Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19108
Title: The roles of government organizations and key stakeholders toward a sustainable food tourism development of chinese tourist target :case study of Phuket municipality
Other Titles: บทบาทของหน่วยงานภาครัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างยั่งยืนในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน :กรณีศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต
Authors: Pim de Jong
Putsadee Sanitprem
Faculty of International Studies
คณะวิเทศศึกษา
Keywords: Food tourism Thailand Phuket Municipality;Visitors, Foreign Thailand Phuket Municipality
Issue Date: 2019
Publisher: Prince of Songkla University
Abstract: Nowadays tourism is a popular activity during leisure of human. Every country earns large revenues from tourism industry, and Thailand becomes one of world famous destinations in this matter. When food is a necessary for human daily life so that a variety of foods as well as a variety of restaurants developed together with tourism as a tourism component of that destination. Tourism type trends to be various depended on tourist's lifestyle and any changes, and food tourism is another travel style purpose. The trend of food tourism and the announcement of 'a City of Gastronomy' by UNESCO in Phuket are great opportunities on sustainable tourism development. While, a success of food tourism development is essentially contributed from a mutual cooperation in a community especially government organizations. This research aimed to study Phuket government organizations' roles toward promoting and supporting food tourism and to study the development of food tourism in Phuket based on Chinese tourists. A qualitative research was applied to study food tourism of Phuket by collecting data through observation and in-depth interview of government and private organizations, Thai restaurants and Chinese tourists in Phuket Municipality. All government organizations and some private organizations have own responsibilities and roles on social development and food tourism development based on inherit cultural values emphasis so that Phuket traditional cultures are preserved till present. As a Creative City of Gastronomy by UNESCO in 2015 particularly encourages government organizations and other sections coordinating for further community development. Nevertheless, the coordination of public sectors and local restaurants barely shown on other dimensions excepting education support. A popularity of Phuket encourages a number of Chinese tourists are continually visiting and enjoying eating, even though they have low awareness of Phuket traditional food. The development of food tourism by analyzing through the marketing mix (4Ps) including product, price, place and promotion and PHUKET model could effectively attract Chinese tourist target and increase a good awareness of Phuket traditional food culture. Online applications and social media are efficient promoting methods for tourists nowadays as technology has been a part of human life during globalization. Besides, a consideration of restaurant atmosphere or decoration and taste standard of food will achieve tourist excellent experience on food tourism in Phuket.
Abstract(Thai): ปัจจุบันการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความนิยมในช่วงเวลาว่างของมนุษยชน ประเทศต่างๆมีรายได้จํานวนมหาศาลจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและประเทศไทยก็เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก ขณะที่อาหารคือสิ่งจําเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์อาหารชนิดต่างๆตลอดจนร้านอาหารจํานวนมากมายจึงได้รับการพัฒนาในบริบท ส่วนประกอบของการท่องเที่ยวพร้อมกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของจุดหมายปลายทางนั้นรูปแบบ การท่องเที่ยวมีแนวโน้มหลากหลายมากยิ่งขึ้นตามวิถีการดําเนินชีวิตของนักท่องเที่ยวและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งนี้การท่องเที่ยวเชิงอาหารจึงเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่ออีกจุดประสงค์หนึ่ง กระแสการท่องเที่ยวเชิงอาหารและการได้รับรางวัลเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหารจากองค์กร ยูเนสโกของจังหวัดภูเก็ตถือเป็นโอกาสอันดีในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อีกทั้งการ พัฒนาการท่องเที่ยวจะสําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีหากได้รับการร่วมมือภายในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากหน่วยงานภาครัฐ งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัด ภูเก็ตต่อการพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารและเพื่อศึกษาการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน การวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและศึกษาการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดภูเก็ตโดยอาศัยการเก็บข้อมูลจากการสังเกตุการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน ร้านอาหารไทยและนักท่องเที่ยวชาวจีนในเขตเทศบาลนครภูเก็ต ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่าง กันไปในการพัฒนาชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยคํานึงถึงความสําคัญของคุณค่าทาง วัฒนธรรมเป็นพื้นฐานจนทําให้วัฒนธรรมพื้นเมืองจังหวัดภูเก็ตได้รับการอนุรักษ์ไว้จวบจนปัจจุบันการ ได้รับรางวัลเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558ช่วยผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงภาคส่วนอื่นๆให้ความร่วมมือเพื่อต่อยอดการพัฒนาชุมชนมากขึ้น ทั้งนี้ความร่วมมือด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการอบรมให้ความรู้ระหว่างหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและร้านอาหารยังคงพบเห็นได้ น้อย ความมีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ตส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางมาท่องเที่ยวและเพลิดเพลินกับการรับประทานอาหารอย่างต่อเนื่อง แม้ว่านักท่องเที่ยวเหล่านั้นจะไม่ค่อยรู้จักอาหารพื้นเมืองภูเก็ต การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยการวิเคราะห์ผ่านส่วนประสมการตลาด ซึ่งประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดจําหน่ายและการส่งเสริมการตลาด และโมเดล PHUKET สามารถช่วยดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวชาวจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมอาหารของจังหวัดภูเก็ต อนึ่งแอปพลิเคชันออนไลน์และโซเชียลมีเดียเป็นช่อง ทางการประชาสัมพันธ์แก่นักท่องเที่ยวที่มีประสิทธิผลในปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินชีวิตในยุคโลกาภิวัตน์ อีกทั้งการคํานึงบรรยากาศหรือการตกแต่งโดยรอบของร้านอาหารและมาตรฐานรสชาติอาหารจะทําให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารในภูเก็ตที่ดีมากขึ้น
Description: Thesis (M.A., Chinese Studies (International Program))--Prince of Songkla University, 2019
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19108
Appears in Collections:805 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435525.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons