Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19249
Title: อิทธิพลของภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการและทุนทางปัญญาต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคใต้ของประเทศไทย
Other Titles: The Influence of Entrepreneurial Leadership and Intellectual Capital on Organizational Performance Among Small and Medium Enterprises in the South of Thailand
Authors: วิษณุพงษ์ โพธิพิรุฬห์
กุลธีรา ทองใหญ่
Faculty of Management Sciences (Management)
คณะวิทยาการจัดการ (สาขาวิชาการจัดการ)
Keywords: ภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการ;ทุนทางปัญญา;ผลการดำเนินงานขององค์กร;Entrepreneurial Leadership;Intellectual Capital;Organizational Performance
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Past research indicates that entrepreneurial leadership plays an important role in enhancing firms' organizational performance. However, relatively few studies have examined the underlying explanation for this virtuous effect. This research aims to study the influence of entrepreneurial leadership on small and medium enterprises' (SMEs) organizational performance and to examine the mediating roles of intellectual capital in the relationship between entrepreneurial leadership and organizational performance. This study employed mixed methods research (explanatory sequential design) which begins with quantitative research, followed by qualitative research. As for the quantitative research, data were collected from two sources, namely, 105 business owners or top executives and 1,001 employees in 105 SMEs in the manufacturing sector located in the southern region of Thailand. Survey questionnaires were distributed to the SMEs by mail. In particular, entrepreneurial leadership was evaluated by business owners or top executives and employees, whereas intellectual capital and organizational performance were evaluated by business owners or top executives. Structural equation modeling (SEM) was used for the data analysis. The results of original concept framework, in which intellectual capital was divided into human capital, structural capital, and relational capital, indicated that entrepreneurial leadership had a positive direct influence on human capital, structural capital, and relational capital but not SMEs’ performance. Therefore, the concept framework was revised by combining the three components of intellectual capital, human capital, structural capital, and relational capital into one latent construct. The results confirmed that entrepreneurial leadership had an indirect influence on SMEs' organizational performance via the mediating roles of intellectual capital. Entrepreneurial leadership had a positive direct influence on intellectual capital, whereas intellectual capital had a positive direct influence on SMEs’ performance. In the qualitative research, data were collected from 18 business owners or top executives in 18 SMEs. The results support and align with the quantitative research's results. In particular, the results illustrate that entrepreneurial leadership had both direct and indirect influence on SMEs' organizational performance. Business owners or top business leaders also play an important role in driving the organization, all decision making as well as the development of the firm's intellectual capital and organizational performance. Human capital is developed through the selection system, training and development of employee skills, and pushing employees to work hard. Structural capital is developed through the development of production processes, production technology, and the implementation of various systems used in organizational management. Furthermore, entrepreneurial leaders can enhance firms' relational capital by building and maintaining relationships between the organization and customers and suppliers, which lead to enabling the achievement of business performance. Taken together, the results from this research indicate that the business owners or top executives of SMEs play a significant role in fostering their firms' intellectual capital, which, in turn, influences business performance of SMEs.
Abstract(Thai): งานวิจัยที่ผ่านมาระบุว่า ภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการส่งผลทางบวกต่อผลการดำเนินงาน ขององค์กร แต่ยังมีงานวิจัยจำนวนน้อยที่ศึกษาเหตุผลทางทฤษฎีที่สามารถอธิบายอิทธิพลดังกล่าว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และศึกษาบทบาทของทุนทางปัญญาในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการและผลการดำเนินงานขององค์กร โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (แบบขั้นตอนเชิงอธิบาย) ด้วยการใช้การวิจัยเชิงปริมาณก่อนแล้วตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคการผลิตในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย จำนวน 105 องค์กร เก็บข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ โดยการวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 2 แหล่งข้อมูล คือ จากเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูง จำนวน 105 ราย และจากพนักงานในองค์กร จำนวน 1,001 ราย โดยให้เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ประเมินภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการของตนเอง รวมทั้งให้พนักงานในแต่ละองค์กรประเมินภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการของเจ้าของธุรกิจ และเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูงประเมินตัวแปรทุนทางปัญญาและผลการดำเนินงานขององค์กร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง โดยผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างตามกรอบแนวคิดการวิจัยเดิม ซึ่งแยกทุนทางปัญญาเป็น 3 ตัวแปรแฝง คือ ทุนมนุษย์ ทุนโครงสร้าง และทุนความสัมพันธ์ พบว่า ภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทุนมนุษย์ ทุนโครงสร้าง และทุนความสัมพันธ์ แต่ไม่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานขององค์กร ผู้วิจัยจึงปรับโมเดลสมการโครงสร้าง โดยรวมตัวแปรทุนมนุษย์ ทุนโครงสร้าง และทุนความสัมพันธ์อยู่ภายใต้ตัวแปรทุนทางปัญญาเพียงตัวเดียว ผลการวิเคราะห์สามารถยืนยันสมมติฐาน โดยพบว่า ภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กรผ่านอิทธิพลของทุนทางปัญญา โดยภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการของเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูงมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทุนทางปัญญาขององค์กรและทุนทางปัญญามีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กรต่อไป โดยผลการวิเคราะห์มีความสอดคล้องกันทั้งในรูปแบบที่เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้ประเมินภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการของตนเอง และรูปแบบที่พนักงานในแต่ละองค์กรประเมินภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการของเจ้าของธุรกิจ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูง จำนวน 18 ราย จากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในภาคการผลิต จำนวน 18 องค์กร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องและสนับสนุนผลการวิจัยเชิงปริมาณ โดยพบว่า ภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการของเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูงมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานขององค์กร ทั้งนี้ เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรทุกด้านและมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจในมิติต่าง ๆ รวมทั้งพบว่าบทบาทของเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทุนทางปัญญาและผลการดำเนินงานขององค์กร โดยเจ้าของหรือผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่หลักในการตัดสินใจว่าองค์กรควรจะพัฒนาทุนทางปัญญาอย่างไรบ้าง โดยมีบทบาทต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านระบบการคัดเลือก การฝึกอบรมพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้กับพนักงาน และผ่านการกระตุ้นและผลักดันพนักงานในการทำงานด้วยวิธีการต่าง ๆ มีบทบาทต่อการพัฒนาทุนโครงสร้างผ่านการพัฒนากระบวนการผลิต เทคโนโลยีการผลิต และการนำระบบต่าง ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร และมีบทบาทต่อการพัฒนาทุนความสัมพันธ์ผ่านการสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับลูกค้าและซัพพลายเออร์ อันก่อให้เกิดผลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กร ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารระดับสูงในการขับเคลื่อนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในมิติต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมและพัฒนาทุนทางปัญญาขององค์กรให้เหมาะสม อันจะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจในภาพรวมต่อไป
Description: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการ), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19249
Appears in Collections:450 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110530006.pdf17.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons