Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18219
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ-
dc.contributor.authorสิริมา หิมะเซ็น-
dc.date.accessioned2023-10-16T03:00:05Z-
dc.date.available2023-10-16T03:00:05Z-
dc.date.issued2022-
dc.identifier.urihttp://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18219-
dc.descriptionศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต(การวิจัยและประเมินผลการศึกษา), 2565en_US
dc.description.abstractThis research aims to 1) develop a model to measure entrepreneurial characteristics of undergraduate students in the three southern border provinces. 2) Examine the coherence of the hypothetical causal relationship model with the empirical data. 3) Study the causal factors that influence both directly and indirect influence on entrepreneurial characteristics of undergraduate students in the three southern border provinces. The sample group used in this research was 600 undergraduate students in the three southern border provinces. The research instrument was a 5-level estimator questionnaire. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, skewness, bulge, Pearson's correlation coefficient. Path analysis using LISREL Version 8.72 program. The research finding were as follows: 1. Measure of entrepreneurship characteristics of undergraduate students in the three southern border provinces Likert's 5-level estimator has 18 questions, classified into 5 components: innovation; risk-taking proactive courage to compete having independence in administration Analytical validity was between 0.60 and 1.00, the whole confidence was 0.878, and the discriminant power was between 0.306 and 0.850. The results of the corroborative component analysis (CFA) showed that the model of measuring entrepreneurial characteristics of students are structurally correct The model is harmonious with the empirical data. 2. The hypothetical causal relationship model is harmonious with the empirical data. and the predictive coefficient (R2) of the entrepreneurial character was found to be 0.93 This indicates that the variables studied in the model can jointly explain the variance of the entrepreneurial character of the three undergraduate students. Southern border provinces got 93% with a statistical significance of .01 3. Causal Factors Influencing Entrepreneurial Characteristics The overall influence was highest from family factors, followed by personal characteristics factors. learning management factors. The factors that had the highest indirect influence on the student's entrepreneurial characteristics were family factors indirectly influenced through learning management. And personal characteristics to student entrepreneurial attributes. Secondly, learning management factors have an indirect influence through personal characteristics to students' entrepreneurial characteristics.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์en_US
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand*
dc.rights.urihttp://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/*
dc.subjectปัจจัยเชิงสาเหตุen_US
dc.subjectคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการen_US
dc.subjectสามจังหวัดชายแดนใต้en_US
dc.subjectการประเมินศักยภาพผู้ประกอบวิชาชีพen_US
dc.subjectผู้ประกอบการen_US
dc.titleปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรี ในสามจังหวัดชายแดนใต้en_US
dc.title.alternativeCausal Factors Influencing Entrepreneurship Characteristics of Undergraduate Students in Three Southern Border Provincesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.contributor.departmentFaculty of Education (Measurement and Educational Research)-
dc.contributor.departmentคณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา-
dc.description.abstract-thการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนใต้2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์3) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทั้งทางตรง และอิทธิพลทางอ้อมต่อคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา ปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนใต้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนใต้จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์เส้นทางโดยใช้โปรแกรม LISREL Version 8.72 ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบวัดคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนใต้มีลักษณะแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับของ Likert มีข้อคำถาม จำนวน 18 ข้อ จำแนกเป็น 5 องค์ประกอบ คือ ความมีนวัตกรรม ความกล้าเสี่ยง การทำงานเชิงรุก ความกล้าที่จะแข่งขัน การมีอิสระในการบริหารงาน ตรวจสอบความตรงเชิงพินิจมีค่าระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.878 และค่าอำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.306 ถึง 0.850 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) พบว่า โมเดลการวัดคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษามีความตรงเชิงโครงสร้าง โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) ของคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการ พบว่า มีค่าเท่ากับ 0.93 นั่นแสดงว่า ตัวแปรที่นำมาศึกษาในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาปริญญาตรีในสามจังหวัดชายแดนใต้ ได้ร้อยละ 93 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการได้รับอิทธิพลโดยรวมสูงสุดจากปัจจัยทางครอบครัว รองลงมาคือ ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยการจัดการเรียนรู้และปัจจัยการตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่อคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา คือ ปัจจัยทางครอบครัวมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการจัดการเรียนรู้ และลักษณะส่วนบุคคลไปยังคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา รองลงมา ปัจจัยการจัดการเรียนรู้มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านลักษณะส่วนบุคคลไปยังคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาen_US
Appears in Collections:276 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6420120253.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons