Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19083
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมชาย ศรีวิริยะจันทร์ | - |
dc.contributor.author | ศิรินภา ดอกดวง | - |
dc.date.accessioned | 2023-11-21T02:46:17Z | - |
dc.date.available | 2023-11-21T02:46:17Z | - |
dc.date.issued | 2018 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19083 | - |
dc.description | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชวิทยา), 2561 | en_US |
dc.description.abstract | Kusunokinin, a lignin compound from Piper nigrum, shows an antiproliferation and induction of apoptosis on breast cancer cells. Moreover, in vivo study found that kusunokinin inhibited the growth of tumor volume in Sprague-Dawley rats. However, the previous study provides insufficient data of molecular mechanism of kusunokinin. Therefore, this work was aimed to study the molecular mechanism of kusunokinin in N-nitroso-N-methylurea (NMU) induced mammary tumor Sprague-Dawley rats. After tumor was found, rats were treated with 7 and 14 mg/kg of kusunokinin or 0.5 mg/kg of doxorubicin (an ineffective dose) or the combination of 0.5 mg/kg doxorubicin with 7 mg/kg of kusunokinin for 14 days. Then, protein levels of cell cycle, proliferation, angiogenesis, and migration in mammary tumor tissue were investigated using Western blot analysis. Proteins in four pathways were determined including proliferation (c-Src, PI3K, Akt, p-Erk1/2, Erk1/2, p-STAT5, STAT5 and Wnt-4), cell cycle (E2f-1 and Cyclin D1), angiogenesis (VEGF) and migration (E-cadherin, MMP-2 and MMP-9). The results showed that 14 mg/kg of kusunokinin inhibited phosphorylation of Erk1/2 and c-Src, and tended to decrease protein levels of PI3K, Akt, and E2f-1 which were associated in cell cycle and proliferation. Surprisingly, doxorubicin alone and the combination with kusunokinin showed a significant difference in p-Erk1/2 protein. Furthermore, kusunokinin also reduced the protein level in angiogenesis, VEGF, but did not showed a significant different. For migration pathway, 14 mg/kg of kusunokinin showed significantly suppressed the protein levels of E-cadherin and MMP-9. Finally, the inhibition of cell migration of kusunokinin was confirmed in MCF-7 cells using Wound healing assay. The results showed that kusunokinin at 0.286 and 0.571 μg/mL inhibited the migration of MCF-7 cells in a dose-dependent manner. These results suggest that the molecular mechanism of kusunokinin, might be through the suppression of protein in proliferation and migration pathways via down-regulation of c-Src, p-Erk1/2, E-cadherin and MMP-9. The outcome from this study will be provided the necessary information of kusunokinin in developing a specific targets therapeutic drugs for breast cancer. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand | * |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ | * |
dc.subject | เซลล์ การเจริญเติบโต การควบคุม | en_US |
dc.subject | มะเร็งเต้านม | en_US |
dc.title | ผลของคูซูโนคินินต่อระดับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเกิดมะเร็งเต้านมในหนูขาว | en_US |
dc.title.alternative | Effect of Kusunokinin on the Protein Levels Involved in Mammary Tumorigenesis Rats | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Science (Pharmacology) | - |
dc.contributor.department | คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเภสัชวิทยา | - |
dc.description.abstract-th | สารคูซูโนคินินจัดอยู่ในกลุ่มลิกแนน เป็นสารบริสุทธิ์ที่สกัดได้จากพริกไทยดา (Piper nigrum) มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและเหนี่ยวนาให้เซลล์มะเร็งเต้านมเกิดการตายแบบอะพอพโท-ซิส จากการศึกษาแบบ in vivo ในหนูทดลองสายพันธุ์ Sprague-Dawley พบว่าสารคูซูโนคินินสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนมะเร็งเต้านมได้ อย่างไรก็ตามการศึกษาก่อนหน้านี้ยังไม่สามารถอธิบายกลไกการออกฤทธิ์ในระดับโมเลกุลของสารคูซูโนคินินได้ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการออกฤทธิ์ในระดับโมเลกุลของสารคูซูโนคินินในหนูขาวใหญ่สายพันธุ์ Sprague-Dawley ที่ถูกเหนี่ยวนาให้เป็นมะเร็งเต้านมด้วยสารเอ็น-ไนโตรโซ-เอ็น-เมทิลยูเรีย (N-nitroso-N-methylurea หรือ NMU) โดยให้สารที่จะทดสอบกับหนูเมื่อพบก้อนมะเร็ง สารที่ให้ ได้แก่ สารคูซูโนคินินขนาด 7 และ 14 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือยาเคมีบาบัดชนิดด็อกโซรูบิซินขนาด 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (เป็นขนาดที่ไม่สามารถรักษามะเร็งได้) หรือยาเคมีบาบัดชนิดด็อกโซรูบิซินขนาด 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับสารคูซูโนคินินขนาด 7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ให้สารเป็นเวลา 14 วัน จากนั้นนาตัวอย่างก้อนมะเร็งเต้านมมาศึกษาระดับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแบ่งตัว กระบวนการเจริญเติบโต กระบวนการสร้างหลอดเลือด และกระบวนการเคลื่อนที่ของเซลล์ด้วยวิธี Western blot analysis โดยโปรตีนที่ทาการศึกษาประกอบด้วยโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเจริญเติบโต ได้แก่ c-Src, PI3K, Akt, p-Erk1/2, Erk1/2, p-STAT5, STAT5 และ Wnt-4, โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับวัฏจักรของเซลล์ ได้แก่ E2f-1 และ Cyclin D1, โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างหลอดเลือด ได้แก่ VEGF และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเคลื่อนที่ของเซลล์ ได้แก่ E-cadherin, MMP-2 และ MMP-9 จากผลการทดลองพบว่าสารคูซูโนคินินขนาด 14 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถยับยั้งกระบวนการเติมหมู่ฟอสเฟตให้กับโปรตีน Erk1/2 และลดระดับโปรตีน c-Src ได้ และยังมีแนวโน้มลดระดับโปรตีน PI3K, Akt และ E2f-1 ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์ด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าการให้ยาเคมีบาบัดชนิดด็อกโซรูบิ- ซินเพียงชนิดเดียวและการให้ยาเคมีบาบัดชนิดด็อกโซรูบิซินร่วมกับสารคูซูโนคินินสามารถลดระดับโปรตีน p-Erk1/2 ได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ และสารคูซูโนคินินยังสามารถลดระดับโปรตีน VEGF ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างหลอดเลือดได้อีกด้วย แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ส่วนการศึกษาโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเคลื่อนที่ของเซลล์ พบว่าสารคูซู-โนคินินขนาด 14 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถยับยั้งโปรตีน E-cadherin และ MMP-9 ได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ จากนั้นทาการยืนยันผลการยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์โดยศึกษาในเซลล์มะเร็งเต้านมเพาะเลี้ยงชนิด MCF-7 ด้วยวิธี Wound healing assay จากการทดลองพบว่าสารคูซูโนคิ- นินที่ความเข้มข้น 0.286 และ 0.571 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์ MCF-7 ได้ โดยการยับยั้งเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่ากลไกระดับโมเลกุลของสารคูซูโนคินินในการยับยั้งมะเร็งเต้านมอาจเกี่ยวข้องกับการยับยั้งโปรตีนที่อยู่ในกระบวนการแบ่งตัวและกระบวนการเคลื่อนที่ของเซลล์ โดยสารคูซูโนคินินไปลดระดับโปรตีน c-Src, p-Erk1/2, E-cadherin และ MMP-9 ซึ่งผลการศึกษาที่ได้นี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาสารคูซูโนคินินเป็นยารักษามะเร็งเต้านมชนิดจาเพาะกับโปรตีนเป้าหมายได้ | en_US |
Appears in Collections: | 336 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
433006.pdf | 4.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License