Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18095
Title: ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันต่อ ความกลัวการคลอดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น: การวิจัยทดลอง แบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
Other Titles: The Effects of Childbirth Self-Efficacy Enhancement Program Together with Application on Fear of Childbirth Among Pregnant Teenagers:. Randomized Controlled Trial
Authors: โสเพ็ญ ชูนวล
ศศิธร พุมดวง
บุษยมาส หนูเอียด
Faculty of Nursing (Obstetric and Gynaecologic Nursing and Midwifecy)
คณะพยาบาลศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์
Keywords: แอปพลิเคชัน;สมรรถนะแห่งตนในการคลอด;ความกลัวการคลอด;หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: Fear of childbirth is a common feeling experienced by pregnant women, and it can occur before, during, or after childbirth. Intense fear has a detrimental effect on physical and psychological statuses of the pregnant women. The aim of this randomized controlled trial was to examine the effects of a childbirth self-efficacy enhancement program together with an application on fear of childbirth in pregnant teenagers. The sample was pregnant adolescents receiving antenatal care at Hatyai Hospital. A minimized randomization program was used to assign pregnant adolescents to either an experimental group to receive the the childbirth self-efficacy enhancement program together with the application (n = 64), or a control group who received routine care (n = 64). The research instruments consisted of 3 types: 1) The experimental instruments consisted of the childbirth self-efficacy enhancement program together with the application. 2) The data collection instruments were divided into 3 parts: (1) the demographic characteristics questionnaire, (2) fear of childbirth of pregnant teenagers in the third trimester questionnaire, and (3) the satisfaction with the application of "Mama Can Do It" questionnaire. 3) The instruments used to test the effectiveness of the childbirth self-efficacy enhancement program together with the application were the Thai childbirth self-efficacy inventory. All instruments in this study were content validated by five experts. The reliability of the fear of childbirth of pregnant teenagers in the third trimester (Cronbach's alpha coefficient = .91) and the Thai childbirth self-efficacy inventory. (Cronbach's alpha coefficient = .96) Data were analyzed using descriptive statistics, paired t-tests, and independent t tests. The results showed that: 1. the experimental group that received the childbirth self-efficacy enhancement program together with the application had a statistically significant lower mean score on fear of childbirth than before the intervention. (t = 5.01, p <.001) 2. the experimental group that received the childbirth self-efficacy enhancement program together with the application had a statistically significant lower mean score on fear of childbirth than the control group. (t = 9.82, p <.001) The results indicated that the childbirth self-efficacy enhancement program together with the application can reduce fear of childbirth in pregnant adolescents. Therefore, it is a promising program for caring pregnant adolescents.
Abstract(Thai): ความกลัวการคลอดเป็นความรู้สึกที่มักเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ก่อน ระหว่าง หรือหลังคลอด ความกลัวการคลอดส่งผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ วัตถุประสงค์ของการวิจัยทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริม สมรรถนะแห่งตนในการคลอดร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันต่อความกลัวการคลอดในหญิงตั้งครรภ์ วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่รับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ใช้โปรแกรม มินิไมแรนดอมไมเซชั่น ในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับ โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดร่วมกับการใช้แอปพลิเคชัน (n = 64) และ กลุ่มควบคุมจะได้รับการพยาบาลตามปกติ (n = 64) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอด ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชัน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความกลัว การคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในไตรมาสที่ 3 ส่วนที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งาน แอปพลิเคชันคุณแม่สามารถทำได้ (Mama Can Do It) และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการยืนยัน ประสิทธิภาพของโปรแกรม คือ แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนในการคลอดฉบับภาษาไทย ซึ่ง เครื่องมือดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาค่า ความเที่ยงของแบบสอบถามความกลัวการคลอดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในไตรมาสที่ 3 และ แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนในการคลอดฉบับภาษาไทย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .91 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทีคู่ และสถิติทีอิสระ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดร่วมกับ การใช้แอปพลิเคชันมีคะแนนเฉลี่ยความกลัวการคลอดหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.01, p < .001) 2. หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการคลอดร่วมกับ การใช้แอปพลิเคชันมีคะแนนเฉลี่ยความกลัวการคลอดหลังการทดลองต่ำกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับ การพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 9.82, p < .001) ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนใน การคลอดร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันสามารถลดความกลัวการคลอดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นได้ จึงควร นำโปรแกรมนี้ไปใช้เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อช่วยลดความกลัวการคลอดใน หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นต่อไป
Description: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18095
Appears in Collections:648 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210420066.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons