Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18176
Title: | การจัดการความเร็วในช่วงเปลี่ยนแปลงบนถนนชนบทก่อนเข้าเขตชุมชน |
Other Titles: | Managing Speed in Transition Zone on Rural Roads Approaching Community Areas |
Authors: | ปรเมศวร์ เหลือเทพ วัชรา เก้าคุณากร Faculty of Engineering Civil Engineering คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา |
Keywords: | ความเร็วทางการจราจร |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract: | Overspeed is one of the main factors contributing to several crashes that occurred on national highways and rural roads between the years 2013 and 2017. Also, most of those crashes occurred on the road sections that pass through the community or approach to the community. These problems should be solved urgently. The objectives of this research are to study and to propose a guideline for an installation of traffic calming devices in the transition zone on rural roads approaching a community area. In the research, a comparative analysis was used to measures the effectiveness of three traffic calming devices, including on the overhang sign, typical the Optical Speed Bar (OSB), and the OSB with red-colored surfacing. The rural road No. SK2031, section passing Wat Khow Kloy community, and the rural road No. SK3005, section passing Wat Hin Kliang community, were selected as two case studies. The results for the case of Wat Khow Kloy showed that the overhang sign reduced 85th percentile speed 2.5 kph (or 3.52%) when the typical OSB and the OSB with red-colored surfacing reduced 4.0 kph (or 3.50%) and 15.0 kph (or 14.82%), respectively. Regarding Wat Hin Kliang case study the results showed that the overhang sign reduced 85th percentile speed 8.2 kph (or 8.70%) when the typical OSB and the OSB with red-colored surfacing reduced 9.1 kph (or 9.60%) and 15.0 kph (or 13.00%), respectively. The results from the two case studies were subsequently applied to estimate the speed after installing the three types of traffic calming devices on the national highway No. 3048, section passing Tha Lan community. The results showed that the typical OSB was the most suitable in terms of the benefit-cost ratio which were between 4.82 (exclude the impact of access roads) and 8.86 (include the impact of access roads). However, in terms of the net benefit, the OSB with red-colored surfacing provided the maximum benefit. Therefore, the installation cost may affect the selection of traffic calming devices. But if there is no budget constraint, the device may be chosen based on the net benefit. The results of this study could be a guideline for relevant agencies in order to apply the traffic calming devices on rural roads approaching community areas. |
Abstract(Thai): | การขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกําหนด เป็นมูลเหตุสันนิษฐานหลักของการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวงและทางหลวงชนบทระหว่างปี พ.ศ. 2556 - 2560 อีกทั้งอุบัติเหตุส่วนใหญ่อยู่บนทาง หลวงช่วงที่ผ่านหรือช่วงก่อนเข้าเขตชุมชน ปัญหาดังกล่าวควรมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเสนอแนะแนวทางการติดตั้งมาตรการชะลอความเร็วบนถนนชนบทช่วงค่าเปลี่ยนแปลงก่อนเข้าเขตชุมชน ในการวิจัยได้วิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิผลของมาตรการชะลอ ความเร็ว 3 รูปแบบ ประกอบด้วย การติดตั้งป้ายจราจรแขวนสูงแบบแขนยื่น และการติดตั้งแถบลด ความกว้างช่องจราจรทั้งแบบทั่วไปและแบบเพิ่มแถบสีแดง โดยเลือกถนนทางหลวงชนบท สาย สข.2031 ช่วงถนนก่อนเข้าชุมชนวัดเขากลอย และสาย สข.3005 ช่วงถนนก่อนเข้าชุมชนวัดหินเกลี้ยง เป็นเส้นทางศึกษา จากนั้นนําค่าประสิทธิผลของมาตรการชะลอความเร็วที่วิเคราะห์ได้มาประยุกต์ใช้ กับถนนทางหลวงหมายเลข 3048 ช่วงถนนก่อนเข้าชุมชนท่าลาน ผลการศึกษาส่วนแรก พบว่า สําหรับกรณีช่วงถนนก่อนเข้าชุมชนวัดเขากลอย ค่า 85 เปอร์เซ็นไทล์ของความเร็วที่ลดลงจากการใช้ ป้ายจราจรแขวนสูงแบบแขนยื่น มีค่าเท่ากับ 2.5 กม./ชม. (ลดลง 3.52 %) ส่วนแถบลดความกว้าง ช่องจราจรแบบทั่วไปและแบบเพิ่มแถบสีแดง มีค่าเท่ากับ 4.0 กม./ชม. (ลดลง 3.50 %) และ 15.0 กม./ชม. (ลดลง 14.82 %) ตามลําดับ สําหรับกรณีช่วงถนนก่อนเข้าชุมชนวัดหินเกลี้ยง 85 เปอร์เซ็นไทล์ของความเร็วที่ลดลงจากการใช้ป้ายจราจรแขวนสูงแบบแขนยื่น มีค่าเท่ากับ 8.2 กม./ชม. (ลดลง 8.70 %) ส่วนของแถบลดความกว้างช่องจราจรแบบทั่วไปและแบบเพิ่มแถบสีแดง มีค่าเท่ากับ 9.1 กม./ชม. (ลดลง 9.60 %) และ 15.0 กม./ชม. (ลดลง 13.00 %) ตามลําดับ ผลการศึกษาส่วนที่สอง ซึ่งเป็นการคาดการณ์การประยุกต์ใช้มาตรการชะลอความเร็วบนช่วงถนน ก่อนเข้าชุมชนท่าลาน พบว่า การติดตั้งแถบลดความกว้างช่องจราจรแบบทั่วไปมีความเหมาะสมใน การติดตั้งเป็นลําดับแรก โดยให้อัตราส่วนของผลประโยชน์ต่อต้นทุนอยู่ในช่วง 4.82 (กรณีไม่พิจารณา ผลกระทบจากทางเชื่อม) ถึง 8.86 (กรณีพิจารณาผลกระทบจากทางเชื่อม) แต่หากพิจารณาเฉพาะ ผลประโยชน์จากการติดตั้ง พบว่า แถบลดความกว้างช่องจราจรแบบเพิ่มแถบสีแดงให้ผลประโยชน์ สูงสุด ดังนั้น ต้นทุนของการติดตั้งมาตรการชะลอความเร็วแต่ละรูปแบบอาจมีผลต่อการเลือกลําดับความเหมาะสมของมาตรการชะลอความเร็ว แต่หากไม่มีข้อจํากัดด้านงบประมาณอาจเลือกมาตรการ ตามลําดับของผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยผลจากการศึกษานี้สามารถเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาเลือกใช้มาตรการชะลอความเร็วก่อนบนถนนชนบทเข้าเขตชุมชนต่อไป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. (วิศวกรรมโยธา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563 |
URI: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18176 |
Appears in Collections: | 220 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
448168.pdf | 16.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License