Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18133
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิรินุช ลอยกุลนันท์ | - |
dc.contributor.author | ณัชชา ใจตรง | - |
dc.date.accessioned | 2023-05-02T04:02:17Z | - |
dc.date.available | 2023-05-02T04:02:17Z | - |
dc.date.issued | 2023 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18133 | - |
dc.description | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ), 2566 | en_US |
dc.description.abstract | The purpose of this study is to study the level of motivation and work efficiency of employees and study motivation affecting work efficiency of employees of the Provincial Electricity Authority Area 3 (South) with different ages through the motivational factors together with the hygiene factors. This is a survey through an online questionnaire to collect data from a sample of 322 sets and analyze the relationship between the variables in the form of a Multiple Regression Analysis. According to research, each generation of employees has different positive motivations. The Baby Boomer generation shows positive behavior in their relationships with colleagues. In the section of Generation X, employees are positively motivated to perform at work in terms of job description, responsibility, supervisor relations, and colleague relationship. In the part of Generation Y, employees are positively motivated to their performance in terms of work achievement, responsibility, and colleague relationship. However, motivation can have a negative effect on Generation X performance in the progress factor. To sum up, it can be concluded that most employees focus on the motivation factors for job success and job characteristics. Therefore, organizations should develop policies that emphasize the importance of employee training such as provide effective training courses for employees to ensure that work outcomes meet the same standards or provide courses on various skills needed for development work. In addition, employee promotion should consider fairness and use operational information as a consideration criterion. Also executives should encourage employees to carry out various activities together to realize dialogue, exchange and learn from each other's work experience, and further strengthen the work incentives for employees. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand | * |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ | * |
dc.subject | Motivation | en_US |
dc.subject | Motivational Factors | en_US |
dc.subject | Hygiene Factors | en_US |
dc.subject | Efficiency in Performance | en_US |
dc.subject | Generation | en_US |
dc.subject | แรงจูงใจ | en_US |
dc.subject | ปัจจัยจูงใจ | en_US |
dc.subject | ปัจจัยค้ำจุน | en_US |
dc.subject | ประสิทธิภาพในการทำงาน | en_US |
dc.subject | เจนเนอเรชั่น | en_US |
dc.title | แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานที่มีอายุต่างกัน กรณีศึกษา พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคใต้) | en_US |
dc.title.alternative | The Effect of Motivation on the Efficiency in Performance of Multi-Generational Workforces. Case study of Provincial Electricity Authority Area 3 (South) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Management Sciences (Business Administration) | - |
dc.contributor.department | คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ | - |
dc.description.abstract-th | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของแรงจูงใจและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคใต้) ที่มีอายุต่างกัน และศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคใต้) ที่มีอายุต่างกันผ่านตัวแปรปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน โดยเป็นการเก็บแบบสอบถามออนไลน์ เพื่อทำการเก็บรวมรวบข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 322 ชุด และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่อยู่ในรูปแบบของการทดสอบสหสัมพันธ์ถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่าพนักงานในแต่ละเจนเนอเรชั่นมีแรงจูงใจที่ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการทำงานที่แตกต่างกัน โดยพนักงานเจนเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ มีแรงจูงใจเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการทำงานในด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน แต่พนักงานเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์มีแรงจูงใจเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการทำงานในด้านลักษณะงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และพนักงานเจนเนอเรชั่นวายมีแรงจูงใจเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการทำงานในด้านความสำเร็จในงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน อย่างไรก็ตามแรงจูงใจสามารถส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ในปัจจัยด้านความก้าวหน้า สามารถสรุปได้ว่าพนักงานโดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยจูงใจด้านความสำเร็จในงานทำ และด้านลักษณะงาน ดังนั้น องค์กรควรมีนโยบายเกี่ยวกับการให้ความสำคัญในด้านการฝึกอบรมให้กับพนักงาน เช่น การจัดอบรมหลักสูตรการปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลลัพธ์ของงานที่ออกมามีมาตรฐานเดียวกัน หรือหลักสูตรเพิ่มเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะต่างๆที่จำเป็นในการทำงาน มีการพิจารณาการเลื่อนตำแหน่งของพนักงานให้มีความยุติธรรม โดยใช้ข้อมูลการปฏิบัติงานเข้ามาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา และผู้บริหารควรมีการสนับสนุนให้พนักงานมีการจัดทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เพื่อให้พนักงานได้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ทำงานซึ่งกันและกัน เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานเพิ่มมากขึ้น | en_US |
Appears in Collections: | 460 Minor Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6410521019.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
บทความวิจัย 6410521019.pdf | 219.52 kB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License