Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19176
Title: รูปแบบการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
Other Titles: The Creative Performance Model of Personnel in Subdistrict Administrative Organization, Mueang District, Pattani Province
Authors: ณรรช หลักชัยกุล
ฮามีดะห์ เจ๊ะแต
Faculty of Humanities and Social Sciences (Social Sciences)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์
Keywords: การปฏิบัติงาน;ความคิดสร้างสรรค์;บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research aimed to study 1) the level of creative performance of personnel in Subdistrict Administrative Organization, Muang District, Pattani Province 2) the creative performance behavior of personnel in Subdistrict Administrative Organization, Muang District, Pattani Province 3) the creative performance model of personnel in subdistrict administrative organization, Muang district, Pattani province. The research was divided into 2 parts: 1) quantitative research, The sample consisted of 195 members of subdistrict employee. The instrument used to collect data was a 5-level estimation scale questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics: frequency, percentage, mean and standard deviation. 2) qualitative research, the sample group consisted of 9 personnel: 3 operational personnel, 3 supervisors and 3 executives. The qualitative data were analyzed by content analysis method. The results of the research were found that 1) the overall creative performance level was at a high (x ̅= 3.94). When considering each aspect, it was found that the personnel had a high level of creative performance in 5 aspects: ranking in order as nature of work (x ̅= 4.18), character (x ̅ 4.07), creative thinking support (x ̅= 4.07), independence (x ̅= 4.03) and internal resources (x ̅= 3.99). The last aspect is pressure (x ̅= 3.26) was at moderate level. 2) the creative performance behaviors of personnel in Subdistrict Administrative Organization, consisting of 11 behaviors. 3) the creative performance model of personnel in Subdistrict Administrative Organization, consisted of 5 input factors, 1 driving factor and 3 creative performance behaviors.
Abstract(Thai): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 2) ศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 3) เสนอรูปแบบการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ผู้วิจัยแบ่งการวิจัยเป็น 2 ส่วน คือ 1) วิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานส่วนตำบลในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี จำนวน 195 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) วิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 9 ท่าน เป็นบุคลากรระดับปฏิบัติงาน 3 ท่าน บุคลากรระดับหัวหน้างาน 3 ท่าน และผู้บริหาร 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 3.94) เมือพิจารณารายด้าน พบว่า บุคลากรมีระดับการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน คือ ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ (x ̅= 4.18) ด้านลักษณะนิสัย (x ̅= 4.07) ด้านการสนับสนุนทางความคิดสร้างสรรค์ (x ̅= 4.07) ด้านความอิสระ (x ̅= 4.03) และด้านทรัพยากรภายในองค์กร (x ̅= 3.99) ส่วนด้านแรงกดดัน (x ̅= 3.26) อยู่ในระดับปานกลาง 2) พฤติกรรมการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย 11 พฤติกรรม 3) รูปแบบการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย 5 ปัจจัยนำเข้า, 1 ปัจจัยขับเคลื่อน และ 3 พฤติกรรมการปฏิบัติงานเชิงสร้างสรรค์
Description: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19176
Appears in Collections:427 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6020220624.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons