติว่า สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย มี 6 สมรรถนะ ได้แก่ 1) สมรรถนะด้านการพยาบาล 6 ข้อ 2) สมรรถนะด้านระบาดวิทยา โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ และการป้องกันควบคุมการติดเชื้อ 3 ข้อ 3) สมรรถนะด้านการให้ข้อมูล และการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ 3 ข้อ 4) สมรรถนะด้านภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม และคุณธรรม จริยธรรม 4 ข้อ 5) สมรรถนะด้านการสื่อสาร ประสานงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 ข้อ และ 6) สมรรถนะด้านศาสนาและวัฒนธรรม 3 ข้อ ผู้บริหารทางการพยาบาลและผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดบริการของสำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย สามารถนำผลการวิจัยที่ได้มาเป็นแนวทางการคัดเลือกและเตรียมสมรรถนะพยาบาลที่จะไปปฏิบัติงานที่สำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย ณ ประเทศซาอุดิอาระเบียen_US
Appears in Collections:649 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310420039.pdf855.58 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons