Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19059
Title: การจัดลำดับของรถบรรทุกสินค้าในการข้ามพรมแดนไทย-มาเลเซีย กรณีศึกษาด่านสะเดา จังหวัดสงขลา
Other Titles: Scheduling Commercial Trucks at a Thailand-Malaysia Border Crossing Case Study of Sadao Border, Songkla
Authors: นิกร ศิริวงศ์ไพศาล
ปาลิดา สุทธิชี
Faculty of Engineering (Industrial Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Keywords: การขนส่งด้วยรถบรรทุก สะเดา (สงขลา);ไทย การค้าระหว่างประเทศ มาเลเซีย
Issue Date: 2018
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The main aim of the research was to scheduling commercial trucks at a Thailand - Malaysia border crossing case study of Sadao Border, Songkla. To from the study reference research about border crossing find that use more time for pass process of customs clearance 68% use time less than 6 hour and 27% use time more than 6 hour but less than 12 hour in weekday. This research develops the scheduling assignment for the commercial trucks by using Earliest Due Date rule (EDD) and for flow shop (Non-permutation). The simulation approach using ProModel® software is employed to model the actual system. By will consider in time and cost reduction result for border crossing. By implementing the scheduling concept, the results show that the truck waiting time decreases by 88.26% (31 minutes per truck), reduces the average time in system by 53.55% (178.36 minutes per truck), and diminishes the transportation cost 155.01 Baht per trip. The proposed method provides an advantageous solution for the decision-makers in order to improve the effectiveness of the border crossing activities.
Abstract(Thai): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดตารางเวลาของรถบริษัทตัวแทนออกของใน การข้ามพรมแดนไทย – มาเลเซีย ด่านสะเดา จังหวัดสงขลา จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าการใช้บริการขนส่งข้ามพรมแดนของรถบรรทุกจากบริษัทตัวแทนออกของ คอยเป็นเวลานาน โดยใช้เวลารอคอยน้อยกว่า 6 ชั่วโมงร้อยละ 67 และอยู่ในช่วงเวลา 6 ชั่วโมง - 12 ชั่วโมง ร้อยละ 28 ในวันทําการปกติเกิดเวลารอ งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาตัวแบบจําลองสถานการณ์ในการขนส่งข้ามพรมแดนโดยการใช้ซอฟต์แวร์ (ProModel®) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบของการขนส่งข้ามพรมแดน โดยใช้แบบจําลองเป็นเครื่องมือเพื่อแสดงผลลัพธ์จากการปรับปรุงด้วยการเพิ่มแนวคิดการจัดตารางเวลารถบรรทุกด้วยหลักการพิจารณาทํางานที่มีกําหนดส่งมอบเร็วที่สุดก่อน (Earliest due date rule : EDD) และการจัดลําดับงานแบบ (Non-Permutation) โดยจะพิจารณาผลลัพธ์จากเวลารอคอยและต้นทุนการขนส่งข้ามพรมแดนที่ลดลง ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดการจัดตารางเวลารถบรรทุกสามารถลดเวลารอคอยในการขนส่งข้ามพรมแดนซึ่งเปรียบเทียบจากผลลัพธ์ของแบบจําลองสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า เวลารอคอย เฉลี่ยทั้งระบบลดลงเหลือ 31 นาทีต่อคัน (คิดเป็น 88.26%) และส่งผลให้ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้ บริการทั้งระบบลดลงเหลือ 178.36 นาทีต่อคัน (คิดเป็น 53.55%) และต้นทุนขนส่งลดลง 155.01 บาทต่อเที่ยว ดังนั้นการจัดตารางเวลาของรถบรรทุกสามารถช่วยลดเวลารอคอยในการเข้ารับบริการ ขนส่งข้ามพรมแดนได้ และสามารถเพิ่มศักยภาพในการให้บริการของผู้ประกอบการการขนส่ง เพิ่มขีด ความสามารถในการให้บริการของด่านศุลกากรจากเดิมการให้บริการที่เกินเวลาทํางานของด่านศุลกากรสามารถให้บริการได้ทันเวลาทําการของทางศุลกากร และเพิ่มการแข่งขันในตลาดการค้าชายแดนได้
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2561
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19059
Appears in Collections:228 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
432947.pdf6.37 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons