Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19151
Title: การสร้างพื้นที่กลางของภาคประชาสังคมกับการจัดการความขัดแย้ง จากโครงการท่าเรือน้าลึกปากบารา กรณีศึกษาสมัชชาคนสตูล
Other Titles: The Public Space of Civil Society and The Conflict Management of Pak Bara Deep Sea Port A Case Study of Satun People Assembly
Authors: นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์
สมบูรณ์ คำแหง
สถาบันสันติศึกษา
Institute for Peace Studies
Keywords: พื้นที่กลาง ภาคประชาสังคม;การจัดการความขัดแย้ง;สมัชชาคนสตูล
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This academic article want to study the concept, formation and development of the Satun People's Assembly arising from the threat factors of the Pak Bara deep sea port project This is a large project that wants to use Satun as a base for industrial estates in the future. Apart from that, I also want to point out the concepts, definitions, and definitions of the central area. The proper form of the assembly driving mechanism and the level of acceptance of other development partners From the results of the study, it was found that “Assembly of Satun People” is a form of central space formed by consultations and the creation of a common form of various groups. Social drive work in the area of Satun Province If it does not arise from the needs of any one person only. This area has been accepted. and had a sense of belonging to this space right from the start Almost ten years ago, this area was used to create a public policy. or proposals for the needs of Satun people every year by inviting the provincial governor and key players in Satun province received proposals from the General Assembly stage to It has been used as a guideline for the design and development of various fields. The Satun People's Assembly has done an interesting job in managing the conflicts that arise. especially the Pak Bara deep sea port project to cancel the project because of the battle with information and because of the effect of space creating a central area It is a social driving strategy that Satun people apply to create a change in society's thinking base. This means creating a process for participation of people at the lower base level. To have the ability to innovate and design their own local community development according to their needs and based on real potential
Abstract(Thai): บทความวิชาการเรื่องนี้ ต้องการศึกษาแนวคิด การก่อตัว และพัฒนาการของสมัชชา คนสตูล ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยคุกคามของโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องการ ใช้จังหวัดสตูล เป็นฐานที่ตั้งรองรับนิคมอุตสาหกรรมในอนาคต นอกจากนั้นแล้วยังต้องการชี้ให้เห็นถึง แนวคิด คำนิยามความหมายของพื้นที่กลาง รูปแบบที่เหมาะสมของกลไกขับเคลื่อนสมัชชาฯ และระดับ การยอมรับของภาคีพัฒนาอื่น ๆ ผลจากการศึกษาทำให้พบว่า “สมัชชาคนสตูล” เป็นรูปแบบของพื้นที่กลาง ที่เกิดจากการปรึกษาหารือและคิดค้นรูปแบบร่วมกันของกลุ่มต่าง ๆ ที่ทำงานขับเคลื่อนทางสังคมในพื้นที่ จังหวัดสตูล อันไม่ได้เกิดขึ้นจากความต้องการของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น พื้นที่แห่งนี้จึงได้รับการยอมรับ และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่นี้ร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้น เกือบสิบปีที่ผ่านมาได้มีการใช้พื้นที่แห่งนี้จัดทำ นโยบายสาธารณะ หรือข้อเสนอความต้องการของคนสตูลเป็นประจำทุกปี โดยได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัด นากยกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นักการเมือง และผู้มีบทบาทสำคัญในจังหวัดสตูลมารับข้อเสนอจาก เวทีสมัชชาฯ เพื่อจะได้นำไปเป็นแนวทางในการออกแบบการพัฒนาจังหวัดในด้านต่าง ๆ นอกจากนั้น แล้ว “สมัชชาคนสตูล” ได้ทำหน้าที่จัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากความคิดเห็นอันแตกต่างได้อย่าง น่าสนใจ โดยเฉพาะโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราที่ต้องยกเลิกไปเพราะการต่อสู้กันด้วยข้อมูลและด้วย เหตุด้วยผลของพื้นที่ การสร้างพื้นที่กลางจึงเป็นกลยุทธ์การขับเคลื่อนทางสังคมที่คนสตูลนำมาประยุกต์ ใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของนักปฏิบัติการทางสังคม ซึ่งหมายถึง การสร้างกระบวนการมี ส่วนร่วมของประชาชนระดับฐานล่าง เพื่อให้มีความสามารถในการคิดค้นออกแบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ของตนเองให้เป็นไปตามความต้องการ และตั้งอยู่บนฐานศักยภาพที่มีอยู่จริง
Description: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ความขัดแย้งและสันติศึกษา), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19151
Appears in Collections:9506 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5910022005.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons