Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19194
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุษกร โกมลตรี | - |
dc.contributor.author | ภัทราภรณ์ ศรีการุณ | - |
dc.date.accessioned | 2023-12-19T02:39:15Z | - |
dc.date.available | 2023-12-19T02:39:15Z | - |
dc.date.issued | 2022 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19194 | - |
dc.description | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทยและภาษาไทยประยุกต์), 2565 | en_US |
dc.description.abstract | The study of supernatural characters and belief in Tri Apirum’s novels aimed 1. to analyse the important role of the supernatural characters in supernatural mystery novels of Tri Apirum 2. to analyse supernatural belief and intertextuality appearing in the supernatural mystery novels of Tri Apirum by collecting data from 3 novels consisting of Anintita, Nakee and Tayat Asoon. The result of the study were as follows : 1. the supernatural characters have 2 important roles comprising of (1) the role of supernatural characters in expressing the conflict leading to theme which can be found in 4 types, namely, the role in expressing conflict between the supernatural characters and themselves, the role in expressing conflict between the supernatural characters and supernature, the role in expressing conflict between the supernatural characters and human, and the role in expressing conflict between the supernatural characters and supernatural rule, (2) the role of supernatural characters in expressing symbolic meaning leading to essence of novel which can be found in 3 issues, namely, Anintita: the surrender to “fear”, Nakee: the value of “love” and attempt to “refrain”, and Chao Khon : “the harm of revenge” caused by the cycle of status inequality, 2. in terms of supernatural belief and intertextuality appearing in the supernatural mystery novels of Tri Apirum, the result revealed that (1) there are 7 genres of belief consisting of mythological belief, astrological belief, superstitious belief, Buddhism belief, belief about psychic power, belief about gods or sacred powers, and belief about ghosts or spirits, (2) by analysing the intertextuality of belief in Thai culture to novel theme, the researcher found that the author used 2 types of Thai cultural belief including using the belief in the novel directly and using the belief in the novel by adaption. The results of this study have reflected that the author of these three supernatural novels presented the supernatural characters and the variety of beliefs for dramatic effect and entertainment. However, he was clearly aware of Buddhism in terms of the three marks of existence and karma to stimulate that no one can escape nature rule. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand | * |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ | * |
dc.subject | ความเชื่อเหนือธรรมชาติ | en_US |
dc.subject | ตัวละครเหนือธรรมชาติ | en_US |
dc.title | ตัวละครเหนือธรรมชาติและความเชื่อที่ปรากฏในนวนิยายของ ตรี อภิรุม | en_US |
dc.title.alternative | Supernatural Characters and Beliefs in Tree Apirum’s Novels | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Liberal Arts (Languages and Linguistics) | - |
dc.contributor.department | คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ | - |
dc.description.abstract-th | การศึกษาเรื่อง “ตัวละครเหนือธรรมชาติและความเชื่อที่ปรากฏในนวนิยายของ ตรี อภิรุม” มีวัตถุประสงค์เพื่อ1.วิเคราะห์บทบาทสำคัญของตัวละครเหนือธรรมชาติในนวนิยายแนวลึกลับเหนือธรรมชาติของ ตรี อภิรุม 2. วิเคราะห์ความเชื่อเหนือธรรมชาติและความเป็นสัมพันธบทในนวนิยายแนวลึกลับเหนือธรรมชาติของตรี อภิรุม โดยเก็บข้อมูลจากนวนิยายจำนวน 3 เรื่องได้แก่ อนิลทิตา นาคี และทายาทอสูร ผลการศึกษาพบดังนี้ 1. บทบาทสำคัญของตัวละครเหนือธรรมชาติ พบว่า ตัว ละครเหนือธรรมชาติมีบทบาทสำคัญ 2 ประการคือ (1) บทบาทของตัวละครเหนือธรรมชาติในการ แสดงความขัดแย้งอันนำไปสู่โครงเรื่อง พบ 4 ลักษณะได้แก่ บทบาทในการแสดงความขัดแย้งระหว่างตัวละครเหนือธรรมชาติกับตนเอง บทบาทในการแสดงความขัดแย้งระหว่างตัวละครเหนือธรรมชาติ กับสิ่งเหนือธรรมชาติ บทบาทในการแสดงความขัดแย้งระหว่างตัวละครเหนือธรรมชาติกับมนุษย์ และบทบาทในการแสดงความขัดแย้งระหว่างตัวละครเหนือธรรมชาติกับกฎของธรรมชาติ (2) บทบาทของตัวละครเหนือธรรมชาติในการแสดงความหมายเชิงสัญลักษณ์อันนำไปสู่แก่นเรื่อง พบ 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ ตัวละครอนิลทิตา : ภาวะจำนนต่อ “ความกลัว” ตัวละครคำแก้วหรือเจ้าแม่นาคี : คุณค่าของ “ความรัก” และความพยายามใน “การข่มจิต” และตัวละครเจ้าโขน : “พิษของความแค้น” อันเกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสถานภาพที่หมุนเวียนเป็นวัฏจักร 2. ความเชื่อเหนือธรรมชาติและความเป็นสัมพันธบทที่ปรากฏในนวนิยายของตรี อภิรุมพบดังนี้ (1)พบความเชื่อเหนือธรรมชาติที่ปรากฏในนวนิยายทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องเล่าหรือตำนาน ความเชื่อเกี่ยวกับโหราศาสตร์ ความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์ ความเชื่ออันเนื่องมาจากพุทธศาสนา ความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจจิต ความเชื่อเกี่ยวกับเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีหรือวิญญาณ (2)สัมพันธบทความเชื่อในสังคมไทยสู่ตัวบทนวนิยาย ผู้วิจัยพบว่าผู้แต่งได้นำความเชื่อที่มีอยู่ในสังคมไทยมาใช้ในนวนิยาย 2 ลักษณะ ได้แก่ การนำความเชื่อมาใช้ในนวนิยายอย่างตรงไปตรงมา และ การนำความเชื่อมาใช้ในนวนิยายโดยการดัดแปลง ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่านวนิยายเหนือธรรมชาติทั้ง 3 เรื่อง แม้ผู้ประพันธ์จะนำเสนอตัวละครเหนือธรรมชาติและความเชื่ออย่างหลากหลายเพื่ออรรถรสและความบันเทิง แต่ทว่ากลับสะท้อนให้ตระหนักคิดถึงพุทธศาสนาในเรื่องของไตรลักษณ์และเรื่องกรรมอย่างชัดเจนทั้งนี้เพื่อกระตุ้นเตือนให้มนุษย์ได้ตระหนักว่าไม่มีใครหลีกหนีกฎธรรมชาติได้เลย | en_US |
Appears in Collections: | 890 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6011120021.pdf | 4.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License