Please use this identifier to cite or link to this item:
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18092
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พวงสร้อย วรกุล | - |
dc.contributor.advisor | บุญโรม สุวรรณพาหุ | - |
dc.contributor.author | นุชนาถ อูมูดี | - |
dc.date.accessioned | 2023-04-25T03:33:05Z | - |
dc.date.available | 2023-04-25T03:33:05Z | - |
dc.date.issued | 2022 | - |
dc.identifier.uri | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18092 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565 | en_US |
dc.description.abstract | The aims of this research were 1) to study the adjustment, emotional quotient, stress, self-esteem and coping of students. 2) to compare the students’ adjustment classified by gender, age, yearof study, GPA and marital status of parents. 3) to study factors related to students’ adjustment were emotional quotient, stress, self-esteem and coping. 4) to study factors affecting students’ adjustment. The 309 High Certificate students in three southern border provinces were selected as participants by using stratified random sampling for collecting data. The instruments used were adjustment questionnaire, emotional quotient evaluation form, stress scale, self-esteem scale and coping scale. The statistics used for analyzing the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, Pearson’s correlation and stepwise multiple regression analysis. The results revealed that 1) the students’ adjustment was at a lower level, students’ emotional quotient was at subnormal level, students’ self-esteem was at moderate level, students’ stress was at high level and students’ coping was at low level. 2) the students’ adjustment with different gender, year of study and GPA were not significantly different in adjustment. Students’ Marital status of parents and age were significantly different in adjustment. 3) the positive correlation between students’ adjustment and emotional quotient, self-esteem statistical significce at .05 and coping statistical significce at .01. The students’ adjustment did not have correlation with the stress. 4) According to multiple regression analysis, there were four main variables being able to predict the students’ adjustment. These variables were emotional quotient, self esteem, stress, and coping. All of the variables possess 21.5% of ability to predict the students’ adjustment. The standard score obtained from the multiple regression analysis were included in the equation. Then the equation being able to predict the students’ adjustment in this study was: adjustment = 0.45 emotional quotient, +0.42 self-esteem, -0.40 stress, +0.24 coping. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | en_US |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand | * |
dc.rights.uri | http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ | * |
dc.subject | การปรับตัว | en_US |
dc.subject | ปัจจัยที่สัมพันธ์ | en_US |
dc.subject | นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ | en_US |
dc.title.alternative | Facyors Associated with Adjustment of the Tchnical College Students in Three Southern Border Provinces | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.contributor.department | Faculty of Education (Psychology and Counseling) | - |
dc.contributor.department | คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว | - |
dc.description.abstract-th | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาการปรับตัว ความฉลาดทางอารมณ์ ความเครียด การเห็นคุณค่าในตนเอง และการเผชิญปัญหาของนักศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวของนักศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ ชั้นปี เกรดเฉลี่ย และสถานภาพสมรสของบิดามารดา 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของนักศึกษา ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ ความเครียด การเห็นคุณค่าในตนเอง การเผชิญปัญหา 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกับการปรับตัวของนักศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ที่เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน 309 คน โดยใช้วิธีเลือกการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการปรับตัวของนักศึกษา แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ แบบวัดความรู้สึกมี คุณค่าในตนเอง แบบประเมินความเครียด และแบบวัดการเผชิญปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การทดสอบค่าที, การทดสอบวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบทางเดียว, ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณตามขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า พบว่า 1) การปรับตัวของนักศึกษาอยู่ในระดับต่ำ ความฉลาดทางอารมณ์ของ นักศึกษาอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ความเครียดของนักศึกษาอยู่ในระดับความเครียดสูง และการเผชิญปัญหาของนักศึกษาอยู่ในระดับน้อย 2) นักศึกษาจำแนกตามเพศ ชั้นปีเกรดเฉลี่ย ที่ต่างกันจะมีการปรับตัวที่ไม่แตกต่างกัน และนักศึกษาจำแนกตามอายุ และสถานภาพสมรสของบิดามารดาที่ต่างกันจะมีการปรับตัวที่แตกต่างกัน 3) การปรับตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความฉลาดทางอารมณ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การปรับตัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเผชิญปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การปรับตัวไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียด 4) ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การปรับตัวของนักศึกษา ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง ความเครียด และการเผชิญปัญหา โดยตัวแปรทั้งหมดร่วมกันพยากรณ์การปรับตัวของนักศึกษาได้ร้อยละ 21.5 สมการการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปมาตรฐาน ได้แก่ การปรับ = 0.45 ความฉลาดทางอารมณ์ +0.42 การเห็นคุณค่าในตนเอง -0.40ความเครียด +0.24 การเผชิญปัญหา | en_US |
Appears in Collections: | 286 Thesis |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6020121002.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License