Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19128
Title: ผลของโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก และความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจาง
Other Titles: The Effects of Nutrition Promotion Program on Food and Iron Supplement Consumption Behaviors and Hematocrit Among Teenage Pregnant Women with Anemia
Authors: สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ
ศรัณยา ลาโมะ
Faculty of Nursing (Obstetric and Gynaecologic Nursing and Midwifecy)
คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์
Keywords: เลือดจางในสตรีมีครรภ์;ครรภ์ในวัยรุ่น;ครรภ์ แง่โภชนาการ
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This quasi-experimental study aimed to test the effects of nutrition promotion program on food and iron supplement consumption behaviors and hematocrit among teenage pregnant women with anemia. The sample consisted of 50 teenage pregnant women with anemia who were receiving antenatal care at a community hospital during May, 2019 to February 2020. They were purposively selected and assigned into the experimental group (n=25) or the control group (n=25). The experimental group received the nutrition promotion program in addition to regular antenatal care service. The control group received regular antenatal care service. The research instruments consisted of 1) the demographic data form 2) the pregnancy data form, and 3) the Food and Iron Supplement Consumption Behaviors form. All instruments were examined for content validity by 3 experts. The reliability of the Food and Iron Supplement Consumption Behaviors Form was tested using Cronbach's alpha coefficient, yielding a value of 90. The data were analyzed descriptively using frequency, percentage, mean and standard deviation. The hypotheses were tested using inferential statistic: independent t-test and paired t-test. The results revealed that: 1. Teenage pregnant women who received the additional nutrition promotion program had significantly higher mean score of food and iron supplement consumption behaviors and hematocrit after intervention than before intervention. (p < .001) 2. After the intervention period teenage pregnant women who had received the additional nutrition promotion program had significantly higher mean score of food and iron supplement consumption behaviors and hematocrit than those in the control group. (p < .001) The study findings indicate that the nutrition promotion program can improve food and iron supplement consumption behaviors and hematocrit among teenage pregnant women with anemia.
Abstract(Thai): การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็กและความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจาง ที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในภาคใต้ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2562 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กําหนด จํานวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่งได้รับโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการ จํานวน 25 ราย และ กลุ่มควบคุมทีได้รับบริการฝากครรภ์ตามปกติ จํานวน 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามข้อมูลการตั้งครรภ์ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภค อาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก ซึ่งเครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุ เหล็กของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจาง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ได้เท่ากับ 90 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้สถิติการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยสถิติที่อิสระ และ สถิติทีคู่ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจางหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก และความเข้มข้นของเลือดสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .001) 2. หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจางหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก และความเข้มข้นของเลือดสูงกว่ากลุ่ม ควบคุมหลังได้รับบริการฝากครรภ์ตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการ ช่วยส่งเสริมพฤติกรรม การบริโภคอาหารและยาเสริมธาตุเหล็ก และเพิ่มความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจางได้
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การผดุงครรภ์))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19128
Appears in Collections:648 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
447015.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons