Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19238
Title: Factors associated with bacteria detection in water in the coastal areas, Southern Thailand
Other Titles: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบเชื้อแบคทีเรียในน้ำอุปโภคน้ำบริโภคบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของประเทศไทย
Authors: Prakrit Noppradit
Kritsanee Ruangsombat
Marine and Coastal Resources Institute
สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง
Keywords: factors;affecting;bacterial contamination;water;southern Thailand
Issue Date: 2023
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: Water-borne diseases have been important health and public health issue in southern Thailand. The major reason, that consumption water was polluted with microorganisms that exceed the standard and discovered outbreaks of water-borne disease on an ongoing basis. The investigation of factors affecting bacterial contamination in water was critical and must be completed as urgent. Water quality data were gathered from the Department of Medical Sciences' annual reports at two Public Health Areas (PHA): PHA 11 (RMSC 11, RMSC 11/1) or upper south and PHA 12 (RMSC 12, RMSC 12/1) or lower South. Environmental data such as meteorological (air temperature and rainfall), was collected from yearly statistics, National Statistical Office for 21 years (2002 to 2022). PHA, RMSC, provinces of production, years of production, water types, bacterium types, air temperature, and rainfall were the determinant variables. Bacterial contamination exceeding the standard was the outcome. The association was analyzed by using a chi-square test and used the multiple logistic regression model to predict the probability of detection of bacterial contamination above the standard. The ROC curve was used to evaluate the model's performance. The results from this study showed that the location and year of manufacture were factors influencing TCB contamination higher than standard in sealed container drinking water in Thailand's southern region. PHA 11 was more likely to be contaminated with bacteria than PHA 12. The model's prediction performance was 63% accurate. The overall investigation discovered that PHA, years of manufacture, water types, air temperature, and rainfall were the factors associated with the contamination of four types of bacteria that exceeded the criterion. All those factors were risking the detection of TCB and E. coli. PHA and water types impacted Salmonella spp., whereas only water types were affecting S. aureus. The model's prediction performance was 61, 68, 76, and 81 percent accurate, respectively. PHA 11 found more bacterial contaminants than PHA 12. When reviewing the spatial data by the province in PHA 11, it was found that Chumphon province had the highest probability of bacterial contamination that exceeded the standard. The pollution was maximum in 2022. The most susceptible to bacterial contamination was the consumption water. The most detectable kind of bacteria is TCB. The level of pollution was also discovered to vary with increasing rainfall and the model's prediction performance was 82% accurate. According to the findings of the study, PHA, RMSC, provinces, years of production, water types, bacterium types, air temperature levels, and rainfall levels had influenced the prevalence and bacterial contamination in southern Thailand, which exceeds the standard. As a result, for consumer protection, producers and allied authorities must monitor, manage, and implement procedures to control water quality from production to consumer delivery. To make sure that, it is not affected by the site of production, the environment, or variations in meteorological conditions such as air temperature, rainfall, and season, among others.
Abstract(Thai): โรคติดต่อที่มีสาเหตุจากน้ําบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยเป็นปัญหาสุขภาพและ สาธารณสุขที่สําคัญ สาเหตุหลักเกิดจากอุปโภคบริโภคน้ําปนเปื้อนแบคทีเรียเกินมาตรฐาน และพบ การระบาดของโรคติดต่อทางน้ําอย่างต่อเนื่อง การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปนเปื้อน แบคทีเรียในน้ําอุปโภคบริโภคบริเวณภาคใต้ของประเทศไทยจึงมีความสําคัญและต้องรีบดําเนินการ ข้อมูลคุณภาพน้ํารวบรวมจากรายงานประจําปีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ระดับภูมิภาค ประกอบด้วย 2 เขตสุขภาพ คือ เขตสุขภาพที่ 11 (ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต) หรือภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย และเขตสุขภาพที่ 12 (ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง) หรือภาคใต้ ตอนล่างของประเทศไทย ข้อมูลสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจากสถิติรายปีสํานักงานสถิติ แห่งชาติ เป็นเวลา 21 ปี (พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2565) จําแนกตัวแปรเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ตัวแปร กําหนด ประกอบด้วย เขตสุขภาพ จังหวัดที่ผลิต ปีที่ผลิต ชนิดน้ํา ชนิดแบคทีเรีย อุณหภูมิในอากาศ และปริมาณน้ําฝน และ 2) ตัวแปรผลลัพธ์ คือ จํานวนตัวอย่างน้ําที่ตรวจพบแบคทีเรียปนเปื้อน ไม่ผ่านมาตรฐาน จากนั้นตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยการทดสอบไคสแคว์ และ ตัวแบบลอจิสติกรีเกรสชั่นพหุคูณทํานายความน่าจะเป็นการตรวจพบแบคทีเรียปนเปื้อนไม่ผ่าน มาตรฐาน ประเมินประสิทธิภาพการทํานายของตัวแบบด้วยเส้นโค้งอาร์โอซี ผลการศึกษาพบว่า เขตสุขภาพ และปีที่ผลิต เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจพบโคลิฟอร์มแบคทีเรียปนเปื้อนไม่ผ่าน มาตรฐานในน้ําดื่มบรรจุภาชนะที่ปิดสนิท บริเวณภาคใต้ของประเทศไทย โดยเขตสุขภาพที่ 11 มีโอกาสตรวจพบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียสูงกว่าเขตสุขภาพที่ 12 ประสิทธิภาพการทํานาย ของตัวแบบให้ค่าความถูกต้องร้อยละ 63 การศึกษาในภาพรวม พบว่า เขตสุขภาพ ปีที่ผลิต ชนิดของ น้ํา ระดับอุณภูมิในอากาศ และระดับปริมาณน้ําฝน คือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตรวจพบการปนเปื้อน แบคทีเรีย 4 ชนิดเกินมาตรฐาน โดยทุกปัจจัยมีผลกระทบต่อการตรวจพบ TCB และ E. coli, เขตสุขภาพ และชนิดของน้ํามีผลกระทบต่อ Salmonella spp., ในขณะที่มีเฉพาะชนิดของน้ํามี ผลกระทบต่อ S. aureus. ประสิทธิภาพการทํานายของตัวแบบให้ค่าความถูกต้องร้อยละ 61, 68, 76, and 81 ตามลําดับ โดยเขตสุขภาพที่ 11 พบแบคทีเรียปนเปื้อนสูงกว่าเขตสุขภาพที่ 12. เมื่อศึกษา ข้อมูลเชิงพื้นที่ในเขตสุขภาพที่ 11 เป็นรายจังหวัด พบว่า จังหวัดชุมพรมีโอกาสตรวจพบแบคทีเรีย เกินมาตรฐานสูงที่สุด ซึ่งตรวจพบไม่ผ่านมาตรฐานมากที่สุดในปี 2565 เมื่อจําแนกรายชนิดของน้ํา พบว่าน้ําใช้ในครัวเรือนมีความเสี่ยงปนเปื้อนแบคทีเรียมากที่สุด โคลิฟอร์มคือแบคทีเรียที่ตรวจพบได้ มากที่สุด และยังพบว่าปริมาณการปนเปื้อนของแบคทีเรียแปรผันตามปริมาณน้ําฝนที่เพิ่มขึ้น โดยประสิทธิภาพการทํานายของตัวแบบให้ค่าความถูกต้องร้อยละ 82 จากการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ ว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เขตสุขภาพ จังหวัด ปีที่ผลิต ชนิดของน้ํา ชนิดของแบคทีเรีย ระดับอุณหภูมิในอากาศ และระดับปริมาณน้ําฝนมีอิทธิพลต่อความซุกและการ ตรวจพบการปนเปื้อนแบคทีเรียไม่ผ่านมาตรฐานบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย ดังนั้นเพื่อความ ปลอดภัยของผู้บริโภค ผู้ผลิตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องตรวจสอบ จัดการ และดําเนินการตาม ขั้นตอนเพื่อควบคุมคุณภาพน้ําให้สะอาดมีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายกําหนด ตั้งแต่กระบวนการ ผลิต การขนส่ง จนส่งมอบน้ําไปยังผู้บริโภค ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากสถานที่ผลิต สภาพแวดล้อม หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิอากาศ ปริมาณน้ําฝน ฤดูกาล เป็นต้น
Description: Doctor of Philosophy (Marine and Coastal Resources Management), 2023
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19238
Appears in Collections:169 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310930061.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons