Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18178
Title: ปัจจัยความรุนแรงของอุบัติเหตุทางถนนและมาตรการแก้ไขบริเวณอันตราย กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต
Other Titles: Severity Factors of Road Crashes and Countermeasures of Hazardous Locations: Phuket Case Study
Authors: ปรเมศวร์ เหลือเทพ
อาริฟ ศิริวัฒน์
Faculty of Engineering Civil Engineering
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
Keywords: อุบัติเหตุทางถนน ภูเก็ต
Issue Date: 2020
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Road crashes occur from three main factors, which are 1) driver, 2) vehicle,and 3) road and environment. However, the factor that could treat hazardous locations effectively in a short period is the road and environment. The objective of this research is to apply a concept of safer roads, following a safe system approach, to treat the hazardous locations in Phuket as a case study. This is because the fatality rate in Phuket is in the top rank among tourist cities in Thailand. The study was divided into two parts. The first part reviewed several road safety measures classified by different crash types. Then, the measures were applied to correct the hazardous locations in the study area as an area-based approach. The top five hazardous locations, identified by the estimated economic losses from road crashes, consist of 1) the u-turn on the bypass road Hwy. 4024 km. 2+300 (u-turn vehicles crossing the main traffic stream), 2) the road section on Phra Phuket Kaew Rd. between km. 0+550 and km. 0+650 (a straight route followed by a reverse curve), 3) the Kuan Yak junction between Hwy. 4030 km. 16+100 and Na Ka Sud road (intersection at steep slope), 4) the Hwy. 4040 between km. 0+350 and km. 0+450 (a reverse curve on the mountainous area), and 5) the Hwy. 4040 between km. 1+450 and km. 1+550 (a reverse curve on the mountainous area). The second part of the study analyzed the road and environmental factors affecting the severity of crashes in the study area as a system-based approach. The crash data in the past three years (497 crashes) were used to develop the structural equation model (SEM). The results showed that the road factors (no safety device, slope, and highway) and environmental factors (wet road surface and unclear weather) significantly affect the crash severity (a number of casualties and vehicles). The results from the first part could be a guideline for local agencies to improve those hazardous locations. In addition, the results from the second part would be information for road agencies to take the significant factors in the process of road design and countermeasure implementation. However, other road-, vehicle-, and driver- related factors should also be considered in order to propose active countermeasures.
Abstract(Thai): อุบัติเหตุทางถนนเกิดจากปัจจัยหลัก 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ผู้ขับขี่ 2) ยานพาหนะ และ 3) ถนนและสภาพแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ส่งเสริมการแก้ไขบริเวณอันตรายให้มีความ ปลอดภัยในระยะเวลาอันสั้น คือ ถนนและสภาพแวดล้อม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ แนวทางถนนที่ปลอดภัย (Safer Roads) ตามวิถีแห่งระบบที่ปลอดภัย (Safe System Approach) ในการแก้ไขบริเวณอันตรายในจังหวัดภูเก็ตเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีอัตราการเสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของเมืองท่องเที่ยวในประเทศไทย การศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการทบทวนมาตรการเพิ่มความปลอดภัยทางถนนโดยจําแนกตามรูปแบบการชนแล้วประยุกต์ใช้มาตรการที่ได้ทบทวนกับการแก้ไขปัญหาบริเวณอันตรายเชิงพื้นที่ (Area-based) ในจังหวัดภูเก็ต 2+300 โดยพิจารณาจากค่าประมาณการมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์ของอุบัติเหตุที่ เกิดขึ้นสูงสุด 5 บริเวณแรก ประกอบด้วย 1) บริเวณจุดกลับรถบนทางเลี่ยงเมืองสาย ทล.4024 กม. ที่มีปัญหาการกลับรถตัดกระแสจราจรหลักซึ่งใช้ความเร็วสูง 2) ถนนพระภูเก็ตแก้ว ช่วง กม. 0+550 ถึง กม.0+650 ที่มีปัญหาการใช้ความเร็วบนถนนทางตรงที่ต่อด้วยทางโค้ง 3) บริเวณทางแยก ควนยักษ์ ทล.4030 ตัดกับ ถนนนาคาสุด ซึ่งมีปัญหาทางแยกบริเวณทางลาดชัน 4) ทล.4029 กม. 0+350 ถึง กม.0+450 และ 5) ทล.4029 กม.1+450 ถึง กม.1+550 ซึ่งมีปัญหาทางโค้งย้อนกลับบน ทางเขา ส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์หาปัจจัยทางถนนและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อความรุนแรงของ อุบัติเหตุทางถนนในเชิงระบบ (System-based) ของพื้นที่ศึกษา โดยใช้ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนที่ เกิดขึ้นย้อนหลัง 3 ปี รวม 497 ครั้ง ในการพัฒนาแบบจําลองสมการโครงสร้าง (SEM) ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยด้านถนน (การไม่มีอุปกรณ์เสริมความปลอดภัย ความลาดชันของถนน และถนนทาง หลวง) และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (ผิวถนนเปียกและสภาพอากาศไม่สดใส) ส่งผลต่อความรุนแรง ของอุบัติเหตุ (จํานวนผู้ประสบเหตุและจํานวนยานพาหนะที่เกี่ยวข้อง) อย่างมีนัยสําคัญ ผลการศึกษา จากส่วนแรกจะเป็นแนวทางให้หน่วยงานในจังหวัดภูเก็ตนําไปปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาบริเวณอันตราย ดังกล่าว สําหรับผลการศึกษาในส่วนที่สองจะเป็นข้อมูลให้แก่หน่วยงานทาง เพื่อให้ความสําคัญกับ ปัจจัยที่มีนัยสําคัญข้างต้นต่อการออกแบบและกําหนดมาตรการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน อย่างไรก็ ตาม อาจมีปัจจัยอื่นด้านถนน ยานพาหนะ และผู้ขับขี่ ที่ควรศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต เพื่อนําไปสู่การกําหนดมาตรการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในเชิงรุกต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมโยธา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18178
Appears in Collections:220 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
448176.pdf15.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons