Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19193
Title: รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคใต้
Other Titles: A Model for Enhancing Lifelong Learning Competencies in Disruption for Teachers under the Secondary Educational Service Area Office in the South
Authors: ชวลิต เกิดทิพย์
พงศ์รัตน์ ธรรมชาติ
Faculty of Education (Educational Administration)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา
Keywords: การเรียนรู้ตลอดชีวิต;สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา;การพัฒนาวิชาชีพครู
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research is mixed-method research to analyze the factors of lifelong learning in disruption for teachers and presenting a model for enhancing lifelong learning competencies in disruption for teachers under the office of secondary education service areas in the southern. The research was divided into 2 phases as follows. Phase 1 quantitative research used two questionnaires i.e. the exploratory factor analysis questionnaire and the confirmatory factor analysis questionnaire. Both questionnaires were based on a liquefied estimation scale. The reliability was 0.973 and 0.991, respectively. The sample was a teacher under the office of secondary education service areas in the southern. The sample size was determined using the concept of Hair et all. The ratio of variables to the sample size was 1:20. There were 2 sample groups. Group 1 of 1,140 people answered the exploratory factor analysis questionnaire. The second group consisted of 960 people who answered the exploratory factor analysis questionnaire and the confirmatory factor analysis. The sample group used stratified random sampling, multi-stage sampling, and purposive selection. Data were analyzed by exploratory factor analysis. The results were then subjected to confirmatory factor analysis. Phase 2 Qualitative research used a multi attribute consensus reaching in order to verify lifelong learning competency with nine experts and use a multi attribute consensus reaching to confirm the draft model for enhancing lifelong learning competence with ten experts. The data obtained by the researcher used content analysis. The results showed that in Phase I, five factors of lifelong learning in disruption for teachers were analyzed, namely 1) personal development for change, 2) persistence in the midst of volatility, 3) growth mindset, 4) applying technology for the benefit of professional development, and 5) technology literacy. Phase 2 can create a lifelong learning competencies enhancing model in disruption for teachers under the office of secondary education service areas in the southern, it consists of 3 parts: 1) general information, 2) lifelong learning competency in reversals for teachers, eight competencies, and 3) activities to enhance lifelong learning competency in reversals. There are five steps for teachers: 3.1) attitude building, 3.2) awareness and appreciation, 3.3) conceptual framework, 3.4) action, and 3.5) evaluation and dissemination of results.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบผสมผสานมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครู และนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคใต้ แบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและแบบสอบถามวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ลักษณะแบบสอบถามทั้งสองเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท มีค่าความเชื่อมั่น 0.973 และ 0.991 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างเป็นครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคใต้ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แนวคิดของ Hair et al. อัตราส่วนตัวแปรต่อขนาดกลุ่มตัวอย่าง 1:20 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 จำนวน 1,140 คน สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และกลุ่มที่ 2 จำนวน 960 คน สำหรับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มใช้วิธีการแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอนเป็นเกณฑ์การแบ่งจากนั้นจึงเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ จากนั้นจึงนำผลไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ เพื่อยืนยันสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิตกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน และ ใช้การประชุมอภิปรายแบบพหุลักษณะเพื่อหาฉันทามติ เพื่อยืนยันร่างรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิต กับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน ข้อมูลที่ได้ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครู มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การพัฒนาตนเพื่อการเปลี่ยนแปลง (2) ยืนหยัดท่ามกลางความพลิกผัน (3) กรอบความคิดเติบโต (4) ใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์การพัฒนาวิชาชีพ และ (5) การรู้เท่าทันเทคโนโลยี 2) รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคใต้ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลทั่วไป (2) สมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครู 8 สมรรถนะ และ (3) กิจกรรมการเสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ตลอดชีวิตในภาวะพลิกผันสำหรับครู มี 5 ขั้นตอน (3.1) การสร้างทัศนคติ (3.2) ตระหนักและเห็นคุณค่า (3.3) สร้างกรอบความคิด (3.4) ลงมือปฏิบัติ (3.5) การประเมินผลและเผยแพร่ผลงาน
Description: ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19193
Appears in Collections:260 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6220130003.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons