Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18221
Title: การปรับปรุงคุณภาพสีของภาพถ่ายเรตินาด้วยแบบจำลองคู่สีตรงกันข้าม
Other Titles: Retinal Fundus Image Quality Adjustment with Opponent Color Model
Authors: สาธิต อินทจักร์
เจษฎา ดิษโสภา
Faculty of Science (Computer Science)
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
Keywords: ภาพถ่ายสีจอตา;สมดุลสี;การปรับปรุงคอนทราสต์;Rayleigh CLAHE;โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม;ภาพถ่ายจอตา;การคำนวณของคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: WHO reported the number of 65 million of Age-related Macular Degeneration (AMD) patients around the world, and expected the number would increase to 300 million patients by the year 2040. Currently, ophthalmologists rely on retinal fundus photographs to analyze AMD lesions. Nevertheless, sometimes the photographs have an unsatisfactory quality such as low contrast, under or over exposure which results in difficulties for the experts to analyze lesions. So, it is suggested to have the unsatisfactory photographs improved to enhance anatomical details appearance before use by the experts. This thesis proposed an effective retinal fundus image simulation modeling to enhance contrast and adjust the color balance. It is aimed to assist ophthalmologists in AMD lesion screening. The proposed method consists of a few steps to achieve the intent. Firstly, an input image is improved contrast with CLAHE technique by using CIE L^* a^* b^* color space. Then, the histogram of the output image from previous step is stretched and rescaled by a scaling histogram technique to adjust its overall brightness offset to meet the Hubbard’s retinal fundus image proper range standard. This thesis used images as experimental data from two datasets, DiaretDB0 and STARE datasets. The results indicate the proposed method yields a highly contrast and color-balance output which fits the Hubbard’s standard and easier to screen lesions.
Abstract(Thai): องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้รายงานจำนวนผู้ป่วยโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (AMD) จำนวน 65 ล้านรายจากทั่วโลก และตัวเลขจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 300 ล้านรายภายในปี ค.ศ. 2040 ในปัจจุบันการวิเคราะห์รอยโรค AMD นั้นใช้การวิเคราะห์ภาพถ่ายสีจอตา ซึ่งบางครั้งภาพถ่ายที่ได้นั้นมีคุณภาพที่ต่ำ เช่น มีคอนทราสต์ที่ต่ำ มีแสงที่มืดหรือสว่างเกินไป เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์รอยโรคจากภาพถ่ายนั้นได้ยาก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องทำการปรับปรุงคุณภาพของภาพถ่ายเหล่านี้เพื่อทำให้รายละเอียดทางกายวิภาคดีขึ้นก่อนที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญทำการวิเคราะห์รอยโรคต่อไป งานวิจัยชิ้นนี้จึงนำเสนอแบบจำลองเพื่อการปรับปรุงคอนทราสต์และสมดุลสีของภาพถ่ายสีจอตาที่มีประสิทธิภาพ เป้าหมายของงานวิจัยชิ้นนี้เพื่อช่วยผู้เชี่ยวชาญคัดกรองรอยโรค AMD โดยขั้นตอนวิธีของงานวิจัยประกอบด้วย ขั้นตอนแรกจะทำการปรับปรุงคอนทราสต์ของภาพถ่ายด้วยเทคนิค CLAHE โดยใช้แบบจำลองสี CIE L^* a^* b^* และขั้นตอนถัดไปจะทำการยืดและสเกลฮิสโทแกรมของภาพใหม่ด้วยเทคนิคการสเกลฮิสโทแกรมเพื่อปรับปรุงออฟเซตความสว่างโดยรวมของภาพถ่ายให้เป็นตามมาตรฐานช่วงความสว่างของภาพถ่ายสีจอตาที่ดีของ Hubbard งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ภาพถ่ายสีจอตาในการทดลองจากสองชุดข้อมูล ได้แก่ ชุดข้อมูล DiaretDB0 และชุดข้อมูล STARE ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าวิธีที่นำเสนอให้ภาพผลลัพธ์ที่มีคอนทราสต์และสมดุลสีที่ดีขึ้นและเหมาะสมสำหรับใช้ในการวิเคราะห์รอยโรคตามมาตรฐานของ Hubbard
Description: วิทยาศาสตรมหาบัณทิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์),2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18221
Appears in Collections:344 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6110220125.pdf7.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons