Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18981
Title: รูปแบบนวัตกรรมการจัดการความรู้องค์กรเพื่อสาธารณประโยชน์ด้านผู้สูงอายุ:กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา
Other Titles: Innovative Knowledge Management Model for Elderly Public Interest Organization : A Case Study of Songkhla Province
Authors: วสันต์ อติศัพท์
สมกมล สังขรัตน์
Faculty of Education (Educational Administration)
คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา
Keywords: รูปแบบการจัดการความรู้;ผู้สูงอายุ;นวัตกรรมเพื่อสังคม;องค์กรสาธารณประโยชน์;การบริหารองค์ความรู้
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objectives of this research were to study the current situation of knowledge management of public interest organizations for elderly citizen in local community context, to develop an innovative model of knowledge management for elderly, and to evaluate the feasibility of the model by using Songkhla province as a case study. Mixed method research was applied to the study as the following : a quantitative research method was undertaken; a survey questionnaire was used to collect the data of on-going knowledge management of public interest organizations in the province and challenging issues. In addition, the qualitative data was collected by interviewing with key informants to explore in-depth the critical issues for developing the innovative model effective for knowledge management in the local context. The subjects for data collection consisted of the organizational administrators, the elderly members and other stakeholders who had attended activities in knowledge management with public interest organizations. The subjects were purposive selected from 5 public interest organizations listed in Songkhla province with consistent service knowledge management for elderly for at least 2 years continuingly, namely the Healthy Elderly Club Nam Noi, the Elderly Club Baan Suan Son, the Elderly Club Hat Yai Municipality, the Elderly Club Khun Taut Wai Sub-district, and the Elderly Club Wang Yai Sub-district Administrative Organization. The data was analyzed and used to create a model of knowledge management practical for senile citizen in the according area and evaluated by the experts. The results of study showed that the knowledge management for elderly person was necessary for improving quality of life and required by the local community. The study unfolded that there were issues of how to be beneficial of existing knowledge and the obstacle in accessing the required knowledge for elderly persons. The effective model of knowledge management suitable for elderly persons found in this study is NHC-SPEC model, namely: N - Nursing service, H - Home Healthcare, C - Community care, S-Skill development, P-Platform creation, E-Push to Effect, C- Expand to Cover. The model can facilitate community engagement and self-efficacy development in the elderly, leading to the creation of social innovation that fulfill the need of society for the elderly’s quality of life.
Abstract(Thai): การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการณ์การจัดการความรู้ขององค์กร สาธารณประโยชน์ด้านผู้สูงอายุในบริบทพื้นที่ชุมชนที่อาศัย พัฒนารูปแบบนวัตกรรมการจัดการ ความรู้องค์กร และศึกษาประเมินความเหมาะสมการใช้รูปแบบโดยใช้กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัด สงขลา วิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถามสํารวจความคิดเห็นจากประสบการณ์ที่มีต่อสภาพการทํางานขององค์กร และการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลในประเด็นที่มีความสําคัญต่อการสร้าง และประเมินรูปแบบ นวัตกรรมการจัดการความรู้ด้านผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างสําหรับการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้มีส่วนร่วมในการให้บริการ สมาชิกองค์กรและผู้ใช้บริการ โดยเลือกจากองค์กรเพื่อ สาธารณประโยชน์ที่มีกิจกรรมบริการผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 2 ปี จํานวน 5 แห่ง คือ ชมรมผู้สูงอายุรักสุขภาพน้ําน้อย ชมรมผู้สูงอายุบ้านสวนสน ชมรมผู้สูงอายุเทศบาล นครหาดใหญ่ ชมรมผู้สูงอายุตําบลขุนตัดหวาย และชมรมผู้สูงอายุ อบต.วังใหญ่ นําข้อมูลที่ได้มา สังเคราะห์รูปแบบการจัดการความรู้โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน และประเมิน ความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการศึกษา พบว่า การจัดการความรู้สําหรับผู้สูงอายุ มีความสําคัญต่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการของชุมชนในพื้นที่ การศึกษาชี้ให้เห็น ความจําเป็นที่ต้องมีการพัฒนาการจัดการความรู้ให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงความรู้ที่ต้องการของผู้สูงอายุ รูปแบบการจัดการความรู้ ที่ค้นพบจากการศึกษานี้ และมีความเหมาะสม คือ NHC-SPEC Model ประกอบด้วย ระบบบริการ ด้านพยาบาล (Nursing service, N) ระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยบ้าน (Home Healthcare, H) ระบบ การดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน (Community care, C) การพัฒนาทักษะผู้สูงอายุ (Skill development, S) การสร้างแพลตฟอร์มสารสนเทศผู้สูงอายุ (Platform creation, P) การผลักดันให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ (Push to Effect, E) และการขยายผลการดําเนินงานให้ครอบคลุม (Expand to Cover, C) รูปแบบที่ค้นพบสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน จัดเป็นนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ตอบสนองความ ต้องการของสังคมให้ผู้สูงอายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Description: ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา),2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18981
Appears in Collections:260 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5820130109.pdf12.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons