Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19177
Title: ลักษณะทางนิเวศวิทยาและชีววิทยาบางประการของเม่นทะเลชนิด Temnopleurus toreumaticus ในอ่าวปัตตานี
Other Titles: Some Ecological and Biological Aspects of Sea Urchin Temnopleurus toreumaticus in Pattani Bay
Authors: จิติมา สุวรรณมาลา
สอฟียูดีน มะแอ
Faculty of Sciecnce and Technology (Technology and Industries)
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม
Keywords: เม่นทะเล;นิเวศวิทยา;เม่นแต่งตัวน้ำตาล;อ่าวปัตตานี;ชีววิทยาบางประการ
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The purpose of this research is to investigate the distribution pattern of brown decorate sea urchin (Temnopleurus toreumaticus), relationship of the sea urchin with environmental factors and other benthic fauna, reproductive biology, impact of the size and month factors on its feeding habit. Samples were collected by towing metal dredging net at 8 selected stations covering all area of Pattani, Pattani province during November 2018 to July 2020. Some water parameter was measured together with dredging and bottom sediment was collected at all study sites. The samples were immediately preserved in the ice box and brought back to laboratory for further analysis. It was found that the density of sea urchin in Pattani bay were 22 individuals/1,000 m2 . Water salinity, water depth, transparency, pH of soil and sand had a positive impact to the abundance of the sea urchin. Abundance of benthic species including Nephtys 2, Glycera 2, Perinereis, Clithon, Barbatiaand Lepidophthalmus showed a positive relationship with abundance of the sea urchin. It was found that polychaete was the major food component of the sea urchin (29.15%), followed by mollusc (24.69%) crustaceans (22.25%) sand (10.62%) sponge (4.88%) fish (4.83%) and plant (3.58%). The average number of food items, fullness index, vacuity index and diet breadth were 2.88±1.38, 4.56±2.40, 16.13 and 0.43, respectively. There was no significant difference on sex ratio between male and female 0.9:1.0 (P>0.05). Moreover, it was found that the size at first maturity of male and female were 33.17 millimeter and 37.08 millimeter, respectively. Result from ANOVA indicated that size of sea urchin and month of collection significantly affected the average number of food item (P<0.001) . However, the size did not affect fullness index (P>0.05). This study is considered the first effort investigated some ecological and biological aspects of this species in the world. Information gathered from this study will thus be helpful for the management of sea urchin resources and their application for future sea urchin culture.
Abstract(Thai): การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการแพร่กระจายของเม่นแต่งตัวน้ําตาล (Temnopleurus foreumaticus) ความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและสัตว์หน้าดิน ชนิดอื่น ชีววิทยาการสืบพันธุ์ ผลของขนาดของเม่นแต่งตัวน้ําตาลและเดือนต่อการกินอาหาร ทําการศึกษาโดยเก็บตัวอย่างเม่นแต่งตัวน้ําตาลและสัตว์หน้าดินชนิดอื่นบริเวณสถานีต่าง ๆ จํานวน 8 สถานีครอบคลุมอ่าวปัตตานี จังหวัดปัตตานี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึง เดือน กรกฎาคม 2563 โดยใช้วิธีลากคราด นําตัวอย่างที่ได้แช่ในน้ําเย็นจัดทันทีแล้วนํากลับไปยัง ห้องปฏิบัติการเพื่อทําการวิเคราะห์ในขั้นตอนต่อไป วัดค่าคุณสมบัติบางประการของน้ําและ เก็บตัวอย่างตะกอนดินจากสถานีต่าง ๆ จากการศึกษาพบว่าเม่นแต่งตัวน้ําตาลมีค่าความชุกชุมเฉลี่ย 22 ตัว/1,000 ตารางเมตร จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเม่นแต่งตัวน้ําตาลกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม พบว่าความชุกชุมของเม่นแต่งตัวน้ําตาล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับค่าความเค็ม ความลึก ความโปร่งใส ความเป็นกรด-ด่างของดินและอนุภาคทราย ความชุกชุมของเม่นแต่งตัวน้ําตาล สัมพันธ์กับกลุ่ม polychaete สกุล Nephtys 2 Glycera 2 และ Perinereis กลุ่ม molluse สกุล Clithon, Barbatia และ crustaceans กลุ่ม amphipod และสกุล Lepidophthalmus ผลจากการศึกษาการกินอาหาร พบว่าเม่นแต่งตัวน้ําตาลกินอาหาร 7 กลุ่ม คือ polychaete (29.15%) molluse (24.69%) crustaceans (22.25%) sand (10.62%) sponge (4.88%) fish (4.83%) และ plant (3.58%) ตามลําาดับ ในขณะที่ จํานวนชนิดของอาหารเฉลี่ย ค่าดัชนีการเต็มกระเพาะอาหารเฉลี่ย ค่าดัชนีกระเพาะอาหารว่าง และ ค่าความกว้างของอาหาร เท่ากับ 2.88+1.38, 4.56+2.40, 16.13 และ 0.43 ตามลําดับ สัดส่วนเพศของ เม่นแต่งตัวน้ําตาลเพศผู้ต่อเพศเมีย มีค่าเท่ากับ 0.9.1.0 (P>0.05) ขนาดแรกเริ่มสืบพันธุ์ของเม่นแต่งตัวน้ําตาลเพศผู้ 33.17 มิลลิเมตร และเพศเมีย 37.08 มิลลิเมตร จากการทดสอบทางสถิติ พบว่าขนาดของเม่นแต่งตัวน้ําตาลและเดือนที่เก็บตัวอย่างมีผลต่อจํานวนชนิดอาหารในกระเพาะอาหารอย่างมีนัยสําคัญยิ่ง (P<0.001) ในขณะที่ขนาดของเม่นแต่งตัวน้ําตาลไม่มีผลต่อค่าการเต็ม กระเพาะของอาหาร (P>0.05) การศึกษาวิจัยในครั้งนี้นับว่าเป็นการรายงานครั้งแรกที่ศึกษาเกี่ยวกับเม่นทะเลชนิดนี้และจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สําคัญสําหรับประยุกต์ใช้เพื่อการเพาะเลี้ยงและอนุรักษ์เม่นแต่งตัวน้ําตาลในอนาคต
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประมง), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19177
Appears in Collections:732 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6120320610.pdf6.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons