Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18094
Title: รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพต่อการจัดการภาวะเร่งด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต โรงพยาบาลศูนย์ยะลา โดยการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง
Other Titles: Development of Professional Nurses' Competency Model to Urgent Management of Acute Stroke Patients, Yala Hospital, by Simulation Based Learning
Authors: ประภาพร ชูกำเหนิด
วรลักษณ์ เต็มรัตน์
Faculty of Nursing (Nursing Administration)
คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
Keywords: การพัฒนาสมรรถนะพยาบาล;การจัดการภาวะเร่งด่วน;ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต;การเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: The objective of this action research was to develop and study the effect of using development professional nurses' competency model in urgent management of acute stroke patients by simulation-based learning. The participants were 20 nurses with 2 years of experience. The tools consisted of: 1) the research instrument, which was a simulation of acute stroke patients; 2) the data collection tools, which comprised the knowledge assessment form, competency assessment form, and a satisfaction for development of professional nurses’ competency model questionnaire. Content validity was checked by 5 experts which was equal to .96, .96, 1.00 and .96 respectively. The reliability of the satisfaction questionnaire yielded a Cronbach's Alpha coefficient of .97. Data were analyzed using descriptive statistics and content analysis. The results showed that there are 3 stages in the development of professional nurses' competency model in urgent management of acute stroke patients: 1) the knowledge preparation phase in the urgent management of acute stroke patients; 2) the action stage for urgent management of acute stroke patients according to the simulation scenario; and 3) the evaluation stage. The results of using development professional nurses' competency mode found that all participants satisfied in criteria in terms of knowledge of drug administration and decision making and the ability to perform urgent management for drug administration and decision making. Satisfaction with the overall performance of the development model was at the highest level (M = 4.58). Nursing administrators can use the research findings as a guideline to promote nurses' competency in caring for stroke patients.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ และศึกษาผลของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการจัดการภาวะเร่งด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต โดยการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ 2 ปีขึ้นไป จำนวน 20 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ สถานการณ์จำลองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต 2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความรู้ แบบประเมินความสามารถ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพฯ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .96, .96, 1.00 และ .96 ตามลำดับ แบบประเมินความพึงพอใจทดสอบค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการจัดการภาวะเร่งด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต มี 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมความรู้ในการจัดการภาวะเร่งด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต 2) ระยะปฏิบัติการจัดการภาวะเร่งด่วนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะวิกฤต ตามสถานการณ์จำลอง และ 3) ระยะประเมินผล ผลการประเมิน พบว่า ความรู้ ด้านการบริหารยา และการตัดสินใจ ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนความสามารถในการจัดการภาวะเร่งด่วนด้านการบริหารยา และการตัดสินใจ ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 100 และความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.58) ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมสมรรถนะพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อไป
Description: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล), 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18094
Appears in Collections:649 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210420037.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons