Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19073
Title: ลักษณะที่พึงประสงค์และประสิทธิผลทางคลินิกของโมบายแอปพลิเคชันต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยสูงอายุที่มีกลุ่มอาการทางเมตาบอลิก
Other Titles: Desirable characteristics and clinical effectiveness of mobile application on medication adherence in elderly patients with metabolic syndrome
Authors: กร ศรเลิศล้ำวานิช
จิรายุ ชาญชัยชูจิต
Faculty of Pharmaceutical Sciences (Pharmacy Administration)
คณะเภสัชศาสตร์ ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ
Keywords: ผู้สูงอายุ การใช้ยา;เมทาบอลิกซินโดรม
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This research was a study of desirable characteristics and clinical effectiveness of mobile application on medication adherence in elderly patients with metabolic syndrome such as hypertension, diabetes mellitus and hyperlipidemia as an alternative self-care and improving of quality of life. The research process was a mixed method of qualitative and quantitative research. There was divided into 2 parts. The first part was documentary research and targeted interviews to gather data about desirable characteristics of mobile application for the elderly. The second part was study of clinical effectiveness of mobile application on medication adherence. This part had been selected subjects randomly. The subjects were divided into 2 groups. First group was 32 people in experimental group, while second group was 35 people in control group. The results of research were evaluated into two parts. The first part was the clinical evaluation before and after the research, including blood pressure and plasma glucose level. The second part was measurement of medication adherence included 1) Pill count is measured by counting the tablets, which measured after the installation of the mobile application. 2) Questionnaire for medication adherence was measured before and after the study. The duration of the study was based on a physician appointment of the individual patient. Research Results: Mobile application suitable for older people should have the same abilities as older people such as vision, hearing, touching and memory. In this study, the mobile application would require basic drug information such as drug name, indications and side effects, as well as a drug reminding system to encourage and enhance patient medication adherence. For clinical results, after the experiment, blood pressure (Systolic) of the experimental group was significantly decrease when compare with control group (P-value <0.001) and blood pressure (Diastolic) was not significantly different from those in the control group (P-value = 0.196). The plasma glucose level of the experimental group was lower but not significantly different from the control group (P-value=0.296). For the result of medication adherence, the experimental group had an average score of pill count increase significantly from 78.43 to 85.45(P-value <0.001). There was a statistically significant difference in the questionnaires score between the experimental group and control group. The mean was 17.97 and 15.14 (F= 16.442, P<0.001) Conclusion: A mobile application on mobilephone was suitable for using and collaborates to use in elderly patient. As a result, the used of mobile applications can increase medication adherence and include clinical outcomes that are likely to improve.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาลักษณะที่พึงประสงค์และประสิทธิผลทางคลินิกของโมบาย แอปพลิเคชันต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยสูงอายุที่มีกลุ่มอาการทางเมตาบอลิก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง เพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลตัวเอง และเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยขั้นตอนการวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างงานวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์เอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายเพื่อ รวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมของโมบายแอปพลิเคชั่นสําหรับผู้สูงอายุ 2) การศึกษาผลความร่วมมือใน การใช้ยาและประสิทธิผลทางคลินิก จากการนําโมบายแอปพลิเคชันมาประยุกต์ใช้ สําหรับขั้นตอนนี้ ได้มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จํานวน 32 คน และกลุ่มควบคุมจํานวน 35 คน ซึ่งการวัดผลการวิจัยแบ่งออกเป็นสองแบบ อย่างแรกคือการวัดผลทางคลินิกก่อนและ หลังการวิจัย ได้แก่ ระดับความดันโลหิตสูง ระดับพลาสมากลูโคส และการวัดผลความร่วมมือในการ ใช้ยา ได้แก่ การนับเม็ดยาซึ่งจะทําการวัดผลหลังจากการติดตั้งโมบายแอปพลิเคชันทั้งสิ้นสองครั้ง และแบบสอบถามความร่วมมือในการใช้ยาซึ่งวัดผลก่อนและหลังการวิจัย โดยระยะเวลาในการวิจัย อ้างอิงจากการมาพบแพทย์ตามนัดของผู้ป่วยแต่ละคนบุคคลเป็นจํานวน 2 ครั้ง ผลการวิจัย: โมบายแอปพลิเคชันที่เหมาะสมกับการใช้งานของผู้สูงอายุควรมีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับ ศักยภาพของผู้สูงอายุร่วมด้วย เช่น การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัสและการจดจํา เป็นต้น และเมื่อ นํามาประยุกต์ใช้ในการศึกษาความร่วมมือในการรับประทานยา โมบายแอปพลิเคชันดังกล่าวจะต้องมี ข้อมูลยาเบื้องต้น เช่น ชื่อยา ข้อบ่งใช้และผลข้างเคียง เป็นต้น รวมถึงระบบการเตือนการรับประทาน ยาเพื่อกระตุ้นและเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย สําหรับผลทางคลินิก พบว่าภายหลังการ ทดลองระดับความดันโลหิตตัวบนเฉลี่ย (Systolic) ของกลุ่มทดลองลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (P-value<0.001) และระดับความดันโลหิตตัวล่างเฉลี่ยลดลงแต่ไม่ แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P-value=0.196) รวมถึงระดับพลาสมากลูโคส ของกลุ่มทดลองลดลงแต่ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (P-value=0.296) สําหรับการติดตามความ ร่วมมือในการใช้ยาภายหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยจากการนับเม็ดยาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78.43 เป็น 85.45 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P-value<0.001) และกลุ่มทดลองมีความ ร่วมมือในการใช้ยาที่มากกว่ากลุ่มควบคุมเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาจาก แบบสอบถามอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.97 และ 15.14 (F= 16.442, P<0.001) สรุปผลการวิจัย: โมบายแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือมีความเหมาะสมสามารถนํามาใช้กับผู้ป่วยสูงอายุได้และผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวสามารถใช้งานแอปพลิเคชั่นได้เป็นอย่างดี เป็นผลให้เกิดความร่วมมือ ในการใช้ยาที่เพิ่มขึ้นและผลการรักษาทางคลินิกที่เป็นไปในแนวโน้มที่ดี
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม. (เภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19073
Appears in Collections:575 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
435131.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons