Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19248
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ประโยชน์ดินฟอกสีที่ผ่านการใช้งานแล้ว
Other Titles: Feasibility study utilization of used activated bleaching earth
Authors: ธีรศักดิ์ ปั้นวิชัย
สุปราณี ปฏิสุวรรณ
Faculty of Science and Industrial Technology
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
Keywords: ดินฟอกสี;ไบโอดีเซล;คาร์บอนไดออกไซด์สภาวะวิกฤตยิ่งยวด
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: A study on the value-added of used activated bleaching earth (UABE), collected from the New Biodiesel industrial refining plant. The study on the extraction of lipids and pro-vitamin A by supercritical carbon dioxide technique, two step biodiesel production and regenerated in the bleaching of crude palm oil. This used activated bleaching earth showed oil content of 23.96±1.33 %, free fatty acid of 23.47±0.99 % and Saponification Value 198.21±0.48 mg KOH/g. Extraction of lipids and carotene content or pro-vitamin A by supercritical carbon dioxide technique at a temperature of 35 °C and a pressure of 250 bar with methanol as a co-solvent was found that 29.36±0.99 % of oil, the carotene content 85.74±0.16 mg/kg and beta-carotene 9.57 mg/kg. A two-step biodiesel production. In the esterification reaction, the free fatty acid content can be less than 2% and the transesterification, the fatty acid ethyl ester content of 97.62%, based on the Department of Energy Business or European Standard EN 14214:2003 the FAME conversion was lower than 96.50% was achieved under the conditions (step 1: methanol to FFA molar ratio 15:1 with 1 % H2SO4 catalyzed with co-solvent 10% dichlorobenzene and 5% molecular sieve at temperature 70 °C by microwave technique for 30 minutes and second step transesterification methanol to oil molar ratio 6:1 catalyzed with 1% potassium hydroxide). And regenerated the used activated bleaching earth after extraction with hexane solvent extraction, activated by sulfuric acid, the bleaching efficiency of crude palm oil is not different from activated bleaching earth.
Abstract(Thai): การศึกษาการเพิ่มมูลค่าดินฟอกสีที่ผ่านการใช้งานแล้ว จากโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม บริษัท นิว ไบโอดีเซล จำกัด ศึกษาการสกัดไขมันน้ำมันและแคโรทีนหรือโปรวิตามินเอ ด้วยเทคนิคคาร์บอนไดออกไซด์สภาวะวิกฤตยิ่งยวด การผลิตไบโอดีเซลด้วยวิธี 2 ขั้นตอน และการนำกลับมาใช้ใหม่ในการฟอกสีน้ำมันปาล์มดิบ พบว่าดินฟอกสีที่ผ่านการใช้งานแล้วมีปริมาณน้ำมันเท่ากับ 23.96±1.33 เปอร์เซ็นต์ กรดไขมันอิสระเท่ากับ 23.47±0.99 เปอร์เซ็นต์ และค่าซาพอนนิฟิเคชันเท่ากับ 198.21±0.48 มิลลิกรัม โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อน้ำมัน 1 กรัม การสกัดไขมันน้ำมันและแคโรทีนหรือโปรวิตามินเอ ด้วยเทคนิคคาร์บอนไดออกไซด์สภาวะวิกฤตยิ่งยวดที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ความดัน 250 บาร์ สกัดร่วมกับตัวทำละลายร่วมเมทานอล มีปริมาณไขมันน้ำมัน ที่สกัดได้สูงสุดมีค่าเท่ากับ 29.36±0.99 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณแคโรทีน 85.74±0.16 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และมีปริมาณบีตาแคโรทีน 9.57 มิลลิกรัม/กิโลกรัม การผลิตไบโอดีเซล ด้วยวิธี 2 ขั้นตอน ด้วยปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน สามารถลดปริมาณกรดไขมันอิสระต่ำกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ และปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันที่มีปริมาณเมทิลเอสเตอร์ เท่ากับ 97.62 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นไปตามประกาศมาตรฐานกรมธุรกิจพลังงานหรือมาตรฐาน European Standard EN 14214:2003 ซึ่งกำหนดปริมาณเมทิลเอสเตอร์ ไม่น้อยกว่า 96.50 เปอร์เซ็นต์ ภายใต้สภาวะการผลิต (ขั้นตอนที่ 1 อัตราส่วนเมทานอลต่อกรดไขมันอิสระ 15:1 โมล ใช้กรดซัลฟูริก 1 เปอร์เซ็นต์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ร่วมกับตัวทำละลายไดคลอโรเบนซีน 10 เปอร์เซ็นต์ และโมเลกุลลาร์ซีฟ 5 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ด้วยเทคนิคไมโครเวฟ นาน 30 นาที ขั้นตอนที่ 2 อัตราส่วนเมทานอลต่อน้ำมัน 6:1 โมล และใช้ด่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ 1 เปอร์เซ็นต์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา) และการนำดินฟอกสีที่ผ่านการใช้งานแล้วนำกลับมาใช้ใหม่หลังจากสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน ผ่านการกระตุ้นด้วยกรดซัลฟูริก สามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพการฟอกสีน้ำมันปาล์มดิบไม่ต่างจากดินฟอกสีที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เคมีประยุกต์), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19248
Appears in Collections:932 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6340320404.pdf5.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons