Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19207
Title: การพัฒนารูปแบบการสร้างค่านิยมร่วมด้านการรายงานอุบัติการณ์ในโรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์
Other Titles: Development Model for Creating Shared Value an Incident Reporting in Bangkok-Surat Hospital
Authors: ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา
กณิกนันต์ ศรทอง
Faculty of Nursing (Nursing Administration)
คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
Keywords: การสร้างค่านิยมร่วม;รายงานอุบัติการณ์
Issue Date: 2023
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This practical action research aimed to study the situation of incident reporting, develop an incident reporting model, and study the effect of using shared values to report incidences in Bangkok Surat Hospital. The study applied the systemic framework (Donabedian, 2005) and the action research process consisting of 4 phases: planning, action, observation and refection (Kemmis & McTaggart, 2014). Data were collected through group discussion, semistructured interview, questionnaires, and observation. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics. Qualitative data were analyzed using content analysis. Results showed that: 1) Incident reporting situation in 3 aspects were: (1) structure: lack of continuing policy communication. and lack knowledge, understanding, and multi-disciplinary participation among personnel. (2) process: inefficient of information technology management and responses to incidence reports. and (3) outcome: incidences were under report. The report was about incidences of others more than the reporter’s unit. The attitude to the reporting was for the negative incidences. 2) The shared value model of incident reporting consisted of 4 parts: (1) leading organizations, (2) teamwork, (3) empowerment & errorless, and (4) value on staff or LTEV model. This model was implemented into incidence reporting system in 3 stages: (1) detection (2) analysis and (3) learning. There were 82 % of personnel following the guideline of incident reporting during the implementing of the LTEV model. Leader, technology, and communication were keys of success for this model. 3) The results of using the model found that the overall practice was at their individual level (M = 2.16, SD = 0.51). The overall of realization score was high (M = 4.34, SD = 0.51). Awareness difference comparison results before and after. The differe was statistically significant (t = -8.13, p < 0.05). The number of incidence reports increased from 22 cases to 202 cases, and the department self-reporting increased by 5%. Nursing administrators can use the results as a guideline for creating share values in other departments. To ensure patient safety.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงปฏิบัติการระดับความร่วมมือ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การ รายงานอุบัติการณ์ พัฒนาและประเมินผลรูปแบบการสร้างค่านิยมร่วมด้านการรายงานอุบัติการณ์ใน โรงพยาบาลกรุงเทพสุราษฎร์ กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยคือ แนวคิดการจัดการคุณภาพเชิงระบบ และกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดเคมมิสและแมคทาคกาท (Kemmis & McTaggart, 2014) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อน โดยศึกษา ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 ถึง เดือนสิงหาคม 2565 เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์กึ่ง โครงสร้าง สอบถาม สังเกตการปฏิบัติตามแนวทางการสร้างค่านิยมร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การรายงานอุบัติการณ์ 3 ด้าน ได้แก่ (1) โครงสร้าง พบว่า ขาดการสื่อสารนโยบายที่ต่อเนื่อง บุคลากรขาดความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงสหวิชาชีพมีส่วนร่วม น้อย (2) กระบวนการ พบว่า การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และการตอบกลับรายงานอุบัติการณ์ ไม่มีประสิทธิภาพ และ (3) ผลลัพธ์ พบว่า จำนวนการรายงานอุบัติการณ์น้อยกว่าความเป็นจริง และ เป็นการรายงานอุบัติการณ์ของผู้อื่นมากกว่าตนเอง มีทัศนคติต่อการรายงานอุบัติการณ์เชิงลบ 2) รูปแบบการสร้างค่านิยมร่วมด้านการรายงานอุบัติการณ์ ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ (1) องค์กรนำ (2) ทีมทำงาน (3) สานพลัง และ (4) ฝังคุณค่า หรือ LTEV model และแนวทางการรายงาน อุบัติการณ์มี 3 ระยะ ได้แก่ (1) ระยะค้นหาและประเมิน (2) ระยะวิเคราะห์และ (3) ระยะเรียนรู้ พบว่าสามารถปฏิบัติตามรูปแบบได้ ร้อยละ 82.00 สิ่งสนับสนุนให้รูปแบบประสบผลสำเร็จคือ ผู้นำ เทคโนโลยี และการสื่อสาร 3) ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ พบว่าโดยรวมปฏิบัติอยู่ในระดับบุคคล (M = 2.16, SD = 0.51) ความตระหนักด้านการรายงานอุบัติการณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.34, SD = 0.51) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของความตระหนักก่อนและหลัง แตกต่างอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ(t = -8.13, p < .05) ทัศนคติ และการรับรู้ต่อค่านิยมร่วมโดยรวมมองเชิงบวก เพิ่มขึ้น จำนวนการรายงานอุบัติการณ์ตามความเป็นจริงเพิ่มขึ้น จาก 22 เรื่อง เป็น 202 เรื่อง และ พบการรายงานอุบัติการณ์ของหน่วยงานตนเองเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถ นำผลลัพธ์ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการสร้างค่านิยมร่วมแผนกอื่น เพื่อสร้างความปลอดภัยของผู้ป่วย
Description: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล), 2566
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19207
Appears in Collections:649 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6310420005.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons