Please use this identifier to cite or link to this item: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18091
Title: การพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงของคลินิก หู คอ จมูก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
Other Titles: Development of Risk Management Model at the ENT Clinic, Songklanagarind Hospital
Authors: ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา
สุชานาฏ มูสิการัตน์
Faculty of Nursing (Nursing Administration)
คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
Keywords: รูปแบบบริหารความเสี่ยง;คลินิกหูคอจมูก;โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ การบริหารความเสี่ยง
Issue Date: 2022
Publisher: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Abstract: This practical action research aimed to develop and apply a risk management model at the ENT Clinic, Songkhlanagarind Hospital. The conceptual framework used in this research was the systematic framework developed by Donabedian (2005). The research process was based on the action research proposed by Kemmis and McTaggart (Kemmis & McTaggart, 2014).The research methods consisted of 3 phases: 1) studying the situation, 2) developing the risk management model, and 3) evaluating the use of the model. Thirty one participants were recruited using purposive sampling. Data collection methods were group discussion, observation, semi structured interviews, and questionnaires. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics. Qualitative data were analyzed using content analysis. The results revealed that the risk management model of ENT clinic at Songklanagarind Hospital focused on risk surveillance at all service points by nursing personnel with risk management competency. The process of model development consisted of 3 parts: 1) structuring; the communication of putting risk policies into action, the competency development of the personnel with clinical skills and non clinical skills, 2) developing an instrument; the preparation of risk management manuals in compliance with 9 necessary standards of safety for ENT clinics, the guidelines for risk communication with the patient care team, and 3) screening the use of the model; screening the process at every service point, visiting the service points, providing environment to reduce risks and promote a safe working climate. The process of evaluation found that topics with the greatest potential for implementation were: applicability to all patient groups (M = 4.4, SD = 0.5), response to the risk problems to be solved and work values (M = 4.4, SD = 0.5),and suitability to the ENT clinic (M = 4.20, SD = 0.42). The overall mean score of the possibility of adopting the risk management model into practice was high (M = 4.13, SD = 0.34).The percentage of the observed practice of the risk management guidelines collected from all service points for one month revealed that 89.46 % practiced, (8) while 10.54% did not. 3) The numbers of incidents that occurred after using the risk management model were:10 for level A (an event with a probability of causing error), 5 for Level B,(an error but not reaching the patient), and 1 for Level D, (an error with a patient). No moderate or severe incidents were observed.Compared to months without the risk management model, no recurrence of severe incidents was found. Overall, patient safety improved.The Number of incident reports was increased leading to a more comprehensive solution. Nurse administrators can apply the results of this study to improve the quality of nursing care and increase patient safety.
Abstract(Thai): การวิจัยเชิงปฏิบัติการระดับความร่วมมือ (practical action research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของคลินิก หู คอ จมูก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยคือ แนวคิดระบบ (systematic framework) (Donabedian, 2005) และกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดเคมมิสและแมคทาคกาท (Kemmis & McTaggart, 2014) การวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะคือ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยง และ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารความเสี่ยง คัดเลือกผู้เข้าร่วมวิจัยแบบเฉพาะเจาะจง 31 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม สังเกต สัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารความเสี่ยงของคลินิก หู คอ จมูก ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นการเฝ้าระวังความเสี่ยงทุกจุดบริการภายใต้การดูแลของบุคลากรที่มีสมรรถนะด้านการบริหารความเสี่ยง รูปแบบการบริหารความเสี่ยงประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) การจัดโครงสร้าง ได้แก่ กระบวนการสื่อสารนโยบายด้านความเสี่ยงสู่การปฏิบัติ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านทักษะทางคลินิกและทักษะที่นอกเหนือจากทักษะทางคลินิก 2) ด้านการพัฒนาเครื่องมือ ได้แก่ การจัดทาคู่มือบริหารความเสี่ยงตาม 9 มาตรฐานสาคัญที่จาเป็นต่อความปลอดภัยสาหรับคลินิก หู คอ จมูก การกาหนดแนวทางการสื่อสารความเสี่ยงกับทีมนาทางคลินิก 3) ด้านกระบวนการ ได้แก่ จัดให้มีกระบวนการคัดกรองทุกจุดบริการ จัดให้มีกิจกรรม การเยี่ยมตรวจผู้ใช้บริการ จัดการสิ่งแวดล้อมที่ลดความเสี่ยง และส่งเสริมบรรยากาศปลอดภัย การประเมินผลด้านกระบวนการพบว่า หัวข้อที่มีความเป็นไปได้ในการนาไปปฏิบัติในระดับมากที่สุดได้แก่ คือ ด้านนาไปใช้ได้กับผู้รับบริการได้ทุกกลุ่มบริการ (M = 4.4, SD = 0.5) และตรงกับปัญหาความเสี่ยงที่จะแก้ไขและคุณค่าในการทางาน (M = 4.4, SD = 0.5) ความเป็นไปได้ในด้านความเหมาะสมกับหน่วยงาน (M = 4.20, SD = 0.42) คะแนนเฉลี่ยความเป็นไปได้ในการนารูปแบบบริหารความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นไปปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.13, SD = 0.34) ร้อยละของการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่สังเกตได้ โดยเก็บข้อมูลทุกจุดบริการ 1 เดือน ปฏิบัติได้ร้อยละ 89.46 ไม่ปฏิบัติ ร้อยละ 10.54 4) การติดตามผลลัพธ์จานวนอุบัติการณ์ที่เกิดหลังพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย ระดับ A เหตุการณ์ซึ่งมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน = 10 ครั้ง ระดับ B เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นแต่ยังไม่ถึงผู้ป่วย = 5 ครั้ง ระดับ D เกิดความคลาดเคลื่อนกับผู้ป่วย ส่งผลให้ต้องมีเฝ้าระวัง = 1 ครั้ง ไม่มีอุบัติการณ์ระดับปานกลางและ (6) ระดับสูงซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ยังไม่มีรูปแบบบริหารความเสี่ยงพบว่าไม่มีอุบัติการณ์ร้ายแรงซ้า ในภาพรวมความปลอดภัยของผู้ป่วยดีขึ้นทั้งบรรยากาศรายงานเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนที่ยังไม่ถึงผู้ป่วยมีมากขึ้นทาให้การหารากของปัญหาความเสี่ยงนาไปสู่การแก้ปัญหาได้ครอบคลุมมากขึ้น ผู้บริหารทางการพยาบาล สามารถนาผลลัพธ์ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและการบริการให้ผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยนอก
Description: วิทยานิพนธ์ ( พย.ม. (การบริหารทางการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2565
URI: http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18091
Appears in Collections:649 Thesis

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6210420045.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons